MU-SDGs Case Study*

โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนศรีสังวาลย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ทั้งนี้พบปัญหาว่า เด็กนักเรียนที่นั่งวีลแชร์ (Wheelchair) ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาแผลกดทับ เนื่องจากต้องนั่งเป็นเวลานานและถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อีกทั้งเด็กนักเรียนยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดแผลกดทับ ขาดข้อมูลในการดูแลตนเอง และด้วยการที่จำนวนบุคลากรที่ดูแลนักเรียนมีค่อนข้างจำกัดเลยทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กนักเรียนทุกคนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน

 

ดังนั้น นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย โรงเรียนศรีสังวาลย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์” ณ ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลอาการแผลกดทับให้แก่ครูผู้ดูแลและเด็กนักเรียน รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คนในชุมชน และครูผู้ดูแลไปยังเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงน้ำยาล้างไตที่ใช้แล้วมาทำเป็นเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไตให้เด็กนักเรียนที่ใช้วีลแชร์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแผลกดทับลง ลดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 4, 10, 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

4.5, 10.2, 12.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288656244956234/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

2. แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

3. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

4. โรงเรียนศรีสังวาลย์ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

6. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

7. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

   

Key Message*

การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 4.3.4, 4.3.5, 10.6.8, 10.6.9, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2