MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง
อ.ดร.สมสุข พวงดี
อ.ดร.ศศิมา วรหาญ
อ.ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล
อ.ดร.เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย
นายอภินันท์ ปลอดแก้ว
นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

1.นายยศพัฒน์ ธนอัครสวัสดิ์
2.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนพยุหะพิทยาคม
3.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนเขาทองพิทยาคม

ส่วนงานร่วม

1.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
3.โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
4.โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

เนื้อหา*

         การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ….

1. เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) 

2. พัฒนาและจัดทำหลักสูตรให้กับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อผู้เรียนสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจ 

3. ผู้รียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนในระดับอุดมศึกษา

4. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 

การดำเนินงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง คือ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม จัดประชุมร่วมกันเพื่อออกแบบหลักสูตร และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 70 คน จากโรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม โดยกำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง และมีการทบทวนหลังทำกิจกรรม (After Action Review-AAR) ระหว่างโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และคุณครูโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งสองแห่งทุกครั้งที่จัดกิจกรรม

เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้การเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก (Free ranch chicken) และการแปรรูปโดยใช้ไข่เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

2. การเชื่อมโยงธุรกิจไข่สู่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

3. การสร้างการรับรู้ การสร้างแบรนด์ และการขาย

4. การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์” จากผลิตสู่ขาย

การจัดการเรียนการสอน กำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 4, 11, 18 กรกฏาคม และ 1 สิงหาคม 2565 โดยทางโรงเรียนใช้ชั่วโมงการเรียนรู้จากรายวิชาในชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ วิชาชุมนุม และวิชาการงานอาชีพพื้นฐาน โดยคุณครูผู้รับผิดชอบทั้งสองแห่งนำนักเรียนมาเรียนรู้ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

การจัดการเรียนการสอนเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) และผ่านประสบการณ์จริง (Experiential Learning) โดยการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) จากการลงมือปฏิบัติ ผลงาน การนำเสนอ การถอดบทเรียนที่ให้ผู้เรียนได้พูด เขียน หรือแสดงออก รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ 

 

ผลลัพธ์ และประโยชน์ต่อสังคม

1. เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ที่สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

2. มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับใบประกาศนียบัตรจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่ผ่านหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (ตั้งแต่ผลิตสู่ขาย) ติดตัวไป

3. ผู้บริหารและคุณครูจากทั้งสองโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนนักเรียนให้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน และได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงทางโรงเรียนสนใจที่จะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ที่โรงเรียน

 

มหิดลนครสวรรค์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี) ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภาค 18 และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน  โดยในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้รับมอบเกียรติบัตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ ส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ประจำปีงบประมาณ 2565

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 4,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.1, 4.3, 4.5

17.14

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

การประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมเวทีประชาคม เพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2565

https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7578 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางการศึกษาในโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา วันที่ 23 มิถุนายน 2565
https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7965
https://www.facebook.com/nswpeo
การจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ครั้ง
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/
มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
2.โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
3.โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การจัดทำหลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ต่อเนื่องสู่ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเองและเชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.1, 4.3, 4.5