MU-SDGs Case Study*

ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์
นางศศิธร มารัตรน์
นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

เนื้อหา*

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้

วิธีการดำเนินการ

1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563

2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า  โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี

3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย

ผลกระทบ
– ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
– ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม
– เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้
– ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

– สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ รพ.สต. เป็นกลุ่มเป้าหมายในการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนนักวิชาการในการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
  

Key Message*

“กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2