MU-SDGs Case Study* | พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801) | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร นายสรรเสริญ แต้ประยูร | ส่วนงานร่วม | หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | ในภาคการเกษตรต้นทุนด้านพลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีราคาสูง อีกทั้งประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานดังกล่าวจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงาน และการขาดทุน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทดแทน ที่จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนด้านพลังงานให้แก่เกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันโซล่าเซลล์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นทำในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดด ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจากแสงอาทิตย์จะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ 1) ส่วนของระบบผลิตไฟฟ้าสูบน้ำ และ 2) ส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ โดยส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์มี 2 แบบ คือ แบบติดตั้งถาวร และแบบเคลื่อนย้ายได้ แบบที่ติดตั้งถาวรจะเหมาะกับพื้นที่แปลงเกษตรขนาดใหญ่ และต้องมีการดูแลใกล้ชิด เพราะอาจสูญหายได้หากสร้างไว้ในที่ห่างไกลคนดูแล ดังนั้นจึงมีการพัฒนาชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้และได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาด ถ้ามีขนาดที่ใหญ่เกินไปก็ทำให้เคลื่อนย้ายยาก หรือ ถ้าเล็กเกินไปก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs7 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 7.1,7.2 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIycSUyMiUzQSUyMjIyODAxJTIyJTJDJTIyaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2 VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlMkMlMjJkaXNwbGF5JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW5kZXhfY3 JlYXRlJTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW4lMjIlM0ExJTJDJTIyb3JkZXIlMjIlM0ElMjJfc2Nvcm UlMkNkZXNjJTIyJTJDJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMnNlYXJjaF9hbGwlMjIlMkMlMjJ0eXBlX25hbWUlMjIlM0ElMjIlRTAlQjg lQUQlRTAlQjglOTklRTAlQjglQjglRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTclRTAlQjglOTglRTAlQjglQjQlRTAlQjglOUElRTAlQ jglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglQTMlMjIlMkMlMjJ0YWJfaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlN0Q%3D | ||
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=815063667297671&set=a.477621531041888&type=3&locale=th_ TH&paipv=0&eav=AfbzSzKGjWDPNvGE-RaeI5zMi5xLkfakMxlQ4Vrygagd4KLT7I31Sh5K498FjktI0qc&_rdr | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | พื้นที่การเกษตรในประเทศไทยหลายพื้นที่ ระบบสายส่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงทำให้เกษตรกรมีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการสูบน้ำเข้าแปลงนา ใช้รถน้ำต้นไม้ การให้แสงสว่าง และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้า และสูบน้ำ โครงสร้างตัวรถซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก เมื่อเกษตรกรต้องการนำรถดังกล่าวไปสูบน้ำในแปลงนา หรือในพื้นที่สวน ที่มีคันนา หรือทางเดินที่คับแคบ ก็สามารถที่จะนำรถลากจูงดังกล่าวเข้าไปในจุดที่ต้องการได้สะดวก สามารถใช้คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถไถ รถไถนาแบบเดินตาม ในการลากจูงรถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพียงแต่ต้องมีการติดตั้งชุดลากจูงเข้ากับตัวโครงสร้างตัวรถ ส่วนการใช้แรงงานคนก็สามารถดันรถลากจูงฯให้เคลื่อนที่ได้ง่ายจากการที่ ตัวรถลากจูงฯ ติดตั้งมือจับไว้ในส่วนท้ายตัวรถ เมื่อนำรถลากจูงฯไปถึงจุดที่ต้องการสูบน้ำ หรือจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ตัวรถลากจูงฯนี้ยังมีจุดเด่น คือ ยังมีขาค้ำยันทั้ง 4 มุม ยึดติดกับโครงสร้าง เพื่อใช้ในการป้องกันการผลิกคว่ำขณะชุดแผงรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ถูกกางออกเติมที่ และถึงแม้กระทั้งมีลมแรงพัดมาปะทะกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง ตัวค้ำยันยังป้องกันการพลิกคว่ำหรือการเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 7.2.4, 7.4.1 |