MU-SDGs Case Study* | สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุหนึ่งของการทหให้เกิดโรคไม่ติดต่ออเรื้อรัง (Non-Communicable Desease : NCDs) ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568 ว่าด้วยประเด็นยุทธศาสตร์- SALTS ดังนี้ 1). ยุทธศาสตร์ S (Stakeholder network) การสร้าง พัฒนาและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2). ยุทธศาสตร์ A (Awareness) การเพิ่มความรู้ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำ หนดนโยบาย 3). ยุทธศาสตร์ L (Legislation and environmental reform) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด การผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมตํ่า รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องทางการเข้าถึงอาหาร ที่ปริมาณโซเดียมตํ่า 4). ยุทธศาสตร์ T (Technology and innovation) การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำสู่ ปฏิบัติ 5). ยุทธศาสตร์ S (Surveillance, monitoring and evaluation) การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม (Healthy University : (Low Sodium Policy) เพื่อเป็นต้นแบบลดการบริโภคโซเดียมและส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เกิดความตระหนักในการบริโภคอาหาร ผลของการดำเนินโครงการ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงกลไกของโซเดียมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกายทำให้ผู้สูงอายุเห็นภาพมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อรับประทานโซเดียมมากเกินไป มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดจากโซเดียม ทำให้เกิดความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะนำความรู้กลับไปถ่ายทอดให้คนในครอบครัวได้ทราบถึงผลกระทบของโซเดียมและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมอีกด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และส่งเสริมความตระหนักในการขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม จึงขยายผลการให้ความรู้ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกาย แก่กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ เข้าใจกลไกการทำงานของโซเดียมในร่างกายผ่านนวัตกรรม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.14 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | ลดเค็ม ลดโรค | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.d |