MU-SDGs Case Study*

โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs (Non-Communicable diseases) ซึ่งพวกเขามักจะรับประทานยาไม่ถูกต้องและมักจะลืมรับประทานยาอยู่บ่อยครั้ง มีการจัดเก็บยาหมดอายุปะปนกับยาที่ได้รับในแต่ละเดือน ยาบางชนิดรับประทานหมดก่อนเวลานัด หรือรับประทานผิดเวลา ผู้ดูแลไม่มีเวลาจัดยาให้ผู้ป่วย และผู้ป่วยจัดยารับประทานยาเองไม่ถูกต้อง เพราะมีข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา

 

ดังนั้น นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน” ณ ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการทำกระเป๋ายาสำหรับผู้ป่วย NCDs สูงอายุที่อ่านไม่ออก ซึ่งนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงอาหารสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาตัดเย็บเป็นกระเป๋ายาดังกล่าว นอกจากนี้นักศึกษาและ อสม. ได้ช่วยจัดยาให้กลุ่มผู้ป่วยลงในซองยาใหม่ที่ใช้ภาพของช่วงเวลาแทนตัวหนังสือ พร้อมทั้งให้กลุ่มผู้ป่วยฝึกท่องจำรูปภาพด้วยข้อความที่คล้องจองกันว่า “ตอนเช้าไก่ขัน กลางวันเที่ยงตรง ยามเย็นพระอาทิตย์ตก ก่อนนอนมีพระจันทร์” ส่งผลให้พวกเขาสามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290650491423476/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

2. กลุ่มเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วย NCDs ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน สามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลาด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการประดิษฐ์นวัตกรรมนวัตกรรมกระเป๋ายาที่ใช้ง่ายและเหมาะกับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2