MU-SDGs Case Study*

การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
Development of English Communicative Innovation for Eco-Cultural Tourism Staff in the Highland People Development Area Uthai Thani Province

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา 

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อาจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย โพธิ์สัย

ส่วนงานร่วม

สาขาภาษาต่างประเทศ
คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เนื้อหา*

1. บทนำ

ในปัจจุบันสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หน่วยงานภาครัฐนำโดยนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายการกระจายโอกาสในเชิงรายได้จากการท่องเที่ยวลงสู่เศรษฐกิจฐานรากด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวให้กับชุมชน และมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด (Less visited area) และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงภูมิวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนชาวอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ความจำเป็นในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อระหว่างบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องมีทักษะการใช้ภาษาและทักษะการสื่อสารมีประสิทธิภาพและสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้เดินทางมาเที่ยวจากทั่วโลก การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (international language) และเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติเป็นจุดขายหลักโดยสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทการทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสำหรับวิธีการใช้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยคนในท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้โครงการนี้จะช่วยยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างรายได้ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี ให้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวนโยบายของรัฐบาลยุคปัจจุบันที่มุ่งให้คนไทยและชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรองเพื่อสร้างรายได้และผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนต่อไป

2. วัตถุประสงค์

1) เพื่อสังเคราะห์ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
3) เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อบุคลากรผู้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี

3. วิธีการดำเนินการ
โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี มีขอบเขตด้านเนื้อหาดังนี้
1) แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเป็นการสำรวจความต้องการของบุคลากรผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ในตำบลทองหลางอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี เป็นข้อมูลพื้นฐาน
2) แบบทดสอบวัดความรู้และความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การใช้นวัตถกรรมที่สร้างขึ้น
3) นวัตถกรรมที่เป็นบทเรียนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จำนวน 6 บทเรียน โดยเป็นนวัตกรรมที่สร้างเป็นบทเรียน เน้นทักษะการฟังและพูดเพื่อการสื่อสาร โดยคำนึงถึงสถานการณ์ และความต้องการของบุคลากรผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมในขณะที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว จากนั้นคณะผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหาของบทเรียน วิธีการและกิจกรรมการสอนโดยใช้หลักการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes ) โดยจำลองจากสถานการณ์จริงรวมทั้งสื่อการสอนจากเอกสารการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้จากสถานการณ์จริง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อบุคลากรผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมผู้ใช้นวัตถกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ

4.ผลผลิตและผลลัพธ์โดยสรุป
การวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพบว่าแบบ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์การใช้นวตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม พบว่าการใช้หลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษ 15 ชั่วโมงสำหรับบุคลากรด้านการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมในจังหวัดอุทัยธานี เหมาะสมกับการท่องเที่ยวที่เป็นลักษณะเฉพาะมีความเป็นพิเศษและเป็นการท่องเที่ยวที่อิงอาศัยธรรมชาติ ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้มากขึ้น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.3, 4.5, 4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 11,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

11.4, 11.6, 11.8 

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://na.mahidol.ac.th/th/EnglishforEco

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255554

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 4

Partners/Stakeholders*

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ศูนย์พัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
สถาบันธรรมชาติพัฒนา

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
  

Key Message*

“ยกระดับการท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นจุดขายหลักโดยการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยคนในท้องถิ่นเพื่อสร้างอนาคตของการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

4.3.4