MU-SDGs Case Study* | การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | ส่วนงานร่วม | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเนินขี้เหล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว | |
เนื้อหา* | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเสริมศักยภาพชุมชนจำนวน 9 ตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลเขาทอง ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ตำบลเขากะลา ตำบลเนินมะกอก ตำบลสระแก้ว ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลยางขาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และตำบลเก้าเลี้ยว โดยมีการจ้างงานของคนในพื้นที่ประเภทบัณฑิต 46 คน และประชาชน 46 คน รวมทั้งหมด 86 คน เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการเสริมศักยภาพชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1) ตำบลเขาทอง เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงวัว จึงประสบปัญหามีปริมาณขยะในชุมชนและมีมูลวัวจำนวนมาก จึงเล็งเห็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับมูลวัว และการจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน โครงการจึงเข้ามาอบรมประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ปราชญ์ดินดี อินทรีย์โบกาฉิ” และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของประชาชนในหมู่ 9 ตำบลเขาทอง ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งมีการทำเป็นโครงการธนาคารขยะ เพื่อรับซื้อขยะภายในกลุ่มสมาชิกและบุคคลภายนอก (ตามข้อตกลงกลุ่ม) มีการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงอื่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ขยะเขาทอง ขายออมเป็นเงิน” โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์ปราชญ์ดินดีอินทรีย์โบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,500 บาทต่อเดือน – การจัดการขยะในชุมชน ด้วยการลดขยะ รับซื้อขยะในชุมชนสามารถเก็บเป็นเงินออม และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 30 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งหมด 2,740 บาทต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 992.25 บาทต่อเดือน 2) ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็นตำบลที่มีเกษตรกรที่เลี้ยงแพะและเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมูลแพะและมูลวัวที่ปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จึงเห็นโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับมูลแพะและมูลวัว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมกระบวนการหมักปุ๋ยแบบแห้งและใช้ระยะเวลาสั้น ที่เรียกว่าปุ๋ย “โบกาฉิ” เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลแพะ ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคม G.E. เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,250 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคมโบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,550 บาทต่อเดือน 3) ตำบลเขากะลา เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวด้วยการปลูกอ้อย โดยในพื้นที่มีไร่ประพันธ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านในตำบลเขากะลามีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากการปลูกอ้อยขายสู่การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัยและไวน์อ้อย ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – Rebranding น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัย เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน – ผลิตไวน์อ้อย (Sugarcane Wine) เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,426 บาทต่อเดือน 4) ตำบลเนินมะกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ประชาชนประสบปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาให้ความรู้กับชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมความรู้เชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยตามความต้องการของชนิดพืช การทำธุรกิจด้วย แผนธุรกิจแคนวาส การตั้งราคาสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยชุมชนมีการเปิดเพจทั้งบนแพล็ตฟอร์ม Facebook และ TIKTOK เพื่อให้กุล่มลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย จากการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการข้างต้น เกิดผลผลิต 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำตราประดู่ทอง และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดตราประดู่ทอง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ชุมชนตำบลเนินมะกอกมีการเปิดบัญชี เพื่อนำเงินรายได้สะสมเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโดยคนในชุมชนที่ผ่านการอบรมในโครงการ U2T ต่อไป 5) ตำบลสระแก้ว มีความโดดเด่นในด้านการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งวัดสระแก้วและชุมชนได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้กับญาติโยมในการไปใช้ประโยชน์ต่อ ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG C&T OIL สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,800 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ชีวภัณฑ์สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ม้าฮ้อสระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 บาทต่อเดือน 6) ตำบลเนินขี้เหล็ก เป็นชุมชนชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรมหลากหลายชนิด เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนมีรายได้ที่ลดลง ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปสนับสนุนในด้านการลดต้นทุนการผลิตและสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ได้แก่ ปุ๋ยน้ำ CAN Grow Up และน้ำผึ้งสมุนไพร ได้สร้างเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 3,500 บาทต่อเดือน 7) ตำบลยางขาว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางขาว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ และพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท และคลินิกดิน ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำออลดี-พลัส (AllDee-Plus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำที่รวมธาตุอาหารเสริมที่ดีสำหรับพืชไว้ทั้งหมด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดออลดี-โกรว์ (AllDee-Grow) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดที่ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงามขึ้น จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ – คลินิคดิน เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินรายแปลง รวดเร็วทันใจรู้ผลใน 30 นาที จำนวน 1 การบริการ ผลิตภัณฑ์น้ำและปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายได้ในระหว่างโครงการ คิดเป็นยอดเงิน 38,670 บาท หารายได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินในระหว่างโครงการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท มีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการประมาณ 150 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดินปุ๋ยให้กับเกษตรกร ทั้งสิ้น 50 คน มีหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุน 5 หน่วยงาน 1 วิสาหกิจชุมชน 8) ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นชุมชนชนบทที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย ทั้งนาข้าวและพืชไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามีหนุนเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็นปลูกผักปลอดภัยและการจัดการขยะในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – กิจกรรม “รักษ์ผักปลอดสาร” มีผู้เข้าร่วม 18 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,152 บาทต่อเดือน – กิจกรรม “ขยะ 3 ดี สู่ชุมชน” ได้หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนต้นแบบ และได้อาสาสมัคร จำนวน 40 ครอบครัว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,059 บาทต่อเดือน 9) ตำบลเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำปิง ทำให้เป็นแหล่งปลูกพืชสวนและไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฝรั่งที่มีเกษตรกรปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการส่งขายสู่ตลาดในรูปแบบของการขายปลีกและขายส่ง ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมในการลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมักและยกระดับสินค้า โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – กิจกรรม “ฝรั่งเก้าเลี้ยว ก้าวไกล” โดยใช้แบรนด์ “ฝรั่งเก้าคุ้ง ตำบลเก้าเลี้ยว” เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำหมักเลี้ยว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG1 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 1.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2,8,12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3,8.2,12.2,12.3,12.4,17.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://op.mahidol.ac.th/ga/author-96/ | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 ตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ตำบล ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 9 ตำบล ไร่ประพันธ์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ตำบลเขาทอง
| ||
Key Message* | การจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน, การยกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์, การออกตลาด | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.4.1, 1.4.4 |