MU-SDGs Case Study*

เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข
ผศ.ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล
นางลักขณา สถาพรสถิตอยู่
นางอรทัย สร้อยสวน

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

การพูดเรื่องความตาย ส่วนใหญ่ไม่ควรพูดถึงเพราะเป็นเรื่องอัปมงคล ตลอดระยะเวลา10 ปี ที่ดำเนินงานการดูแลการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ได้ทบทวนและเกิดการเรียนรู้ถึงการสร้างความเข้าใจเรื่อง “การเตรียมความพร้อมก่อนตาย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพื่อนำไปสู่การ“ตายดี” จึงเป็นที่มาของการโครงการ“เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี” ให้กับเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และยกระดับในการสื่อสารผ่านชุดเครื่องมือ ของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี ผลการดำเนินโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจเรื่องความตายและการเตรียมความพร้อมก่อนตายและผู้เข้าร่วมการอบรมมีทักษะในการใช้เครื่องมือและนำไปปฏิบัติจริงกับผู้สูงอายุในศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองให้สามารถร่วมพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า(Advance care plan) จึงเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิตที่ดี ทั้งกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ การวางแผนการดูแลล่วงหน้าก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในระยะท้าย จึงขยายผลการนำเครื่องมือไปกับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้วเป็นการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ประเมินผลตัวชีวัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย

กระบวนการสัมภาษเชิงลึก focus group ผ่านการใช้เครื่องมือของ Peaceful Death ในการนำพาการพูดคุยเรื่องความตาย ผลการดำเนินโครงการ ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและมีผู้สูงอายุเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ขอนำไปศึกษารายละเอียดและให้พี่เลี้ยงช่วยเขียน(กรณีเขียนหนังสือไม่ได้) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีมติร่วมกันเมื่อเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้าแล้วให้นำไปไว้ที่เรือนพยาบาลเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลสุขภาพและต้องการให้มีการเขียนการวางแผนการล่วงหน้าทุกคนในสถานสงเคราะห์คนชรา การขยายผลโครงการงานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เสนอขอทุนเพื่อขยายเครือข่ายให้มีทักษะความรู้ในการใช้เครื่องมือและขยายการเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า พื้นที่ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ผลของการขยายผล ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการใช้ชุดเครื่องมือและสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ แกนนำกระบวนกรชุมชนกรุณาสามารถเลือกใช้ชุดเครื่องมือกับผู้สูงอายุในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุเปิดใจ ยอมรับการพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าได้

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs16

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

16.7

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

ให้ความตายเป็นเรื่องที่พูดได้ เพื่อการอยู่ดีและตายดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d