MU-SDGs Case Study*

พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย    ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

           โรงพยาบาลมโนรมย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีเครื่อข่ายปฐมภูมิ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร) แต่ละพื้นที่มีจัดบริการกองทุน Long Term Care ซึ่งเป็นการดูแล ส่งต่อ ตั้งแต่โรงพยาบาลสู่บ้านมีการส่งข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลแบบประคับประคองร่วมกันทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านแต่ด้วยจำนวนพยาบาลที่จำนวนจำกัดในการดูแลที่ซึ่งต้องทำ family meeting และAdvance care plan ที่บ้านจึงทำให้เกิดการดูแลไม่ทั่วถึง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการตายดีและการดูแลแบบประคับประคองให้เป็นระบบ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการการดูแล จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองของทีมสุขภาพ ในเขตพื้นที่เครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรให้แก่บุคลากรทีมสุขภาพในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ ประกอบด้วยการอบรมทักษะกระบวนกรเบื้องต้น ได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death ได้แก่ เกมส์ไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน การ์ดแชร์กัน แคร์คลับและสมุดเบาใจ ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ (Health Communication Assessment Tool : HCAT) ก่อนและหลังการอบรม 

            ผลการประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่า จากผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 37 คน เป็นชาย 3 คน  หญิง 34 คน อายุเฉลี่ย 55 ปี มีคะแนนทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์หลังอบรมมีค่าเฉลี่ย 98.38 (SD= 13.68) สูงกว่าก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ย 83.83 (SD= 8.28) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p<.001)  การเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ ผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง เห็นได้จากผู้เข้าร่วมอบรมสะท้อนว่า“ได้ไปจัดเก็บข้าวของ..(สมบัติ)ให้เป็นหมวดหมู่…เป็นระเบียบ…และหาง่าย” “ได้บอกกับแม่ว่า..ถ้าตายให้สวดหนึ่งคืน…เผาเลย” และสามารถพูดคุยสื่อสารเรื่องความตายกับคนในครอบครัวและสื่อสารพูดคุยกับป่วยและญาติได้ 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.c

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://discord.com/channels/1204631979358822400/1220262637083037747

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

เครื่อข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร)

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“ทักษะการสื่อสารของทีมสุขภาพเป็นหัวใจการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ การอบรมนี้จึงป็นการเตรียมบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยตามแนวนโยบายชีวาภิบาล”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.c, 4.4