โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร , นางศศิธร มารัตน์ , นางสาวฉัตรสกุล นาคะสุทธิ์
ที่มาและความสำคัญ

การพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี อายุยืนยาวมากยิ่งขึ้นและมีอัตราการตายลดลงส่งผลให้จํานวนประชากรผู้สูงอายุมีจํานวนเพิมขึ้นทุกปี ซึ่งจากการคาดคะเนขององค์กรสหประชาชาติรายงานว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกถึง 1,963 ล้านคน (United Nation 1992: อ้างใน สุรีย์ และคณะ, 2539) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมการติดต่อสื่อสารการคมนาคมที่รวดเร็ว ที่เรียกว่าโลกไร้พรมแดนและความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขทําให้โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากโรคติดเชื้อลดลง แต่โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสามารถป้องกันได้ด้วยการส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้มีเจตคติและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง (บรรลุ,ศิริพานิช2551: 38)

การที่มีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีผลต่อการเพิ่มภาระที่สังคมต้องรับผิดชอบในการดูแลช่วยเหลือแก่ประชากรในกลุ่มนี้ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุจะมีสภาพความเสื่อมถอยเกิดขึ้น การทํางานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายลดลงความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงก็ลดลง ปัญหาทางด้านสุขภาพซึ่งหมายความถึงปัญหาสุขภาพทางกายและปัญหาสุขภาพทางจิตใจผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเผชิญกับการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น (บรรลุ ศิริพานิช,2557) การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมสร้างแรงสนับสนุนทางจิตใจซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุในทิศทางที่ต้องการเช่นพฤติกรรมการป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพออกกำลังกาย เพื่อชะลอความเสื่อมรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การที่ได้เป็นสมาชิกชมรมต่างๆนั้นได้แสดงถึงว่าผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้มากมีโอกาสพบปะเพื่อนฝูงวัยเดียวกันและมองโลกกว้างขึ้น (บทความจากนิตยสาร ใกล้หมอ ปี ที่ 20 ฉบับที่ 11 โดย ดร.วิชิตคนึงเกษม)

งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย   จิตสดใส ร่างกายแข็งแรงติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ผู้สูงอายุจะออกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองเป็นประจำทุกๆวันพุธ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยเรื่องของการให้ความรู้และเพิ่มทักษะต่างๆของผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ร่วมร้องรำทำเพลงและรับประทานอาหารร่วมกันก่อนกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) งานผู้สูงอายุฯจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าวลง ในสถานการณ์เช่นนี้ งานผู้สูงอายุฯจะมีบทบาทอย่างไรในการลดความตึงเครียด คลายความเหงา และส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุในชุมชน สื่อชนิดใดเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างงานผู้สูงอายุฯกับผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เราคุ้นชินในชนบทที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุนั่นคือ “วิทยุ” แทนที่จะใช้สื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้เพราะในสังคมชนบทนั้น ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมิเดียต่างๆได้ ด้วยข้อจำกัดที่ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟน แต่วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อยุคก่อนกลับเป็นสื่อที่เข้าถึงได้จริงสำหรับผู้สูงอายุในสังคมชนบท  จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว
ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ระดับตำบล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้รูปแบบทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change Theory) โดยศึกษาลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม (educative supportive nursing system) เป็นกรอบแนวคิดในการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชน โดยที่โอเร็มมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการดูแลตนเองเพื่อให้ตนเองมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ร่วมกับการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิด การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย บนแนวคิดที่ว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนFM 94.25 MHz. สามารถเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ทฤษฎีด้านผู้สูงอายุ
การดูแลตนเอง การป้องกันโรคแทรกซ้อน การรับประทานยา และการออกกำลังกาย 2) การสนับสนุนทั้งด้านร่างกายจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง 3) การชี้แนะ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเรียนรู้ การให้ทางเลือกในการดูแลตนเอง 3)  การปฏิบัติจริง นำออกกำลังกายผ่านการออกอากาศทางวิทยุชุมชน เปิดช่วงถามตอบข้อสงสัยด้านสุขภาพเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันผ่านวิทยุชุมชน
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล  โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตำบลละ 5 คน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

ประชาชนที่ฟังรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ)ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz มีความความรู้ ความเข้าใจ
ในด้านผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ด้านผู้สูงอายุไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ โดยยอมรับและเข้าใจใน
ความต่างวัย มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุในบ้าน มีความเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นและเกิดความผูกพันธ์กันในครอบครัว และผู้สูงอายุมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  การป้องกันและการปฏิบัติตัวจากโรคภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ มองเห็นคุณค่าของตนเอง และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
จะสามารถนำท่าการออกกำลังกายไปฝึกใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้ทั้งผู้สูงอายุและประชาชนที่ฟังวิทยุชุมชนรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ) เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายในวัยผู้สูงอายุ

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

Effects of soil amendments on leaf anatomical characteristics of marigolds cultivated in cadmium-spiked soils


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Subjects Details

Research Project/

Project/Activities/Events

Effects of soil amendments on leaf anatomical characteristics of marigolds cultivated in cadmium-spiked soils
Project managers

1.Associate Professor Dr. Weeradej Meeinkuirt

2.Ms. Alapha Thongchai

3.Dr. Puntaree Taeprayoon

4.Assistant Professor Dr. Isma-ae Chelong

Statement problems

The zinc (Zn) mining industry and its operations in cadmium (Cd) and Zn co-contaminated agricultural areas have long been recognized as a major source of Cd and Zn pollution in the Mae Tao River basin, Mae Sot district of Tak Province, Thailand. For more than 30 years, people in those areas have been affected by Cd pollution released from polluted agricultural soils, causing renal and bone disorders, and eventually cancer. Local villagers or farmers continue to cultivate rice and other crop plants in such polluted areas in order to earn money for their livelihood and other beneficial lives. As a result, the Thai government and local authorities advised local people and farmers to stop growing crop plants on polluted soils. Phytomanagement is a subset of “phytoremediation,” which involves using green plants to remove heavy metals from polluted soils and streams; nonetheless, the ultimate objective is to employ plants for purposes other than biota consumption. Plants are used in phytomanagement technology for a variety of purposes, including energy, furniture, and architectural adornment etc. Marigold cultivars have been cultivated in Mae Tao River Basin areas, which are also known as agriculturally polluted areas, since they have been reported to serve as flowering ornamental plants that are cut for sale to assist communities generate income. High levels of Cd and Zn, on the other hand, may have an impact on marigold growth and flowering. Soil amendments will be used to improve soil properties, plant growth, and productivity, according to the research hypothesis. Many organic amendments, in particular, can diminish heavy metal mobility in soil and water, which may assist lower heavy metal bioavailability. The success of phytomanagement technology, on the other hand, should begin with plant selection, which should include consideration of water and soil management.

Area of Studies/ Area of Activities Greenhouse experiments and laboratory-based investigations to determine heavy metal concentration in marigold plant tissues
Objectives

1.To determine the effects of soil amendments on plant growth performances, cadmium and zinc uptake and accumulation, and anatomical modifications in leaves of four marigold cultivars (Tagetes erecta L. e.g., Honey, American and Sunshine and T. patula L. e.g., French) grown in greenhouse

2.To determine phytoremediation potential of the four marigold cultivars (Tagetes erecta L. e.g., Honey, American and Sunshine and T. patula L. e.g., French)

Years 2020
Project/Activity Duration June 1, 2020 – March 30, 2021
Levels of Collaboration University level
Collaborative organization Yala Rajabhat University

Project approaches/

Activity approaches

1.Greenhouse study

2.Laboratory works

Target groups

Numbers of Participants
Outputs/Outcomes

1.To develop a high potential plant for phytoremediation that can be used to remove cadmium and zinc from contaminated soil

2.Instead of edible crop plants, the flower cut from marigolds will be used as a commercial product to generate income for communities in the Mae Tao River Basin, Tak Province.

3.To develop a fertilizer or soil amendment that can be used in agricultural areas as a novel product

Web link https://doi.org/10.1038/s41598-021-95467-9
Pictures/Images
 
SDGs goals Goal 3 : Good health and well being
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

วัคซีนเพื่อชุมชน


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
วัคซีนเพื่อชุมชน
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ นางสาวสิริกร  นาคมณี
ที่มาและความสำคัญ

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ๒๐๑๙ ที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทางออกที่ยั่งยืนของวิกฤตครั้งนี้ คือ การให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ COVID-๑๙ กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ

    ในการนี้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง และนักเรียนมัธยม ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด๑๙ ทั้งวัคซีนหลัก และ วัคซีนทางเลือก ในวัคซีนหลักศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ได้ให้บริการฉีดวัคซีนกับผู้ที่จองผ่านระบบ และจองผ่านเจ้าหน้าที่ อสม. ทำให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคของตำบลเขาทองได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐%ตามเป้า และขยายเป้าหมายสู่ประชาชนทั่วไป อีกทั้งให้บริการวัคซีนทางเลือกโดยไม่คิดค่าบริการในกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒๒๖ คน โดยความร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ และเพิ่มความครอบคลุมในการดูแลประชาชนในเขตเขาทองให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับทีมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ออกให้บริการฉีดวัคซีนถึงบ้านจำนวน ๓๐ คน โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.เขาทองและเจ้าหน้าที่ อสม.ในพื้นที่ และยังฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนมัธยมจำนวน ๓๑๗ คน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด๑๙ ได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ให้กับประชาชนโดยผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจประชาชนในเขตพื้นที่เขาทองมีความพึงพอใจ และได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และกลุ่มเปราะบาง เช่นผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ ตั้งแต่ 2564 เป็นต้นไป
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 – ปัจจุบัน
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ หน่วยงาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

สำนักงาน คปภ. , สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ , อบต.เขาทอง , รพ.สต.เขาทอง , ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ,

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.ให้บริการฉีดวัคซีนประชาชนทั่วไปในเวลาราชการที่ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

2.ให้บริการฉีดวัคซีนผู้ป่วยติดเตียงในเขตตำบลเขาทองที่บ้านนอกเวลาราชการ

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

1.ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 ในจังหวัดนครสวรรค์

2.นักเรียนโรงเรียนเขาทอง และ โรงเรียนเขาทองพิทยาคม

3.ผู้ป่วยติดเตียงและผ้สูงอายุในเขตตำบลเขาทอง

4.กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1.ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 จำนวนมากกว่า 3,000 คน

2.นักเรียนอายุ 12-18 ปี จำนวน 318 คน

3.ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 30 คน

4.กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 226 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.สร้างความรู้ความเข้าใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19

2.ประชาชนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง

Web link
รูปภาพประกอบ

บริการวัคซีนประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608

บริการวัคซีนนักเรียน อายุ 12 – 18 ปี ในเขตตำบลเขาทอง

บริการวัคซีนทางเลือกแก่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสโดยไม่คิดค่าบริการ


บริการวัคซีนผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุที่บ้าน
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​

 

โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการวิจัยบทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
ที่มาและความสำคัญ

ข้อมูลองค์การสหประชาชาติที่คาดประมาณจำนวนการเกิดในแต่ละปีว่าจะมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้อยกว่า 500,000 รายต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2588-2593 (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ, 2559: ออนไลน์) และจากการสำรวจพัฒนาการของเด็กไทยในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะเด็กอายุ 3-5 ปี ที่ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กยังมีพัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา ซึ่งมีผลทำให้เด็กเมื่อเข้าเรียนแล้วอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ได้ รวมไปถึงคิดไม่เป็น (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) นอกจากนี้ข้อมูลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (2559: ออนไลน์) ยังพบว่าในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในประเทศไทยมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) ขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า โดยเฉพาะการไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและเกลือแร่ที่มีผลต่อสมอง 2) ปัจจัยการเลี้ยงดูหรือคนเลี้ยงมีปัญหา และ 3) การใช้สื่อโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และครอบครัวในสังคมไทยเองต่างมีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ในครอบครองกันมากขึ้น โดยครัวเรือนไทยที่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในครอบครัวมากถึงร้อยละ 68.2 และมีแท็บเล็ตคิดเป็นร้อยละ 24.6 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2559) ทำให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันกับเด็กจนกลายเป็นเรื่องปกติ เด็กในยุคนี้จึงเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกจากการเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของพ่อแม่หรือของตนเองที่พ่อแม่ซื้อให้

ผลจากการวิจัยของสหรัฐอเมริกาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กชี้ว่า พ่อแม่ยังไม่ควรให้เด็กปฐมวัยเล่นสมาร์ทโฟนและหรือแท็บเล็ต เพราะในช่วงเด็กทารกถึงวัย 2 ขวบ สมองของเด็กมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว และสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาของสมอง หากเด็กใกล้ชิดกับเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตหรือโทรทัศน์ อุปกรณ์ดังกล่าวจะชะลอการเติบโตของสมองรวมถึงทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น เอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น เพราะควบคุมตัวเองได้น้อยลง (Cris Rowan, 2015) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2559: ออนไลน์) ที่สะท้อนแนวคิดไว้ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับว่าการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะมีประโยชน์ในเด็กกลุ่มนี้ ดังนั้นการใช้สื่อเหล่านี้สำหรับเด็กปฐมวัยจึงควรอยู่ในการกำกับดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรควบคุมระยะเวลาที่เด็กใช้ และมีการพูดคุยหรือเล่นกับเด็กขณะที่กำลังเล่นอุปกรณ์ดังกล่าว

จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการศึกษาการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัยโดยตรง ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจว่า จะมีแนวทางใดบ้างที่จะส่งเสริมให้ครอบครัวเด็กปฐมวัยรู้เท่าทันสมาร์ทดีไวซ์และใช้สมาร์ทดีไวซ์เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาในเขตพื้นสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร และทำการศึกษากับเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา เขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร
วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์หลักข้อที่ 2 ของงานวิจัยคือ ค้นหาแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาเป็นคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2562-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 จัดทำการวิจัยเชิงคุณภาพ

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 จัดทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

– ศูนย์อนามัยที่ 3 จ.นครสวรรค์

– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

– สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

– คลินิกกิจกรรมบำบัดนครสวรรค์ บ้านครูมด คลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

– มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

– คลินิกเด็ก หมอธนาธรณ์

– โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต

– Rose Marie Academy School

– โรงเรียนระดับอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 30 แห่ง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ระหว่างธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563 คณะวิจัยทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม กับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34 คน ซึ่งผลการศึกษาทำให้ได้ข้อสรุปของ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม” โดยผู้วิจัยนำเสนอไว้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลสรุปสาระสำคัญ และสรุปประเด็นสำคัญด้วยอินโฟกราฟิก และคู่มือจัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟน

 

ระหว่างมกราคม – พฤษภาคม 2564 เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเป็นการต่อยอดจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ได้แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมมาแล้ว ในระยะนี้จะทำการทดสอบว่าแนวทางที่ออกแบบไว้สามารถปฏิบัติได้จริงและสัมฤทธิ์ผลได้หรือไม่ อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว กลุ่มทดลองนำแนวทางและเครื่องมือที่โครงการออกแบบไว้ไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยระหว่าง 3 เดือนนี้จะมีนักวิจัยที่เป็นพยาบาลคอยให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แล้ววัดผลการเปลี่ยนแปลงว่าเด็กลดการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บลงอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 30 นาทีต่อวัน สำหรับกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ อย่างไรก็ดีโครงการวิจัยเก็บข้อมูลของกลุ่มควบคุมไว้เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง

 

แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ในกลุ่มทดลองระหว่าง 3 เดือน

เมื่อทำการทดลองแล้วเสร็จ ผลของค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการใช้สมาร์ทดีไวซ์เฉลี่ยต่อวัน ของเด็กที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองเชิงปฏิบัติการ (n=29) มีดังนี้

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการออกแบบ “ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม”

– จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกม ติดสมาร์ทโฟนในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย นักเขียนหนังสือเด็ก และครูปฐมวัย จำนวน 11 คน

– ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34

2) อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นผู้ปกครองที่ลูกติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่นักวิจัยพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 ครอบครัวใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มตามความยินยอมของอาสาสมัคร ได้เป็น กลุ่มทดลอง 17 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 13 ครอบครัว

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม – ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร และกำแพงเพชร จำนวน 34
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

รายการสื่อของโครงการที่เผยแพร่ผลงานวิจัยที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ ใช้เวลาสั้น กระชับ

VDO1:
แนะนำโครงการ “บทบาทของครอบครัวต่อการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กปฐมวัย”
VDO2:
ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO3:

แนะนำวิธีแก้ปัญหาเด็กเล็กติดสมาร์ทโฟน

VDO4:

เล่าประสบการณ์ลดเวลาเล่นมือถือลูกสาววัย 3 ขวบ

VDO5:

แชร์ประสบการณ์แก้ปัญหาลูกวัย 4 ขวบติดแท็บเล็ต

VDO6:

ลดเวลาเล่นมือถือของหลานชายจากเล่นทั้งวัน เหลือ 1-2 ชม.

Poster:

ร่างแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้ได้อย่างเหมาะสม

Infographic:

สถานการณ์การใช้สมาร์ทดีไวซ์ของเด็กไทยอายุ 2-5 ปี

Infographic:

วิธีการแก้ปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

คู่มือ:

จัดการปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะเป็นการช่วยยืนยันแนวทางในการปฏิบัติที่ได้จากการค้นหาคำตอบในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครอบครัวเด็กปฐมวัย ที่จะมีแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยติดสมาร์ทดีไวซ์ที่ครอบครัวสามารถปฏิบัติได้จริง

Web link https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/การใชสมารทดไวซในเดก?authuser=0
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา หมู่บ้าน 1-12 ต.เขาทอง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ในการปฏิบัติตน และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

2.เพื่อเป็นการให้กำลังใจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด และเศรษฐกิจ

3.เพื่อให้บุคลากรทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย ได้ใช้วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนนอกเวลาปฏิบัติงาน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2563- ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

รพสต.เขาทอง   อบต.เขาทอง

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน   วัดเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2.รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3.จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4.จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชาวบ้านทั่วไป ต.เขาทอง   ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid -19  ผู้ติดเชื้อ  ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า 500 คน  (รวมทุกกิจกรรม)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส covid-19 ทั้งการป้องกันตนเอง การกักตัว และการรับวัคซีน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.ชาวบ้านมีการเข้าถึงระบบการให้บริการสุขภาพได้ ทุกกลุ่มวัย

3.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งเศรษฐกิจ และการติดเชื้อโรคได้รับการช่วยเหลือ

4.บุคลากร นักศึกษา ได้ร่วมกันทำประโยชน์ให้ชุมชน

Web link  
รูปภาพประกอบ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์


จัดตั้งศูนย์พักคอย MUCI

SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 3 : Good health and well being
Goal 7 : Affordable and clean energy

 

สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ฤทธิรงค์ พันธ์ดี
ที่มาและความสำคัญ  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งเน้นถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรและนักศึกษา จึงมีนโยบายให้ส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเพื่อของการรับรองมาตรฐานศึกษาปลอดภัยภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินงานเพื่อตามนโยบายมหาวิทยาลัย ตามข้อกำหนดในการขอสถานศึกษาปลอดภัย โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ทุกโครงสร้างภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.   เพื่อให้พนักงานและนักศึกษาภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งภายในเวลาการทำงานและนอกเวลาการทำงาน

2.   เพื่อสร้างเจตคติและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีให้กับพนักงานองค์กร

3.   เพื่อส่งประกวดการรับรองมาตรฐานสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

– อบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ

– การตรวจวัดและประเมิน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม บุคลากรภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.    พนักงานและนักศึกษาภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งภายในเวลาการทำงานและนอกเวลาการทำงาน

2.   บุคลากรโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีเจตคติและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

Web link
รูปภาพประกอบ

การแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

 

กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยโดยผู้บริหาร

 

กำหนดแผนงานงบประมาณ

 

โครงการอบรมขับขี่ปลอดภัยวินัยจราจร 2564

 

โครงการอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมแผนอพยพ

 

โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

อบรมการทำงานในที่อับอากาศ (Confine Space)

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ พิชิต Office Syndrome and Ergonomics

 

โครงการการอบรมการทำงานบนที่สูง (Working at height)

 

การตรวจประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

การตรวจบริภัณฑ์ไฟฟ้า

 

การตรวจความปลอดภัย

SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ 6126001
2. นายชตฤณ ลาดแดง 6126005
3. นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ 6126007
4. นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ 6126009
5. นายดรัล รักธัญญะการ 6126012
6. นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา 6126022นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันกระแสการเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศมีเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียกร้องให้สร้างห้องน้ำสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของประเด็นความปลอดภัยและความจำเป็นสำหรับการจัดสร้างห้องน้ำดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมุมมองของคนทั่วไป ความเข้าใจรวมถึงเจตคติที่มีต่อการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะสามารถขับเคลื่อนการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ“สุขาของฉัน(All genders restroom)อยู่หนใด?”ขึ้นในครั้งนี้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันจันทร์ ที่ 9 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Webex โดยเป็นรูปแบบของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นหัวข้อวิธีการขับเคลื่อนในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All genders restroom) อยู่หนใด”กับเจ้าของความรู้ทั้งหมด 3 ท่านได้แก่

1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รักษาการแทนในตำแหน่งรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 149 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะอย่างเสมอภาค
Web link

https://youtu.be/u6YfOvQ-nl8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1146466679175192/?d=n

รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 5 : Gender equality
Goal 10 : Reduced inequalities

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นางสาว กนกอร รังศรี รหัสนักศึกษา 6126003
2. นางสาว ศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด รหัสนักศึกษา 6126010
3. นางสาว ซอฟียะห์ เจ๊ะหะ รหัสนักศึกษา 6126014
4. นางสาว สาธิดา ต๊ะคีรี รหัสนักศึกษา 6126020
5. นาย พิชิตชัย วงษา รหัสนักศึกษา 6126026
6. นางสาว มณีรัตน์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6127040นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ             ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ” ขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1) เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ)

2) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ พ.ศ. 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล และระดับมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ ทางโปรแกรม Zoom Application มีการดำเนินกิจกรรมกับเจ้าของความรู้ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิษณุกรณ์ กวยลี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3) คุณอภิญญา แก้วเทพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 88 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– องค์ความรู้เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”

– แนวทางในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ข้อที่ 6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล อย่างยั่งยืน

Web link

https://youtu.be/NHDmca0ceqg

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147181502437043/?d=n

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการพูดเรื่อง Sex อย่างไรให้กล้าเปิดใจ


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการพูดเรื่อง Sex อย่างไรให้กล้าเปิดใจ
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ

1.นาย ศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 6126011

2.นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ รหัสนักศึกษา 6126016

3.นางสาวอาวาติฟ ยานยา รหัสนักศึกษา 6126021

4.นางสาวพรรณวดี ระกุล รหัสนักศึกษา 6126023

5.นางสาวศิริพร ทองคำ รหัสนักศึกษา 6126026

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ เนื่องจากว่าปัจจุบันเด็กมีการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เร็วขึ้น และมีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้การได้รับความรู้ทางเพศศึกษาผิด ๆ บวกกับวัฒนธรรมไทยทำให้ไม่มีการกล้าพูดคุย หรือการสอนเรื่องเพศที่ละเอียดมากพอ ผู้จัดทำจึงต้องการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเทคนิคการพูดเรื่องเพศยังไงให้กล้าเปิดใจ ภายใต้ SDGs Sustainable Development Goal ทางคณะผู้จัดกิจกรรมได้เลือกเป้าหมายข้อที่ 3 จาก 17 ข้อ มาพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน เพื่อสร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ในประเด็นการสร้างสร้างหลักประกันถ้วนหน้า ในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเทคนิคการพูดเรื่องเพศอย่างไรให้กล้าเปิดใจ

2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการพูดเรื่องเพศอย่างไรให้กล้าเปิดใจ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันที่ 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ หน่วยงานสาธารณสุข, สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท, กองวิชาการแพทย์ กรมการเเพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทาง Webex และ Youtube live กับเจ้าของความรู้ 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิจิตรา บุญจิตร นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สังกัด กองวิชาการแพทย์ กรมการเเพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

3) คุณปนัดดา นามสอน นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักวิชาการสาธารณสุข บุคลากร นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  164 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ นำองค์ความรู้เรื่องวิธีการพูดเรื่องเพศศึกษาให้เป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีการสอนเรื่องเพศศึกษาแบบสนุกเข้าใจง่ายสามารถนำมาใช้ได้จริงมาประยุกต์ใช้ในการปรึกษาเรื่องเพศศึกษาแก่เด็กวัยรุ่น
Web link

https://www.youtube.com/watch?v=ckLna3EfJq8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147340709087789/?d=n

รูปภาพประกอบ
    
 
SDG goal Goal 3 : Good health and well being

 

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ระยะที่ 2
ผู้รับผิดชอบโครงการ รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์
ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในชื่อเดียวกัน

       นวัตกรรม อันเป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ปัจจัย กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ รวมถึงการมุ่งปรับการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญในโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในภาคเอกชน แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมช่วยพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น (Hudson and Sakkab, 2006 อ้างถึงใน O’Byrne & Others, 2014: 56) กระบวนการสร้างความร่วมมืออยู่บนฐานคุณค่าร่วม ที่ไม่ได้มุ่งเพียงกำไรของภาคเอกชนเท่านั้น (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2554) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสู่คุณค่า (Value driven innovation) หากเป็นคุณค่าที่เกิดจากการได้เสียสละทรัพยากรของตนเพื่อสร้างประโยชน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโลกที่นับวันยิ่งซับซ้อนมากขึ้น อันเป็นความคาดหวังสำคัญของ “นวัตกรรมสังคม (Social innovation)” จึงเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีลักษณะที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งคือ การประกอบการสังคมของผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ (ภาคที่ 1) แต่มาจากภาคธุรกิจ/เอกชน (ภาคที่ 2 ) หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (ภาคที่ 3) (วรรณา ประยุกต์วงศ์, 2559) ที่สำคัญคุณค่าอันเกิดจากการประกอบการในลักษณะดังกล่าวมีผลให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งสอดคล้องเข้ากับลักษณะความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าถึง ด้วยการยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำในวิถีชีวิต (อภิชัย พันธเสน, 2560)

นวัตกรรมภาครัฐมิได้มีเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการกล่าวถึงมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่มีการกระจายอำนาจสู่อปท. ช่วงปีพ.ศ. 2540-2547 อปท. หลายแห่งได้ริเริ่มนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงมีนโยบายส่งเสริมให้อปท. ได้สร้างนวัตกรรมท้องถิ่น โดยกำหนดให้นวัตกรรมท้องถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งในการพิจารณาได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากได้ศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นของ อปท. ดังกล่าว พบปัญหาข้อจำกัด เช่น ขาดความรู้ ขาดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และขาดความร่วมมือจากบุคลากรและผู้นำท้องที่ ตลอดจนจากประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (ตัวอย่างงานวิจัยเช่น มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์, 2559 หรือ ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560 เป็นต้น) ที่สำคัญ ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ อปท. ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรางวัลการบริหารจัดการที่ดี (นวัตกรรมท้องถิ่น) กลับเป็นกลุ่มอปท. ที่คล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในอปท. แท้จริงแล้วเป็นการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการประจำ บุคลากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำประชาชน และประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้จริง

การวิจัยในระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า อปท. สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการภายในองค์กร พัฒนาชุมชน ตามระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ อภิชัย พันธเสนและคณะได้จัดทำขึ้น ในระดับใด และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ในลักษณะใด มีปัจจัยนำเข้า และกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายอย่างไร ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างเฉพาะเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง แบ่งเป็น 3 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์คือ เทศบาลตำบลอุดมธัญญา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และองค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว และอีก 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานีคือ เทศบาลตำบลทัพทัน องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามประเด็นเนื้อหา ใช้การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า (Triangulation method) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. พบว่าเทศบาลตำบลทัพทันมีคะแนนสูงสุดคือ 272 คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีชีวิต ขณะที่อปท. ที่เหลืออยู่ได้รับการประเมินในระดับ “เข้าใจ” เป็นองค์กรแห่งความสุข คือสามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับวิถีคิด ยกเว้น อบต. ห้วยคตมีคะแนนต่ำสุดคือ 193 คะแนน อยู่ในระดับ “ไม่เข้าข่าย” คือยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร โดยเทศบาลตำบลทัพทันและอบต. เขาดิน มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะและสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการต่อยอด/สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ส่วนอบต. ประดู่ยืน และเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ที่เป็นอปท. อยู่ในระดับเข้าใจ มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นโครงการ นวัตกรรมทั้งหมดมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือทำซ้ำ โดยได้รับแนวปฏิบัติจากพื้นที่อื่น แต่มีการนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมแบบส่วนเพิ่มหรือค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพบว่า คะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานตำบลเรื่องที่ดินในเขตปฏิรูปการเกษตร (สปก.) และข้อมูลลักษณะองค์กร เรื่องส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พบว่าอปท. ที่มีที่ดินในเขต สปก. และ/หรือมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสูง มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงน้อย ขณะที่อปท. มีคะแนนระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงสูงมีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจำนวนมาก

นายกของอปท. ทั้ง 4 แห่งมีความชัดเจนในเรื่องภาวะผู้นำ ในเรื่องการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และมีความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กแล้วค่อยพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร ที่สำคัญยังสามารถสร้างความร่วมมือกับข้าราชการประจำ ระหว่างผู้นำท้องที่ คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารยังมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก

แม้ว่างานวิจัยในระยะที่ 1 เป็นเพียงการวิจัยในลักษณะถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาข้างต้นช่วยทำให้ภาพความเข้าใจเริ่มชัดเจนว่า นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในอปท. ที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “เข้าใจ” คือสามารถทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (อภิชัย พันธเสน, 2560) การวิจัยครั้งต่อไปจึงเป็นการทำซ้ำ คือยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เดิม และขยายพื้นที่ เพื่อภาพความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถครอบคลุมความจริงในมิติอันหลากหลายขององค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ, และฐิติพร พันธเสน, 2547) จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาของการวิจัยที่สามารถสะท้อนความจริงบนมิติอันหลากหลายของเศรษฐกิจพอเพียง ดังมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ที่สำคัญ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ความรู้ใหม่ของอปท. การวิจัยในระยะที่ 2 จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเชิงลึกขององค์ความรู้เรื่องนี้ ทั้งในเรื่องภาวะผู้นำที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะนายกอปท. หากต้องประกอบด้วยข้าราชการประจำและบุคลากรในองค์กร ความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ อันช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนำ/สร้างนวัตกรรม ในโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ยังเป็นนโยบายที่กว้าง แต่ขาดรายละเอียดโดยเฉพาะแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรม (พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, 2560) และช่วยทำให้แนวการเตรียมความพร้อมและการสร้างนวัตกรรม ฯ ในอปท. มีความเข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และสามารถนำเสนอสู่นโยบายการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมฯ ใน อปท. ได้ต่อไป

 

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 18 แห่ง ได้แก่อปท. กรณีศึกษาเดิมจากการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 แห่ง และอปท. กรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระยะที่ 2 นี้ จำนวน 12 ในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และชัยนาท จังหวัดละ 3 แห่ง
วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการภายในองค์กร จากการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามที่ อภิชัย พันธเสน และคณะ จัดทำขึ้น

2) เพื่อศึกษานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอปท. และความสัมพันธ์กับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะนวัตกรรมที่ผู้นำ/บริหารของอปท. ได้นำความรู้จากหลักสูตรข้อ 3) ไปสร้างขึ้น ตลอดจนปัจจัย เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำความรู้ไปใช้

5) เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมการนำความรู้ไปใช้นำสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุน (การวิจัยระยะที่ 3)

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม พ.ศ. 2562
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล จังหวั และระดับประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยระยะที่ 2 มีการดำเนินงานการวิจัย คือ

-การประชุมรับฟังความเห็นจากการวิจัยระยะที่ 1 ของทุกภูมิภาค เพื่อปรับตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อภิชัย พันธเสน และคณะที่จัดทำขึ้น ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละภูมิภาค และประชุมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง

-การจัดทำรายละเอียดหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร ของอปท. และผู้นำท้องที่ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-การเก็บข้อมูลพื้นฐานตำบลและประวัติศาสตร์ชุมชนจากผู้นำชุมชน

-การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริหารของอปท. จำนวน 4 ครั้ง ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของอปท.

-การร่วมสังเกตการณ์การนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ฯ และกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-การเข้าร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนอปท.

-การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

-การจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับอปท. และการจัดการความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมที่ผ่านมา

-การสังเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดในการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 228 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายอปท. ที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

-แนวทางการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปริญญาโท

-อปท. มีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสนอขอต่อแหล่งทุนต่าง ๆ

-อปท. ต้นแบบการการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

-การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยแนวคิดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

Web link

Facebook page : https://www.facebook.com/nkslab

Website : https://na.mahidol.ac.th/master/index.php/learningexample/

SEP Action : https://www.sepaction.com/platform/index.php/pages/8/

Youtube channel : https://www.youtube.com/channel/UCOEJYdBBT3EfFEnO5BrkZDQ

รูปภาพประกอบ
  
SDGs goal

Goal 1 : No poverty​
Goal 2 : Zero hunger
Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 5 : Gender equality
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 8 : Decent work and economic growth
Goal 9 : Industry, innovation and infrastructure
Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 11 : Sustainable cities and communities​
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals