MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร | ส่วนงานหลัก* | วิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* | การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากในป่าชุมชนบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง บ้านเขาเขียว ม. 14 ต.ระบำ อ. ลานสัก จ. อุทัยธานี ซึ่งเป็นเป็นป่าในแนวกันชนระหว่างชุมชนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ ได้นำว่านตาลเดี่ยวมารักษาสิว ฝ้า จุดด่างดำ บนใบหน้า ด้วยการนำหัวสดมาฝน แล้วนำมาทาหน้า ซึ่งจะทำให้หน้าเกิดอาการบวมแดงและลอกเป็นขุยก่อนหน้าขาวใส ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครใช้วิธีการนี้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในต่างประเทศและงานวิจัยต่างๆ พบว่าว่านตาลเดี่ยวมีคุณสมบัติลดเอนไซม์ไทโรซิเนสในชั้นผิวหนังที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานินสีดำบนผิวหนัง ทำให้คงเหลือแต่ฟีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดเมลานินสีขาว ซึ่งช่วยให้ผิวขาวขึ้น และได้พบอีกว่าว่านตาลเดี่ยวมีฤทธิ์ช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นเซลล์ผิวได้ดีกว่าวิตามินซี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอางกลุ่มชะลอวัย ช่วยต่อต้านริ้วรอย ลดริ้วรอย และทำให้ผิวเรียบเนียน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์การนำสมุนไพรว่านตาลเดี่ยวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรจากธรรมชาติออกมาจากป่าชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ ร่วมกับการส่งเสริมการปลูกในแปลงรูปแบบของ Community Biobank เพื่อป้องกันไม่ให้ว่านตาลเดี่ยวหมดไปจากแหล่งป่าธรรมชาติได้ โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและทำฐานข้อมูลในเรื่องการระบุสายพันธุ์ชนิด รวมถึงการทำการวิจัยพื้นที่การปลูก การขยายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากว่านตาลเดี่ยวควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ว่านตาลเดี่ยว และมีทรัพยากรเพียงพอในด้านการแปรรูปออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชน | ||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2,12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.5.1, 12.2 | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 15.2.1, 17.4.3 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/GoldenStarGrass | ||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* | – วิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี – โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล – องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี – สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์ – สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) | ||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||
Key Message* | ผสานพลังความร่วมมือ “ป่าเกื้อกูล คนอยู่ได้” เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1, 15.2.1 |
Category: Goal 12 : Responsible consumption and production
Goal 12 : Responsible consumption and production
การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด
MU-SDGs Case Study* | 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร |
ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ น.ส.พินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นายยุทธิชัย โฮ้ไทย |
ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* |
กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 : ระยะการเรียนรู้ (พ.ศ.2556-2557) ช่วงแรกเป็นศึกษาและการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบึงบอระเพ็ด และรวบรวมงานชื่อเรื่องวิจัยที่เคยทำการศึกษาในบึงบอระเพ็ดจำนวน 222 เรื่อง ขึ้นระบบออนไลน์ของหน่วยงาน เพื่อบริการให้กับผู้ที่สนใจในการสืบค้นข้อมูลไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ ต่อมาวิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนร่วมกับคณาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้เรียนรู้ในการฝึกทักษะทางวิชาการและการลงพื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งผลให้เข้าใจบริบทของบึงบอระเพ็ดในภาพรวมได้ ผลที่ได้ระยะที่ 1 ทำให้เวบไซด์ของวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลบึงบอระเพ็ดและฐานงานวิจัย ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาศึกษาและค้นหาข้อมูลได้ 2) ระยะที่ 2 : ระยะสร้างเครือข่าย (พ.ศ.2558-2562) วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนเครือข่ายที่รู้จักในระยะแรก ด้วยการสอบถามสภาพปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับชุมชนและภาครัฐในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการจัดประชุมวิชาการชาวบ้านเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาจึงพาเจ้าหน้าที่วิทยาเขตนครสวรรค์ไปพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออธิบายสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อมาข้อสั่งการให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งการทำแผนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาบนฐานของความจริง ทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติรับไปพิจารณาและนำเสนอให้รัฐบาลต่อไป ผลกระทบจาการงานส่งผลให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนการ จัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดของสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ และการจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเร่งด่วนระยะ 3 ปี จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท ส่วนงานด้านการวิจัยได้มีการศึกษาในสิ่งที่เป็นช่องว่าง (Gap) ที่ต้องการหาคำตอบ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ศึกษาความลึกของบึงบอระเพ็ดและการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำ และนำงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป ผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกภาคส่วนพูดคุยกันมากขึ้นและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ผลที่ได้ระยะที่ 2 ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน เนื่องจากได้มีการนำเสนอข้อมูลสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย จนได้โครงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวิจัยที่ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ได้อีกด้วย 3) ระยะที่ 3 : ระยะการจัดการเครือข่าย (พ.ศ.2563-2565) เครือข่ายบึงบอระเพ็ดมีการจัดการร่วมกันในการแบ่งปันข้อมูล การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลวิชาการ และข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การรักษาระดับน้ำบนฐานข้อมูลวิชาการ เป็นต้น ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญเป็นการจัดประชุมวิชาการบึงบอระเพ็ด (จัดโดยจังหวัดนครสวรรค์) โดยมีวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นทีมเลขานุการ เพื่อเรียนรู้และทบทวนแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ด มีแผนงานที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (BCG และ SDGs) ส่วนการวิจัยได้มีการร่วมกันกับภาครัฐและประชาชนเสนอโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและสร้างกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ในการนี้เครือข่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นปัญญาของแผ่นดิน และเป็นที่พึ่งให้กับคนในพื้นที่ ผลที่ได้ระยะที่ 3 ได้เกิดการรวบกลุ่มของคนในชุมชนจดทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน 5 ตำบล และมีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย |
||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDG 12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2, 17.1 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.youtube.com/watch?v=C2VVypCijK4 | ||||||||
https://drive.google.com/file/d/1dQgQDgLfrf2PoxGayl_RxjVq5i01iCnl/view?usp=sharing | |||||||||
– | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด, ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ), โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน), ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง),สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์,ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, องค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ด, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน
MU-SDGs Case Study* | โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน | ||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs (Non-Communicable diseases) ซึ่งพวกเขามักจะรับประทานยาไม่ถูกต้องและมักจะลืมรับประทานยาอยู่บ่อยครั้ง มีการจัดเก็บยาหมดอายุปะปนกับยาที่ได้รับในแต่ละเดือน ยาบางชนิดรับประทานหมดก่อนเวลานัด หรือรับประทานผิดเวลา ผู้ดูแลไม่มีเวลาจัดยาให้ผู้ป่วย และผู้ป่วยจัดยารับประทานยาเองไม่ถูกต้อง เพราะมีข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา
ดังนั้น นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน” ณ ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการทำกระเป๋ายาสำหรับผู้ป่วย NCDs สูงอายุที่อ่านไม่ออก ซึ่งนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงอาหารสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาตัดเย็บเป็นกระเป๋ายาดังกล่าว นอกจากนี้นักศึกษาและ อสม. ได้ช่วยจัดยาให้กลุ่มผู้ป่วยลงในซองยาใหม่ที่ใช้ภาพของช่วงเวลาแทนตัวหนังสือ พร้อมทั้งให้กลุ่มผู้ป่วยฝึกท่องจำรูปภาพด้วยข้อความที่คล้องจองกันว่า “ตอนเช้าไก่ขัน กลางวันเที่ยงตรง ยามเย็นพระอาทิตย์ตก ก่อนนอนมีพระจันทร์” ส่งผลให้พวกเขาสามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.5 | ||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290650491423476/?d=n | ||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. กลุ่มเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ | ||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วย NCDs ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน สามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลาด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการประดิษฐ์นวัตกรรมนวัตกรรมกระเป๋ายาที่ใช้ง่ายและเหมาะกับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2 |
โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า
MU-SDGs Case Study* | โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานโดยมักจะมีอาการชาบริเวณปลายเท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุมักจะลืมรับประทานยา อีกทั้งผู้สูงอายุเองยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้า ขาดข้อมูลและขาดกำลังใจในการดูแลตนเอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา
ดังนั้น นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า” ณ ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยไปกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุได้ใช้ปฏิทินยาเพื่อลดการลืมรับประทานยา ทำให้พวกเขาสามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำอุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) ที่ไม่ใช้แล้ว และถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ทำให้พวกเขามีอาการชาลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.5 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290643694757489/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2 |
โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์
MU-SDGs Case Study* |
โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ |
||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||||||||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนศรีสังวาลย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ทั้งนี้พบปัญหาว่า เด็กนักเรียนที่นั่งวีลแชร์ (Wheelchair) ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาแผลกดทับ เนื่องจากต้องนั่งเป็นเวลานานและถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อีกทั้งเด็กนักเรียนยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดแผลกดทับ ขาดข้อมูลในการดูแลตนเอง และด้วยการที่จำนวนบุคลากรที่ดูแลนักเรียนมีค่อนข้างจำกัดเลยทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กนักเรียนทุกคนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน
ดังนั้น นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย โรงเรียนศรีสังวาลย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์” ณ ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลอาการแผลกดทับให้แก่ครูผู้ดูแลและเด็กนักเรียน รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คนในชุมชน และครูผู้ดูแลไปยังเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงน้ำยาล้างไตที่ใช้แล้วมาทำเป็นเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไตให้เด็กนักเรียนที่ใช้วีลแชร์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแผลกดทับลง ลดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.4 |
||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 4, 10, 12 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
4.5, 10.2, 12.5 |
||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288656244956234/?d=n |
||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. โรงเรียนศรีสังวาลย์ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 6. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 7. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ |
||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||||||||||||
Key Message* |
การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2, 4.3.4, 4.3.5, 10.6.8, 10.6.9, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2 |
โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน
MU-SDGs Case Study* | โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากชุมชนนั้นยังไม่ได้รับการบริการการจัดเก็บขยะจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดความรู้ในการกำจัดขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยส่วนใหญ่คนในชุมชนมักจะนำขยะทุกชนิดไปทิ้งบริเวณสวน ไร่ นา โดยไม่ได้คัดแยก และมีการเผา ทำลายขยะ ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีแมลงนำโรคและสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ องค์การบริการส่งตำบลตะคุ สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน” ณ ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร อีกทั้งยังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3, 12.4, 12.5 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2, 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4, 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287997358355456/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 2. องค์การบริการส่งตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 3. สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 4. ผู้นำชุมชน ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร จัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.3.2 |
โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์
MU-SDGs Case Study* | โครงการถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์ | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนไม่นิยมคัดแยกประเภทหรือชนิดของขยะในครัวเรือน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นขาดความรู้ และทักษะในการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการขาดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเด็นเรื่องการจัดการขยะ ทั้งนี้ ผลจากการที่คนในชุมชนไม่คัดแยกขยะนั้น ก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น เสียทัศนียภาพ มีสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ดังนั้น นางสาวศิริพร ทองคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร เทศบาลตำบลแม่โจ้ ปราชญ์ชาวบ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ถังหมักรักษ์โลก เปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์” ณ ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้ อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้ อสม. มีทักษะที่ดีในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ อสม. ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในการคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำปุ๋ยหมักดังกล่าวกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน ส่งผลให้ขยะในครัวเรือนต้นแบบมีจำนวนลดลงจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.3 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2, 11 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4, 11.6 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287992851689240/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. ศูนย์บริการสุขภาพตำบลหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. เทศบาลตำบลแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และคิดค้นนวัตกรรมในการคัดแยกเศษอาหารเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักและนำกลับมาใช้ในการทำการเกษตรในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.2.4, 12.3.2 |
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล | ||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ | ||||||||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต ทางศูนย์ฯจึงได้เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณมาเพื่อดำเนินงานแก้ปัญหา และในปีงบประมาณ 2559 และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พิจิตร ,กำแพงเพชร,นครสวรรค์ และอุทัยธานี) โดยในโครงการได้มีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ และเครือข่ายหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มาระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหา จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน โดยในกระบวนการสร้างมาตรฐานได้อิงจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เกิดเป็น “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล”จากการร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างมาตรฐานการปลูกข้าวอินทรีย์ และส่งผลให้เกิด “มาตรฐานข้าวอินทรีย์ มหิดล” เกษตรกรได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ ลดข้อสงสัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง |
||||||||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี |
||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็งและมีมาตรฐาน 2.สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ เพื่อนำมาพัฒนาการทำนาแบบอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย 4.สร้างองค์ความรู้เรื่องใช้สารชีวินทรีย์และสมุนไพรที่ใช้ในการทำนาอินทรีย์ที่ได้ผลดี และรวบรวมเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปถ่ายทอด 5.เพื่อให้เกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์สามารถเข้าถึงมาตรฐานที่สามารถทำได้ และเกษตรกรสามารถเชื่อมโยงผลผลิตข้าวไปต่อยอดทางการตลาดร่วมกันได้ โดยเกษตรกรจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้ |
||||||||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2559-ปัจจุบัน | ||||||||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 5 ปี | ||||||||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด | ||||||||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เครือข่ายเกษตรกรจังหวัด พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี สภาเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง เครือข่ายผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ |
||||||||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การวางแผนปลูก การขึ้นทะเบียนสมาชิกก่อนเริ่มฤดูกาลปลูกจะต้องมีการแจ้งปลูก และมีการแบ่งทีมตรวจแปลงกันภายในกลุ่ม การตรวจข้ามกลุ่ม รวมทั้งการเรียนรู้แนวทางวิธีการการป้องกัน กำจัด โรค แมลงศัตรู โดยชีววิธีร่วมด้วย โดยตลอดกระบวนการเพาะปลูกข้าวจะต้องทำตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันตามมาตรฐานเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกลุ่มจะไม่รับรองให้ผ่านกระบวนการปลูก แต่ถ้าท่านใดปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตกลงร่วมกันไว้ได้ทุกเรื่องจะได้ผ่านการรับรองกระบวนการปลูกจากทางกลุ่ม ผู้ผ่านกระบวนการปลูกสามารถส่งผลผลิตเข้าตรวจสารกำจัดแมลงที่ห้องแลปของวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการทดสอบสารฆ่าแมลงในเมล็ดข้าว กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC) ไพเรทรอยด์(PT) ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM) โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2 | ||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดพิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, อุทัยธานี |
||||||||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
มีผู้สนใจเข้าร่วม เครือข่าย ทั้งหมด344 ราย มาจากรายเดี่ยว(ไม่มีกลุ่ม) 15 ราย และมาจาก 34 กลุ่ม ซึ่งสามารถแยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้คือ มาจากจังหวัดพิจิตร 12 กลุ่ม จำนวน 157 ราย จากจังหวัดกำแพงเพชร 22 กลุ่ม 81 ราย สจากจังหวัดนครสวรรค์ 14 กลุ่ม 59 ราย และจากจังหวัดอุทัยธานี 10 กลุ่ม 47 ราย |
||||||||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.เกิดเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ต้นแบบ ที่เข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 1 เครือข่าย จำนวนสมาชิก 344 ราย มีพื้นที่การทำนาอินทรีย์รวมประมาณ 3,500 ไร่ 2.เกิดการบูรณาการและพัฒนาการบริการวิชาการ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และสามารถยกระดับสู่การขอรับรองอนุสิทธิบัตร ( ข้อมูลลิขสิทธิ์ เลขที่ 378760 รับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562) 3.สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ยรายละไม่น้อยกว่า 35,000 บาท ต่อปี 4.เกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รอบละ ไม่น้อยกว่า 1,500 – 2,000 บาทต่อไร่ หรือ ประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ต่อปี (คิดจากการทำนาปีละ 2 รอบ) |
||||||||||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 8 : Decent work and economic growth Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 15 : Life on land |
มาตรฐาน MU Organic
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
มาตรฐาน MU Organic | ||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์, ดร.ณพล อนุตตตรังกูร ,นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ,นายธนากร จันหมะกสิต,นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์,นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ และนายยุทธิชัย โฮ้ไทย |
||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
สืบเนื่องจากผลของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ในช่วงปี 2559 และทำให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ ลดข้อสงสัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง จากแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งตามมา และเครือข่ายได้มีการวางแนวทางการพัฒนาเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาของเครือข่าย ในปี 2562 โดยเครือข่ายได้เสนอแนะแนวทางการยกระดับมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เป็น มาตรฐาน MU Organic เพื่อให้เกิดการรับรองการผลิตที่ครอบคลุม และหลากหลายชนิดพืช เพิ่มขึ้น เพราะเนื่องจากสมาชิกเครือข่าย ไม่ได้ผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการปลูกผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาและจำหน่ายทำตลาดควบคู่กับข้าวอินทรีย์ และได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดผู้บริโภค |
||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน |
||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.สร้างและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมหลากหลาย มีมาตรฐานและผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้ง่าย 2.สร้างกระบวนการ วิธีการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการรับสมัคร และการตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง แบบออนไลน์ 3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย |
||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2562-ปัจจุบัน | ||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 4 ปี | ||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | เครือข่าย, ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด, กลุ่มจังหวัด | ||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน สภาเกษตรกร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง เครือข่ายผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) |
||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1.รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรฐาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยการกรอกข้อมูลผ่าน Google Form 2.คัดกรอง ประเมิน ผู้สมัคร และคัดเลือก 3.ทำความเข้าใจ ให้คำแนะนำ อธิบาย แนวทางข้อปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมมาตรฐาน 4.จัดทำ QR Code ประจำแปลงผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก 5.จัดผังการตรวจประเมินในระดับเครือข่าย และอบรมให้ความรู้วิธีการตรวจประเมิน 6.เครือข่ายตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง ตามผังที่วางไว้ 7.ทีมประเมินกลางสุ่มตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง 8.ผู้ตรวจประเมินในระดับเครือข่ายจัดเก็บผลผลิต ของสมาชิกที่ผ่านการปฏิบัติในระดับแปลง เพื่อนำผลผลิตส่งตรวจในห้องแลป ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจหาสารฆ่าแมลงในผลผลิต กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC) ไพเรทรอยด์(PT) ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM) โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2 และตรวจหาสารกำจัดวัชพืช กลุ่มพาราควอท ด้วยวิธีการ Spectrophotometry ผู้ที่ผ่านกระบวนการปฏิบัติในระดับแปลง และผลผลิตที่ส่งตรวจในแลป ไม่พบสารตกค้าง จะได้รับมาตรฐาน “MU Organic” 9.สุ่มตรวจแปลง พื้นที่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน หลังจากที่ได้รับมาตรฐานแล้ว เพื่อ React Credit |
||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน |
||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | ผู้สมัคร 81 ราย จาก 8 จังหวัด | ||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการตรวจรับรองมาตรฐาน 2.เป็นต้นแบบการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการให้บริการและพัฒนาชุมชน 3.เกิดเครือข่ายและการรวมกลุ่มยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประเภท ข้าว ผัก และผลไม้ ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ที่มีมาตรฐาน 81 ราย และมีพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 717 ไร่ 4.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน สามารถยกระดับการผลิตของตนเอง และสามรถนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดระดับที่สูงขึ้น และมีตลาดที่รับซื้ออย่างต่อเนื่อง 5.สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานมีมูลค่าที่สูงขึ้น |
||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 8 : Decent work and economic growth Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 15 : Life on land |
โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน | ||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร , นางศศิธร มารัตน์ , นางสาวฉัตรสกุล นาคะสุทธิ์ | ||||||
ที่มาและความสำคัญ |
การพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี อายุยืนยาวมากยิ่งขึ้นและมีอัตราการตายลดลงส่งผลให้จํานวนประชากรผู้สูงอายุมีจํานวนเพิมขึ้นทุกปี ซึ่งจากการคาดคะเนขององค์กรสหประชาชาติรายงานว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกถึง 1,963 ล้านคน (United Nation 1992: อ้างใน สุรีย์ และคณะ, 2539) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมการติดต่อสื่อสารการคมนาคมที่รวดเร็ว ที่เรียกว่าโลกไร้พรมแดนและความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขทําให้โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากโรคติดเชื้อลดลง แต่โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสามารถป้องกันได้ด้วยการส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้มีเจตคติและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง (บรรลุ,ศิริพานิช2551: 38) การที่มีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีผลต่อการเพิ่มภาระที่สังคมต้องรับผิดชอบในการดูแลช่วยเหลือแก่ประชากรในกลุ่มนี้ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุจะมีสภาพความเสื่อมถอยเกิดขึ้น การทํางานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายลดลงความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงก็ลดลง ปัญหาทางด้านสุขภาพซึ่งหมายความถึงปัญหาสุขภาพทางกายและปัญหาสุขภาพทางจิตใจผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเผชิญกับการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น (บรรลุ ศิริพานิช,2557) การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมสร้างแรงสนับสนุนทางจิตใจซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุในทิศทางที่ต้องการเช่นพฤติกรรมการป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพออกกำลังกาย เพื่อชะลอความเสื่อมรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การที่ได้เป็นสมาชิกชมรมต่างๆนั้นได้แสดงถึงว่าผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้มากมีโอกาสพบปะเพื่อนฝูงวัยเดียวกันและมองโลกกว้างขึ้น (บทความจากนิตยสาร ใกล้หมอ ปี ที่ 20 ฉบับที่ 11 โดย ดร.วิชิตคนึงเกษม) งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย จิตสดใส ร่างกายแข็งแรงติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ผู้สูงอายุจะออกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองเป็นประจำทุกๆวันพุธ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยเรื่องของการให้ความรู้และเพิ่มทักษะต่างๆของผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ร่วมร้องรำทำเพลงและรับประทานอาหารร่วมกันก่อนกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) งานผู้สูงอายุฯจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าวลง ในสถานการณ์เช่นนี้ งานผู้สูงอายุฯจะมีบทบาทอย่างไรในการลดความตึงเครียด คลายความเหงา และส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุในชุมชน สื่อชนิดใดเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างงานผู้สูงอายุฯกับผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เราคุ้นชินในชนบทที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุนั่นคือ “วิทยุ” แทนที่จะใช้สื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้เพราะในสังคมชนบทนั้น ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมิเดียต่างๆได้ ด้วยข้อจำกัดที่ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟน แต่วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อยุคก่อนกลับเป็นสื่อที่เข้าถึงได้จริงสำหรับผู้สูงอายุในสังคมชนบท จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน |
||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล |
||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย |
||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2564 | ||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | เดือนมิถุนายน-สิงหาคม | ||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | ระดับชุมชน ระดับตำบล | ||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) | สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz | ||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้รูปแบบทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change Theory) โดยศึกษาลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม (educative supportive nursing system) เป็นกรอบแนวคิดในการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชน โดยที่โอเร็มมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการดูแลตนเองเพื่อให้ตนเองมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ร่วมกับการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิด การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย บนแนวคิดที่ว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนFM 94.25 MHz. สามารถเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ทฤษฎีด้านผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง การป้องกันโรคแทรกซ้อน การรับประทานยา และการออกกำลังกาย 2) การสนับสนุนทั้งด้านร่างกายจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง 3) การชี้แนะ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเรียนรู้ การให้ทางเลือกในการดูแลตนเอง 3) การปฏิบัติจริง นำออกกำลังกายผ่านการออกอากาศทางวิทยุชุมชน เปิดช่วงถามตอบข้อสงสัยด้านสุขภาพเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันผ่านวิทยุชุมชน |
||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตำบลละ 5 คน |
||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 20 คน | ||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
ประชาชนที่ฟังรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ)ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz มีความความรู้ ความเข้าใจ |
||||||
Web link | – | ||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||
SDGs goal | Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 17 : Partnerships for the goals |