MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.ทัตติยา ทองสุขดี
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์
3.ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4.อสม.ตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนแรง และเกิดสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ร่วมกับโอกาสในการติดเชื้อจากญาติหรือผู้ดูแลที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง อวัยวะภายในร่างกายอาจถูกทำลาย และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมถึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกต้อง อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และการขาดความตระหนักในการปฏิบัติ พฤติกรรรมการปฏิบัติตัวที่บ้าน ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ   

การส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ ได้นั้นต้องพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ 3) ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการสุขภาพ และสามารถนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นยอมรับและเข้าใจ 4) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพก่อนตัดสินใจเชื่อหรือปฏิบัติตาม 5) ทักษะการตัดสินใจในการเลือกข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และ 6) ทักษะการจัดการตนเองโดยสามารถนำข้อมูลสุขภาพที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ที่จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับปฏิสัมพันธ์ และ 3) ระดับวิจารณญาณ โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และผู้สูงอายุ การให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และอสม. และการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และอสม.ในการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กิจกรรมพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพโดยสอนการเลือกสื่อ แหล่งความรู้จากหลายช่องทาง รวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต สอนสาธิตการใช้แอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ให้ลงมือปฏิบัติโดยมีพี่เลี้ยง การใช้เกมส์บัตรคำ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว กิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เทคนิค 1 คำถามในการจัดการตนเอง พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการตัดสินใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลือกใช้สื่อ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น การสนทนาเพื่อการสะท้อนคิด (Reflecting conversation) การสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันฯ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้รับคือ ทั้งผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์มีความรู้ และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโครงการ และมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ระดับมากที่สุด จากการติดตามผลหลังการทำกิจกรรม พบว่า สามารถนำกิจกรรมที่ทำไปใช้ได้จริงถ้าอายุไม่มากกว่า 70 ปี มีการกระตุ้นความรู้และการใช้โทรศัพท์ในการค้นหาข้อมูลโดยชมรมผู้สูงอายุ และอสม.

 
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3, 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.3

17.4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.moph.go.th/

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mor.promplus&hl=th&gl=US

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ktb.thaichana.prod&hl=th&gl=US

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
 
 
 
  

Key Message*

ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และสายพันธุ์ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.7, 3.3.1