MU-SDGs Case Study* |
โครงการเจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา |
|||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นายศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
|||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในพื้นที่ชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และคนในชุมชนมีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจลแอลกอฮอล์ (Hand Sanitizer) ซึ่งถือได้ว่าการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ดี แต่พบว่าเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นสินค้าขาดตลาดทำให้หาซื้อในชุมชนได้ค่อนข้างยากและมีราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมา
ดังนั้น นายศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม ร้านคลองท่อมเภสัช ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “เจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา” ณ ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลผ่านการให้ความรู้ รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ด้วยการให้กำลังใจ คลายความกังวลเรื่องการป้องกันตนเองในสถานการณ์การแพร่ระบาด และร่วมกันผลิตเจลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดจากใบขลู่ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของชุมชน โดยเจลแอลกอฮอล์ดังกล่าวนั้นจะลดการระคายเคืองและช่วยถนอมผิวของผู้ใช้ อีกทั้งคนในชุมชนยังสามารถผลิตเจลแอลกอฮอล์ใช้ได้เองและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
|||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.8 |
|||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
– |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
– |
|||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1285293418625850/?d=n |
|||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
|||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 2. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 3. คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 4. ร้านคลองท่อมเภสัช อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 5. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 6. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ |
|||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
|||||||||
Key Message* |
การลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และร่วมกันผลิตเจลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดจากใบขลู่ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
|||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2 |