MU-SDGs Case Study* | การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | อาจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย โพธิ์สัย | ส่วนงานร่วม | สาขาภาษาต่างประเทศ | ||||
เนื้อหา* | 1. บทนำ ในปัจจุบันสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หน่วยงานภาครัฐนำโดยนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายการกระจายโอกาสในเชิงรายได้จากการท่องเที่ยวลงสู่เศรษฐกิจฐานรากด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวให้กับชุมชน และมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด (Less visited area) และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงภูมิวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนชาวอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ความจำเป็นในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อระหว่างบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องมีทักษะการใช้ภาษาและทักษะการสื่อสารมีประสิทธิภาพและสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้เดินทางมาเที่ยวจากทั่วโลก การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (international language) และเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติเป็นจุดขายหลักโดยสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทการทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสำหรับวิธีการใช้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยคนในท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้โครงการนี้จะช่วยยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างรายได้ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี ให้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวนโยบายของรัฐบาลยุคปัจจุบันที่มุ่งให้คนไทยและชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรองเพื่อสร้างรายได้และผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 3. วิธีการดำเนินการ 4.ผลผลิตและผลลัพธ์โดยสรุป | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.3, 4.5, 4.7 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 11,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.4, 11.6, 11.8 17.4.3 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://na.mahidol.ac.th/th/EnglishforEco | ||||||
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255554 | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | “ยกระดับการท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นจุดขายหลักโดยการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยคนในท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน” | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.3.4 |
Tag: ปี 2565
ปี 2565
โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) เพิ่มเติม เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น (https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1344113766077148/?d=n) ทางผู้บริหารสถานศึกษานั้นมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศเพิ่มเติมไปยังอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ บริเวณชั้น 1 จำนวน 2 ห้อง และ บริเวณชั้น 2 จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 ห้อง ซึ่งห้องน้ำทั้ง 4 ห้องนี้ ถือเป็นห้องนำเสนอภาคที่ไม่กีดกัน และเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรือ มีความบกพร่องทางร่างกายหรือไม่ ก็สามารถใช้ห้องน้ำแห่งนี้ได้อย่างเสมอภาค ทั้งนี้ ทางโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตต่อไปในอนาคต | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0HYVSR3Uoh8ej68oLTu5bjmxQaYFPyFQ9sK1K8L3LMM7L5obDsT6sgnBAovw6YLfel/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6, 10.6.7, 10.6.9 |
10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด
MU-SDGs Case Study* | 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด | ||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร |
ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ น.ส.พินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นายยุทธิชัย โฮ้ไทย |
ส่วนงานร่วม | – | ||||||
เนื้อหา* |
กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 : ระยะการเรียนรู้ (พ.ศ.2556-2557) ช่วงแรกเป็นศึกษาและการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบึงบอระเพ็ด และรวบรวมงานชื่อเรื่องวิจัยที่เคยทำการศึกษาในบึงบอระเพ็ดจำนวน 222 เรื่อง ขึ้นระบบออนไลน์ของหน่วยงาน เพื่อบริการให้กับผู้ที่สนใจในการสืบค้นข้อมูลไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ ต่อมาวิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนร่วมกับคณาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้เรียนรู้ในการฝึกทักษะทางวิชาการและการลงพื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งผลให้เข้าใจบริบทของบึงบอระเพ็ดในภาพรวมได้ ผลที่ได้ระยะที่ 1 ทำให้เวบไซด์ของวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลบึงบอระเพ็ดและฐานงานวิจัย ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาศึกษาและค้นหาข้อมูลได้ 2) ระยะที่ 2 : ระยะสร้างเครือข่าย (พ.ศ.2558-2562) วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนเครือข่ายที่รู้จักในระยะแรก ด้วยการสอบถามสภาพปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับชุมชนและภาครัฐในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการจัดประชุมวิชาการชาวบ้านเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาจึงพาเจ้าหน้าที่วิทยาเขตนครสวรรค์ไปพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออธิบายสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อมาข้อสั่งการให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งการทำแผนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาบนฐานของความจริง ทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติรับไปพิจารณาและนำเสนอให้รัฐบาลต่อไป ผลกระทบจาการงานส่งผลให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนการ จัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดของสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ และการจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเร่งด่วนระยะ 3 ปี จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท ส่วนงานด้านการวิจัยได้มีการศึกษาในสิ่งที่เป็นช่องว่าง (Gap) ที่ต้องการหาคำตอบ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ศึกษาความลึกของบึงบอระเพ็ดและการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำ และนำงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป ผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกภาคส่วนพูดคุยกันมากขึ้นและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ผลที่ได้ระยะที่ 2 ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน เนื่องจากได้มีการนำเสนอข้อมูลสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย จนได้โครงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวิจัยที่ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ได้อีกด้วย 3) ระยะที่ 3 : ระยะการจัดการเครือข่าย (พ.ศ.2563-2565) เครือข่ายบึงบอระเพ็ดมีการจัดการร่วมกันในการแบ่งปันข้อมูล การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลวิชาการ และข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การรักษาระดับน้ำบนฐานข้อมูลวิชาการ เป็นต้น ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญเป็นการจัดประชุมวิชาการบึงบอระเพ็ด (จัดโดยจังหวัดนครสวรรค์) โดยมีวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นทีมเลขานุการ เพื่อเรียนรู้และทบทวนแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ด มีแผนงานที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (BCG และ SDGs) ส่วนการวิจัยได้มีการร่วมกันกับภาครัฐและประชาชนเสนอโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและสร้างกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ในการนี้เครือข่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นปัญญาของแผ่นดิน และเป็นที่พึ่งให้กับคนในพื้นที่ ผลที่ได้ระยะที่ 3 ได้เกิดการรวบกลุ่มของคนในชุมชนจดทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน 5 ตำบล และมีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย |
||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b | ||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDG 12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2, 17.1 | ||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.youtube.com/watch?v=C2VVypCijK4 | ||||||||
https://drive.google.com/file/d/1dQgQDgLfrf2PoxGayl_RxjVq5i01iCnl/view?usp=sharing | |||||||||
– | |||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||
Partners/Stakeholders* |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด, ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ), โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน), ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง),สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์,ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, องค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ด, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด |
||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
MU-SDGs Case Study* | โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.ศศิมา วรหาญ | ส่วนงานหลัก* | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง | ||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||
เนื้อหา* | 1. บทนำ 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารด้านสารเคมีและจุลินทรีย์บ่งชี้ความสกปรกของอาหารและน้ำปนเปื้อน ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ใน ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3. เพื่อฝึกนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ให้มีทักษะการตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร และการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีและจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร และรู้หลักการจัดการด้านอาหารปลอดภัย 3. วิธีการดำเนินการ 1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อจัดทำโครงการ ร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย ทราบกิจกรรมของโครงการ 3. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร น้ำและน้ำแข็ง ด้านเคมี ได้แก่ สารบอแรกซ์, กรดซาลิไซลิก, โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ฟอร์มาลิน สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และสารกำจัดแมลงตกค้าง และตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร ได้แก่ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยใช้ชุดตรวจอย่างง่าย 4. จัดทำรายงานผลตรวจสิ่งปนเปื้อนด้านเคมีและจุลินทรีย์ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง และคืนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย โดยนักศึกษาจะจัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้ผลกระทบด้านสุขภาพและแนะนำวิธีการจัดการอาหารเพื่อลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย 5. รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการระหว่างลงพื้นที่ และสรุปผลการดำเนินงาน 4. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชนได้เฝ้าระวังและทราบ สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนต่อเนื่องกันทุกปี 2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอยในชุมชนเขาทองทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตน จำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุดิบอาหาร 3. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ได้ฝึกทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและทักษะการเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนทางเคมีและด้านจุลินทรีย์ (โคลิฟอร์ม) รวมถึงการแจ้งผลตรวจและให้ความรู้ผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งที่ตรวจพบ และให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น 5. ผลกระทบ การร่วมมือระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชน ในการลงพื้นที่ตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหารและน้ำตามร้านอาหารและแผงลอย ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี 5 เดือน ทำให้ทราบสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนเขาทองเพื่อการเฝ้าระวังให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนได้ทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตนจำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปลูกจิตสำนึกด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการรับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการ ในปีถัดไปจึงยินดีให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหาร อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้บริโภคทั้งที่อาศัยในชุมชนและผู้มาเยือนมีความมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยในการใช้บริการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนเขาทองมากขึ้น ลดโอกาสการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากอาหารและน้ำได้ ทำให้ระบบความปลอดภัยด้านอาหารเกิดขึ้นในชุมชน เป็นการสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง | ||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.1, 3.3.1, 3.3.2 | ||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดินให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2573 | ||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | ผู้จัดการออนไลน์ 20-5-65 https://mgronline.com/science/detail/9650000048094 | ||||||||||||
LINE TODAY 19-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/KwWZ63r?utm_source=copyshare | |||||||||||||
LINE TODAY 20-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/YaEl8pa?utm_source=copyshare | |||||||||||||
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 17-5-65 | |||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง 4. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||
Key Message* | “ความเข้มแข็งด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ยั่งยืน เกิดจากพื้นฐานความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน ที่เกิดจากความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยในพื้นที่” | ||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.1, 3.3.1, 3.3.2 |
โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ | ส่วนงานร่วม | 1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ | ||||||||||
เนื้อหา* | สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนแรง และเกิดสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ร่วมกับโอกาสในการติดเชื้อจากญาติหรือผู้ดูแลที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง อวัยวะภายในร่างกายอาจถูกทำลาย และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมถึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกต้อง อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และการขาดความตระหนักในการปฏิบัติ พฤติกรรรมการปฏิบัติตัวที่บ้าน ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ การส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ ได้นั้นต้องพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ 3) ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการสุขภาพ และสามารถนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นยอมรับและเข้าใจ 4) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพก่อนตัดสินใจเชื่อหรือปฏิบัติตาม 5) ทักษะการตัดสินใจในการเลือกข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และ 6) ทักษะการจัดการตนเองโดยสามารถนำข้อมูลสุขภาพที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ที่จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับปฏิสัมพันธ์ และ 3) ระดับวิจารณญาณ โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และผู้สูงอายุ การให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และอสม. และการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และอสม.ในการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กิจกรรมพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพโดยสอนการเลือกสื่อ แหล่งความรู้จากหลายช่องทาง รวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต สอนสาธิตการใช้แอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ให้ลงมือปฏิบัติโดยมีพี่เลี้ยง การใช้เกมส์บัตรคำ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว กิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เทคนิค 1 คำถามในการจัดการตนเอง พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการตัดสินใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลือกใช้สื่อ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น การสนทนาเพื่อการสะท้อนคิด (Reflecting conversation) การสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันฯ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลที่ได้รับคือ ทั้งผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์มีความรู้ และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโครงการ และมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ระดับมากที่สุด จากการติดตามผลหลังการทำกิจกรรม พบว่า สามารถนำกิจกรรมที่ทำไปใช้ได้จริงถ้าอายุไม่มากกว่า 70 ปี มีการกระตุ้นความรู้และการใช้โทรศัพท์ในการค้นหาข้อมูลโดยชมรมผู้สูงอายุ และอสม. | ||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3, 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.1, 3.2, 3.3 17.4.3 | ||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.moph.go.th/ | ||||||||||||
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mor.promplus&hl=th&gl=US | |||||||||||||
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ktb.thaichana.prod&hl=th&gl=US | |||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||
Key Message* | ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และสายพันธุ์ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี | ||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.1.7, 3.3.1 |
โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.เบญจพร พุดซา | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” โดย อ.เบญจพร พุดซา ได้ร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเนื้อหาในการพูดคุยนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชา นวสธ 103 การเมืองกับสุขภาพ (Politics and Health) และ นวสธ 215 ประชากรกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Population and health Effects) รวมไปถึงประเด็น เรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการพูดถึงแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ไปยังพื้นที่อื่นอย่างครอบคลุม อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แนวทางในการขยายพื้นที่ต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0N1D8HAStzuK8dSH8imcxSnSfSz2xjiBuzA9AMwRiGLKMMyvKjNU9D3UkWGN3ick8l/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||
https://youtu.be/zXoJASchgbU | |||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 4.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |
โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) | ||||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่4 | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||||||||||||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 16.30 – 17.30 น. ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” และร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศที่ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม | ||||||||||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||||||||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||||||||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0FLPQx5Y4sazDE3TQRS7j3p1y8JPcFYWGGehxZVPQitWdR1dFuuWrosyZazSzjxfzl/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||||||||||||||||||||||
https://youtu.be/zXoJASchgbU | |||||||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||||||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan | ||||||||||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||||||||||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |
โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* |
โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) |
||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 2 และ 4 |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||||||||||||||||||
เนื้อหา* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ที่มีใจความสำคัญว่านักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษาตามอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพหรือเพศสภาวะที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ ซึ่งรวมถึงการแต่งกายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีรับอนุปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรด้วย แต่กลับพบปัญหาว่านักศึกษาที่แต่งตัวตามอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำในสถานศึกษานั้นมีเพียงห้องน้ำสำหรับเพศชาย และเพศหญิงเท่านั้น ดังนั้น เมื่อนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้เรียนในรายวิชา NWNW 322 การจัดการความรู้เบื้องต้น (Fundamental of Knowledge Management) จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All-Gender Restroom) อยู่หนใด” เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 หลังจากกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษาในการผลักดันให้เกิดห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น โดยผู้บริหารมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคน โดยทางวิทยาเขตจะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตในอนาคตต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 10 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
10.2 |
||||||||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 3,4 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
3.4, 3.d, 4.7, 4.a |
||||||||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid02MYfqMTWQ8fXuTdw4qfjfuKjRLRhmwE6Xk9AfMTmFqiBGK5V9cioUDhvz96ZAh9KQl/?d=n&mibextid=wxGVb6 |
||||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 |
||||||||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* |
นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||||||||||||||||||
Key Message* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน |
||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |
โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน
MU-SDGs Case Study* | โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน | ||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs (Non-Communicable diseases) ซึ่งพวกเขามักจะรับประทานยาไม่ถูกต้องและมักจะลืมรับประทานยาอยู่บ่อยครั้ง มีการจัดเก็บยาหมดอายุปะปนกับยาที่ได้รับในแต่ละเดือน ยาบางชนิดรับประทานหมดก่อนเวลานัด หรือรับประทานผิดเวลา ผู้ดูแลไม่มีเวลาจัดยาให้ผู้ป่วย และผู้ป่วยจัดยารับประทานยาเองไม่ถูกต้อง เพราะมีข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา
ดังนั้น นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน” ณ ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการทำกระเป๋ายาสำหรับผู้ป่วย NCDs สูงอายุที่อ่านไม่ออก ซึ่งนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงอาหารสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาตัดเย็บเป็นกระเป๋ายาดังกล่าว นอกจากนี้นักศึกษาและ อสม. ได้ช่วยจัดยาให้กลุ่มผู้ป่วยลงในซองยาใหม่ที่ใช้ภาพของช่วงเวลาแทนตัวหนังสือ พร้อมทั้งให้กลุ่มผู้ป่วยฝึกท่องจำรูปภาพด้วยข้อความที่คล้องจองกันว่า “ตอนเช้าไก่ขัน กลางวันเที่ยงตรง ยามเย็นพระอาทิตย์ตก ก่อนนอนมีพระจันทร์” ส่งผลให้พวกเขาสามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.5 | ||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290650491423476/?d=n | ||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. กลุ่มเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ | ||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วย NCDs ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน สามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลาด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการประดิษฐ์นวัตกรรมนวัตกรรมกระเป๋ายาที่ใช้ง่ายและเหมาะกับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2 |
โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า
MU-SDGs Case Study* | โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานโดยมักจะมีอาการชาบริเวณปลายเท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุมักจะลืมรับประทานยา อีกทั้งผู้สูงอายุเองยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้า ขาดข้อมูลและขาดกำลังใจในการดูแลตนเอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา
ดังนั้น นายพิชิตชัย วงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการปฏิทินคู่ซี้กับบัดดี้คู่เท้า” ณ ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยไปกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุได้ใช้ปฏิทินยาเพื่อลดการลืมรับประทานยา ทำให้พวกเขาสามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำอุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) ที่ไม่ใช้แล้ว และถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ทำให้พวกเขามีอาการชาลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.5 | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290643694757489/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยลดอาการชาบริเวณปลายเท้าให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2 |