MU-SDGs Case Study*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์
อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ

ส่วนงานร่วม

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขา SMART Farmer
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาต้นแบบการทำนาปีที่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีของชุมชนรอบวิทยาเขต
2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด

นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย

โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การตรวจดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในดิน และคำนวณปริมาณธาตุอาหารในดินตามหลักการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสั่งตัด
2. ระหว่างทำโครงการ: เตรียมแปลงปลูกข้าวโดยแบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นเริ่มทำการปลูกข้าว โดยแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะใช้วิธีการปลูกและการใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรทำปกติ สำหรับแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัด, เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวที่อายุ 60, 90 และ 120 วัน, เก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต และผลิตของข้าว
3. หลังทำโครงการ: วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทางสถิติระหว่างแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและครอบเกษตรกรเจ้าของแปลง รวมทั้งรวบรวมข้อมูลปัญหาอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการและขยายผลในอนาคต

จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.a , 4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.2, 2.5.3