MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย

ผู้ดำเนินการหลัก  นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม  ดร.ณพล อนุตตรังกูร
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

     รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในเชิงอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยคือรูปแบบการเลี้ยงแบบขังกรงตับตลอดช่วงอายุการให้ไข่ของไก่ เนื่องจากการเลี้ยงรูปแบบนี้ง่ายต่อการจัดการตัวไก่ ทั้งในเรื่องของการให้อาหาร การเก็บผลผลิต การดูแลสุขภาพ และมีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำจากการใช้พื้นที่ต่อตัวในการเลี้ยงที่น้อย ทำให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่ในครั้งหนึ่งๆได้เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงยังคงมีข้อจำกัดบางประการ Duncan (1992) การเลี้ยงไก่ไว้ในกรงตับส่งผลกระทบต่อหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) มากที่สุด มีผลให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติลดลง เกิดความผิดปกติของกระดูกเท้า และเท้าไก่ยังมีสุขลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคที่เท้าของไก่ตามมา (Tuason et al., 1999) ซึ่ง Englmaierova et al. (2014) รายงานว่า ระบบการเลี้ยงแบบขังกรงได้ถูกยกเลิกในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2012 แต่ยังอนุญาตให้เลี้ยงไก่ในกรงที่มีการเสริมอุปกรณ์และเพิ่มการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกที่ถูกพัฒนาให้มีการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มมากขึ้น 

     ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต 

     การเลี้ยงไก่ไข่แบบทางเลือกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป และในด้านวิชาการก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ทางเลือกเหล่านี้เรื่อยมา Anderson (2011) รายงานว่าการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยพื้นส่งผลให้ไข่ไก่มีปริมาณ เบต้าแคโรทีน (β-carotene) และไขมันรวมที่สูงกว่า และมีดัชนีรูปร่างไข่ที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงตับเช่นเดียวกับสีไข่แดงที่มีความเข้มกว่าไข่แดงที่ได้จากไก่ที่เลี้ยงในกรงตับ (Vandenbrand et al., 2004) จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมางานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบทางเลือกส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในต่างประเทศซึ่งบริบทในด้านต่างๆ ก็แตกต่างจากในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทยยังมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่น้อย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงต้องการเปรียบเทียบระบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และปล่อยพื้นแบบมีพื้นที่ปล่อยออกสู่ภายนอกโรงเรือน (ปล่อยอิสระ) เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบทางเลือกในท้องตลาดยังมีราคาที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าให้กับไข่ไก่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อีกทางหนึ่ง

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 2.2, 2.3,2.4,2.a

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.8,12.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://youtu.be/kx9z-K-CX1U

https://youtu.be/CsJurfC9xoY
https://youtu.be/TQvKDV-350g
https://youtu.be/njuF3mKLitU

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ประชาชนที่สนใจ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม และยึดหลักจริยธรรม

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.5.1