MU-SDGs Case Study* | การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.ทวีศักดิ์ ชูมา สุชาติ แท่นกระโทก นายธนากร จันหมะกสิต นายยุทธิชัย โฮ้ไทย | ส่วนงานร่วม | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40×40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท Line Plot System โดยวางแนวเส้นฐานในทิศทางเหนือใต้ กำหนดเส้นสำรวจห่างกันแนวละ 200 เมตร และวางแปลงบนเส้นสำรวจทุกระยะ 100 เมตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.10 ของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่เป็นระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ สำรวจพบความหลากหลายของไม้ยืนต้นจำนวน 48 ชนิดใน 42 สกุล 23 วงศ์ ไผ่จำนวน 1 ชนิด และค่าดัชนีความสำคัญของไม้ยืนต้นมีค่าเกิน 10 จำนวน 7 ลำดับแรก ได้แก่ ต้นตะโกนา ต้นสะเดา ต้นยอป่า ต้นตะแบก ต้นพฤกษ์ ต้นชงโค และต้นแสมสาร ตามลำดับ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ พบมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 2,869.05 กิโลกรัมต่อไร่ มวลชีวภาพใต้พื้นดินมีค่าเท่ากับ 803.33 กิโลกรัมต่อไร่ และการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1,726.02 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการประเมินการกักเก็บคาร์บอนทั้งพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 362.24 ตันคาร์บอน ในการนี้ผลของการวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13 “ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น” โดยข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการพื้นที่ป่าไม้ การเสริมศักยภาพพื้นที่ในการกักเก็บคาร์บอนให้มากขึ้น โดยการป้องกันไม่ให้พื้นที่ถูกทำลาย การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ด้วยพรรณไม้ท้องถิ่น และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดความรุนแรงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 15.1,15.2 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
| ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเรียนรู้จากพื้นที่มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว นำไปสู่การเป็น Net Zero ในปี 2573 | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 15.2 |