MU-SDGs Case Study*

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 2 และ 4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

 

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ที่มีใจความสำคัญว่านักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษาตามอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพหรือเพศสภาวะที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ ซึ่งรวมถึงการแต่งกายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีรับอนุปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรด้วย แต่กลับพบปัญหาว่านักศึกษาที่แต่งตัวตามอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำในสถานศึกษานั้นมีเพียงห้องน้ำสำหรับเพศชาย และเพศหญิงเท่านั้น 

ดังนั้น เมื่อนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้เรียนในรายวิชา NWNW 322 การจัดการความรู้เบื้องต้น (Fundamental of Knowledge Management) จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All-Gender Restroom) อยู่หนใด” เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก 1) ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3) คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งทั้ง 3 ท่านได้เปิดมุมมองในเรื่องของห้องน้ำเสมอภาค และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนให้เกิดห้องน้ำเสมอภาค

หลังจากกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษาในการผลักดันให้เกิดห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น โดยผู้บริหารมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคน โดยทางวิทยาเขตจะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid02MYfqMTWQ8fXuTdw4qfjfuKjRLRhmwE6Xk9AfMTmFqiBGK5V9cioUDhvz96ZAh9KQl/?d=n&mibextid=wxGVb6

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
     
       
       
       

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6