พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

MU-SDGs Case Study*

พัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคอง ของทีมสุขภาพในเครือข่าย    ปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

           โรงพยาบาลมโนรมย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีเครื่อข่ายปฐมภูมิ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร) แต่ละพื้นที่มีจัดบริการกองทุน Long Term Care ซึ่งเป็นการดูแล ส่งต่อ ตั้งแต่โรงพยาบาลสู่บ้านมีการส่งข้อมูลสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลแบบประคับประคองร่วมกันทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านแต่ด้วยจำนวนพยาบาลที่จำนวนจำกัดในการดูแลที่ซึ่งต้องทำ family meeting และAdvance care plan ที่บ้านจึงทำให้เกิดการดูแลไม่ทั่วถึง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการตายดีและการดูแลแบบประคับประคองให้เป็นระบบ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการการดูแล จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองของทีมสุขภาพ ในเขตพื้นที่เครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรการสื่อสารในการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะกระบวนกรให้แก่บุคลากรทีมสุขภาพในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ ประกอบด้วยการอบรมทักษะกระบวนกรเบื้องต้น ได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death ได้แก่ เกมส์ไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน การ์ดแชร์กัน แคร์คลับและสมุดเบาใจ ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ (Health Communication Assessment Tool : HCAT) ก่อนและหลังการอบรม 

            ผลการประเมินทักษะการสื่อสารของบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่า จากผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 37 คน เป็นชาย 3 คน  หญิง 34 คน อายุเฉลี่ย 55 ปี มีคะแนนทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์หลังอบรมมีค่าเฉลี่ย 98.38 (SD= 13.68) สูงกว่าก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ย 83.83 (SD= 8.28) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p<.001)  การเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ ผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง เห็นได้จากผู้เข้าร่วมอบรมสะท้อนว่า“ได้ไปจัดเก็บข้าวของ..(สมบัติ)ให้เป็นหมวดหมู่…เป็นระเบียบ…และหาง่าย” “ได้บอกกับแม่ว่า..ถ้าตายให้สวดหนึ่งคืน…เผาเลย” และสามารถพูดคุยสื่อสารเรื่องความตายกับคนในครอบครัวและสื่อสารพูดคุยกับป่วยและญาติได้ 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.c

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://discord.com/channels/1204631979358822400/1220262637083037747

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

เครื่อข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลมโนรมย์ จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.คุ้งสำเภา รพ.สต.วัดโคก รพ.สต.ศิลาดาน รพ.สต.ท่าฉนวน รพ.สต. หางน้ำหนองแขม รพ.สต.ไร่พัฒนา รพ.สต.อู่ตะเภา และหน่วยปฐมภูมิ รพ.นโนรมย์ (หางน้ำสาคร)

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“ทักษะการสื่อสารของทีมสุขภาพเป็นหัวใจการดูแลแบบประคับประคองและเสริมสร้างวัฒนธรรมความตายพูดได้ การอบรมนี้จึงป็นการเตรียมบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยตามแนวนโยบายชีวาภิบาล”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.c, 4.4

การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว

MU-SDGs Case Study*

การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ    ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

           การวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า (advance care planning: ACP) เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลกับครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแสดงเจตจำนงค์ของบุคคลต่อการดูแลในช่วงระยะท้ายของชีวิต และช่วยลดความกังวลในการตัดสินใจหรือลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัวและทีมสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การพูดถึงการเตรียมความตายในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังมองเป็นเรื่องอัปมงคลที่ไม่ควรพูดถึง การศึกษานี้ได้นำชุดเครื่องมือของ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเตรียมตัวตายและการวางแผนสุขภาพล่วงหน้าในกลุ่มผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านเขาบ่อแก้ว จำนวน 26 คน ที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่ประกอบด้วยกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ การประเมิน และการสะท้อน และแนวคิดแนวคิดชุมชนกรุณา 

            ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเข้าร่วมจำนวน 26 คน เพศชาย 16 คน (ร้อยละ 61.5) เพศหญิง 10 คน (ร้อยละ38.5) ผู้สูงอายุจำนวน 15 คน (ร้อยละ 57.7) ได้เขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำเร็จ และจำนวน 11 คน (ร้อยละ 42.3) ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผลการปฏิบัติการใช้ชุดเครื่องมือ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า ค้นพบว่า ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ทัศนคติเชิงบวกต่อการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวตาย (2) ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิการตายดีเพิ่มขึ้น และ (3) ความตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง (ownership) การศึกษานี้ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมตานโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 10.3
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/share/p/1BazEP4gxV

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“ถึงผู้สูงอายุจะอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา ผู้สูงอายุก็มีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันกับผู้สูงอายุในสังคม เขาก็มีสิทธิในการวางแผนการดูแลสุขภาพและได้รับการดูแลตาเจตจำนงของเขา”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3d,10.3

SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.ศศิมา วรหาญ

ผศ.ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

อ.ดร.สมสุข พวงดี

อ.ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง

นายอภินันท์ ปลอดแก้ว

นายฌานเทพฤทธิ์ วงศ์วิลาส

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

ส่วนงานร่วม

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

เนื้อหา*

    โครงการ SMART Farmer Fair เป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นโดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (ชื่อใหม่: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทำการเกษตรเพื่อสุขภาพและการประกอบการ ในยุคที่เกษตรกรรมของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายในการเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พร้อมกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตร SMART Farmer จึงมุ่งเน้นการสร้างนักศึกษาให้เป็นมากกว่าเกษตรกรทั่วไป แต่ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจ นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรจะมีทักษะที่สามารถนำไปพัฒนาธุรกิจเกษตรของตนเองได้ รวมถึงสามารถเป็นผู้นำในชุมชนในการนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้กับภาคการเกษตรในรูปแบบที่ยั่งยืน
    โครงการ SMART Farmer Fair มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรจากไอเดียสร้างสรรค์ของนักศึกษา นำเสนอโครงการต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เกษตรเพื่อการสร้างรายได้ เทคโนโลยีด้านการเกษตร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการสร้างบัณฑิตของหลักสูตรทางการศึกษาของวิทยาเขตนครสวรรค์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ด้านการประกอบการ เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนไปประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานด้านการเกษตรในพื้นที่
     งาน SMART Farmer Fair จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2023 ณ ห้างสรรพสินค้าวี-สแควร์ พลาซ่า จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ในปี 2024 จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาคการเกษตรทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากภาคการเกษตร และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ทั้งนี้ งาน SMART Farmer Fair 2024 ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น การแข่งขันจัดสวนถาด การแข่งขันส้มตำลีลา การสาธิตการประยุกต์ใช้ IoT กับการเลี้ยงไก่ในป่าสัก รวมไปถึงบูธจัดแสดงผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรและอาหารของนักศึกษาและหน่วยงานด้านการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชน

     การดำเนินงานของโครงการ SMART Farmer Fair เป็นตัวอย่างของการนำแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาใช้ในภาคการเกษตร โดยสรุปได้ดังนี้ 

SDG 2: ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger)

โครงการมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบผสมผสานที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ และลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารในระยะยาว

SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

การส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดภัยและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีอาหารที่ปลอดภัย ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education)

โครงการ SMART Farmer Fair เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้นักศึกษาและเกษตรกรได้ฝึกปฏิบัติจริงในสาขาเกษตร ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

SDG 8: การเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic Growth)

โครงการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด สร้างงานและรายได้ในชุมชนท้องถิ่น

SDG 12: การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)

การเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การแปรรูปผลิตผลเพื่อเพิ่มมูลค่า และการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนและลดของเสียในกระบวนการผลิต 
      การเชื่อมโยงกับ SDGs เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความครอบคลุมของโครงการในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตรและสังคมโดยรวม

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2,3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4
3.9
4.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

8.2, 8.3
12.3, 12.4
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

มหิดลนครสวรรค์ จัดมหกรรม SMART Farmer Fair 2023
https://na.mahidol.ac.th/th/en/2023/12305

SMART FARMER FAIR 2024 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์
https://int.mahidol.ac.th/2024/05/27/dd-at-smart-farmer-fair-2024/

Facebook Page: smartfarmer.muna
https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/about/
ข้อมูลเกี่ยวกับงาน #SMART Farmer Fair

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. คูโบต้า ฮั้วเฮงหลี ที่นำโดรน และนวัตกรรมเกษตรมาโชว์ในงาน
2. บ.เบทาโกรอุตสหกรรมเกษตร นครสวรรค์
3. ฟาร์มฝันปันสุข ออแกนิคฟาร์ม
4. รร.สตรีนครสวรรค์ และน้องๆวง Soft Sweet
5. รร.เซนโยเซฟ นครสวรรค์
6. ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์
7. สถาบันพยาบาลศาสตร์ มหิดลนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

“หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.3, 2.4
3.9
4.4

เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี

MU-SDGs Case Study*

เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการวางแผนการอยู่และตายดี

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
น.ส.อรนิช แก้วสุข
ผศ.ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล
นางลักขณา สถาพรสถิตอยู่
นางอรทัย สร้อยสวน

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

การพูดเรื่องความตาย ส่วนใหญ่ไม่ควรพูดถึงเพราะเป็นเรื่องอัปมงคล ตลอดระยะเวลา10 ปี ที่ดำเนินงานการดูแลการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ได้ทบทวนและเกิดการเรียนรู้ถึงการสร้างความเข้าใจเรื่อง “การเตรียมความพร้อมก่อนตาย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพื่อนำไปสู่การ“ตายดี” จึงเป็นที่มาของการโครงการ“เรียนรู้การใช้ชุดเครื่องมือของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี” ให้กับเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และยกระดับในการสื่อสารผ่านชุดเครื่องมือ ของ Peaceful Death เพื่อการอยู่และตายดี ผลการดำเนินโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจเรื่องความตายและการเตรียมความพร้อมก่อนตายและผู้เข้าร่วมการอบรมมีทักษะในการใช้เครื่องมือและนำไปปฏิบัติจริงกับผู้สูงอายุในศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองให้สามารถร่วมพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า(Advance care plan) จึงเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิตที่ดี ทั้งกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ การวางแผนการดูแลล่วงหน้าก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในระยะท้าย จึงขยายผลการนำเครื่องมือไปกับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้วเป็นการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ประเมินผลตัวชีวัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย

กระบวนการสัมภาษเชิงลึก focus group ผ่านการใช้เครื่องมือของ Peaceful Death ในการนำพาการพูดคุยเรื่องความตาย ผลการดำเนินโครงการ ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความตายและมีผู้สูงอายุเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ขอนำไปศึกษารายละเอียดและให้พี่เลี้ยงช่วยเขียน(กรณีเขียนหนังสือไม่ได้) นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีมติร่วมกันเมื่อเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้าแล้วให้นำไปไว้ที่เรือนพยาบาลเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลสุขภาพและต้องการให้มีการเขียนการวางแผนการล่วงหน้าทุกคนในสถานสงเคราะห์คนชรา การขยายผลโครงการงานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เสนอขอทุนเพื่อขยายเครือข่ายให้มีทักษะความรู้ในการใช้เครื่องมือและขยายการเขียนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า พื้นที่ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ผลของการขยายผล ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการใช้ชุดเครื่องมือและสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ แกนนำกระบวนกรชุมชนกรุณาสามารถเลือกใช้ชุดเครื่องมือกับผู้สูงอายุในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุเปิดใจ ยอมรับการพูดคุยเรื่องความตายได้และเขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าได้

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs16

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

16.7

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

ให้ความตายเป็นเรื่องที่พูดได้ เพื่อการอยู่ดีและตายดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d

สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม

MU-SDGs Case Study*

สูงวัยยุคใหม่เข้าใจโซเดียม

ผู้ดำเนินการหลัก*

น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางศศิธร  มารัตน์
น.ส.อรนิช แก้วสุข

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

การบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน เป็นสาเหตุหนึ่งของการทหให้เกิดโรคไม่ติดต่ออเรื้อรัง (Non-Communicable Desease : NCDs) ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568 ว่าด้วยประเด็นยุทธศาสตร์- SALTS ดังนี้ 1). ยุทธศาสตร์ S (Stakeholder network) การสร้าง พัฒนาและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2). ยุทธศาสตร์ A (Awareness) การเพิ่มความรู้ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำ หนดนโยบาย 3). ยุทธศาสตร์ L (Legislation and environmental reform) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด การผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมตํ่า รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องทางการเข้าถึงอาหาร ที่ปริมาณโซเดียมตํ่า 4). ยุทธศาสตร์ T (Technology and innovation) การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำสู่ ปฏิบัติ 5). ยุทธศาสตร์ S (Surveillance, monitoring and evaluation) การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม (Healthy University : (Low Sodium Policy) เพื่อเป็นต้นแบบลดการบริโภคโซเดียมและส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ

เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เกิดความตระหนักในการบริโภคอาหาร ผลของการดำเนินโครงการ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงกลไกของโซเดียมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกายทำให้ผู้สูงอายุเห็นภาพมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อรับประทานโซเดียมมากเกินไป มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดจากโซเดียม ทำให้เกิดความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะนำความรู้กลับไปถ่ายทอดให้คนในครอบครัวได้ทราบถึงผลกระทบของโซเดียมและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมอีกด้วย

เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และส่งเสริมความตระหนักในการขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม จึงขยายผลการให้ความรู้ผ่านแบบจำลองนวัตกรรมการดูดซึมโซเดียมในร่างกาย แก่กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ กลุ่มชมรมข้าราชการบำนาญ เข้าใจกลไกการทำงานของโซเดียมในร่างกายผ่านนวัตกรรม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.14

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100057411042251
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

  

Key Message*

 ลดเค็ม ลดโรค

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.d

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

 

เนื้อหา*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้

เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย

นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย

หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG2,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4, 2.5
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs1,3, 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

1.2.1, 1.3, 1.4.1
3.3.2
17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.
2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.3,2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2

โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.ทัตติยา ทองสุขดี
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์
3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน

เนื้อหา*

ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต กลายเป็นอีกปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น (WHO, 2020) สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1.5 ล้านคน และสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคจิตอื่น ๆ ตามลำดับ (กรมสุขภาพจิต, 2564) นอกจากนี้ข้อมูลสำนักงานสถิตแห่งชาติ ปี 2563 ที่ทำการสำรวจสุขภาพจิตคนในประเทศไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุด ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี เพศหญิงมีระดับสมรรถภาพของจิตใจน้อยกว่าเพศชาย ร้อยละ 62.2 จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชส่งผลถึงความบกพร่องในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคล การตัดสินใจ ศักยภาพการ ดูแลตนเองลดลง การประกอบอาชีพ และปัญหาเรื่องความเสื่อมลงของร่างกายและจิตใจ ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง แยกตัวจากสังคมมากขึ้น รวมทั้งอาจส่งผลต่อการปรับตัวในชีวิตประจำวันร่วมด้วย (Sadock & Sadock, 2017)

จากรายงานสถิติฆ่าตัวตายของกระทรวงมหาดไทยปี 2560 พบว่า ในจังหวัดนครสวรรค์ มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.67 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่แหล่งชุมชนเมือง และชุมชนกึ่งเมือง ซึ่งชุมชนวัดไทรย์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น และเป็นชุมชนกึ่งเมือง จาก

สถานการณ์ปัญหาทางด้านสุขภาพในชุมชน พบว่า ประชาชนมีปัญหาด้านความเครียด ความวิตกกังวลแลซึมเศร้า ในทุกกลุ่มวัย จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย จากการสัมภาษณ์ตัวแทนสาธารณสุขประจำตำบล พบว่า ในช่วง ปี พ.ศ. 2564 ถึง 2565 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 3 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหรือปัจจัย เช่น ปัญหาทางด้านครอบครัว สุขภาพ เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ทำให้ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมตามมา

ดังนั้นหากมีการส่งเสริมสุขภาพจิตในทุกกลุ่มวัยจะช่วยลดปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแผนที่จะจัดโครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ โรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์ ทั้งนี้การที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.2 ,12.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.moph.go.th/

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4. ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
5. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

     

Key Message*

การส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.1, 3.3.2

ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

4

MU-SDGs Case Study*ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ส่วนงานหลัก*โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วมส่วนงานร่วม
เนื้อหา*ที่มาและความสำคัญ   โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร
มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
รวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย  ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี

ขอบเขตพื้นที่การศึกษา   โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

วัตถุประสงค์  

1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย

2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้

3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน

ปีที่จัดกิจกรรม  2566

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  1 ปี

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ  เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด

รูปแบบดำเนินกิจกรรม  

1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน

2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์

3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน  2  เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ  

1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม
และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง

3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต

 
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*SDGs 1,2,3,4,8,12,15เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*SDGs 1,2,3,4,8,12,15
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
 
 Facebook
 
MU-SDGs Strategy* 
Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี

สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี

เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* 
Key Message*โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง 

ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN

MU-SDGs Case Study*

ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์
นางศศิธร มารัตรน์
นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

เนื้อหา*

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้

วิธีการดำเนินการ

1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563

2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า  โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี

3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย

ผลกระทบ
– ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
– ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม
– เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้
– ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

– สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ รพ.สต. เป็นกลุ่มเป้าหมายในการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ
– โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนนักวิชาการในการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
  

Key Message*

“กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2

ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)”

MU-SDGs Case Study*

ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)”

ผู้ดำเนินการหลัก*

ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

ผู้ดำเนินการร่วม

ศศิธร มารัตน์

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

เนื้อหา*

          งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย  ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี
ผู้สูงอายุจะออกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองเป็นประจำทุกๆวันพุธ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในแต่ละครั้ง
จะประกอบไปด้วยเรื่องของการให้ความรู้และเพิ่มทักษะต่างๆของผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ร่วมร้องรำทำเพลงและ
รับประทานอาหารร่วมกันก่อนกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)
งานผู้สูงอายุฯจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าวลง ในสถานการณ์เช่นนี้ งานผู้สูงอายุฯจะมีบทบาทอย่างไรในการลดความตึงเครียด
คลายความเหงา และส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุในชุมชน สื่อชนิดใดเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างงานผู้สูงอายุฯ
กับผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เราคุ้นชินในชนบทที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุนั่นคือ “วิทยุ”
แทนที่จะใช้สื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้เพราะในสังคมชนบทนั้น ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมิเดียต่างๆ
ได้ ด้วยข้อจำกัดที่ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟน แต่วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อยุคก่อนกลับเป็นสื่อที่เข้าถึงได้จริงสำหรับผู้สูงอายุในสังคมชนบท 
จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย
ของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ปัจจุบันยังคงจัดทำโครงการภายใต้ รายการวิทยุ “เสียงสร้างสุข(ภาพ) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (พ.ศ.2566)

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา  ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว
ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล ต.พระนอน ต.ยางตาล

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย

ปีที่จัด 2566  ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนกันยายน 2565 – สิงหาคม 2566

ระดับความร่วมมือ  ระดับชุมชน ระดับตำบล

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

          เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและ
ความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้รูปแบบทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change Theory)
โดยศึกษาลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม
(educative supportive nursing system) เป็นกรอบแนวคิดในการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชน โดยที่โอเร็ม
มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการดูแลตนเองเพื่อให้ตนเองมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ร่วมกับการทบทวน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิด ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย
บนแนวคิดที่ว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนFM 94.25 MHz. สามารถเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้

หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย
1) การให้ความรู้ทฤษฎีด้านผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง การป้องกันโรคแทรกซ้อน การรับประทานยา และการออกกำลังกาย
2) การสนับสนุนทั้งด้านร่างกายจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง
3) การชี้แนะ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเรียนรู้ การให้ทางเลือกในการดูแลตนเอง
4) การปฏิบัติจริง นำออกกำลังกายผ่านการออกอากาศทางวิทยุชุมชน เปิดช่วงถามตอบข้อสงสัย
ด้านสุขภาพเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันผ่านวิทยุชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย   ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz  จำนวน 5 ตำบล
คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล  ต.พระนอน ต.ยางตาล

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  รวมทั้งสิ้น 50 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ   ประชาชนที่ฟังรายการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz
มีความความรู้ ความเข้าใจในด้านผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ด้านผู้สูงอายุไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ โดยยอมรับและเข้าใจใน
ความต่างวัย มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุในบ้าน มีความเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นและเกิดความผูกพันธ์กันในครอบครัว
และผู้สูงอายุมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  การป้องกันและการปฏิบัติตัวจากโรคภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
มองเห็นคุณค่าของตนเอง และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุจะสามารถนำท่าการออกกำลังกายไปฝึกใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง
ได้ทั้งผู้สูงอายุและประชาชนที่ฟังวิทยุชุมชนรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ) เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายในวัยผู้สูงอายุ  
เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร โดยให้ผู้สูงอายุได้โทรศัพท์เข้ามาในรายการเพื่อสื่อสารส่งผ่านถึง
เพื่อผู้สูงอายุต่างชุมชน ส่งผลให้เกิดความผูกพันธ์และยังรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3, 3.4, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031585491328/

https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031508824669
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM94.25 MH.z

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

   

Key Message*

การจัดรายวิทยุเสียงสร้างสุข (ภาพ) ทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแสดงความคิดถึงและความห่วงใยกันผ่านเสียงเพลง โดยการขอเพลงให้กันทั้งคนในชุมชนและต่างชุมชนกัน การได้ออกกำลังกายขณะอยู่ที่บ้านและได้รับความรู้ด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่มีความเข้าใจในความเป็นผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2