MU-SDGs Case Study*

ผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
ภายใต้โครงการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)”

ผู้ดำเนินการหลัก*

ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

ผู้ดำเนินการร่วม

ศศิธร มารัตน์

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

เนื้อหา*

          งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย  ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี
ผู้สูงอายุจะออกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองเป็นประจำทุกๆวันพุธ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในแต่ละครั้ง
จะประกอบไปด้วยเรื่องของการให้ความรู้และเพิ่มทักษะต่างๆของผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ร่วมร้องรำทำเพลงและ
รับประทานอาหารร่วมกันก่อนกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)
งานผู้สูงอายุฯจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าวลง ในสถานการณ์เช่นนี้ งานผู้สูงอายุฯจะมีบทบาทอย่างไรในการลดความตึงเครียด
คลายความเหงา และส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุในชุมชน สื่อชนิดใดเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างงานผู้สูงอายุฯ
กับผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เราคุ้นชินในชนบทที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุนั่นคือ “วิทยุ”
แทนที่จะใช้สื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้เพราะในสังคมชนบทนั้น ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมิเดียต่างๆ
ได้ ด้วยข้อจำกัดที่ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟน แต่วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อยุคก่อนกลับเป็นสื่อที่เข้าถึงได้จริงสำหรับผู้สูงอายุในสังคมชนบท 
จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย
ของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน ปัจจุบันยังคงจัดทำโครงการภายใต้ รายการวิทยุ “เสียงสร้างสุข(ภาพ) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (พ.ศ.2566)

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา  ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว
ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล ต.พระนอน ต.ยางตาล

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย

ปีที่จัด 2566  ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนกันยายน 2565 – สิงหาคม 2566

ระดับความร่วมมือ  ระดับชุมชน ระดับตำบล

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

          เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและ
ความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้รูปแบบทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change Theory)
โดยศึกษาลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม
(educative supportive nursing system) เป็นกรอบแนวคิดในการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชน โดยที่โอเร็ม
มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการดูแลตนเองเพื่อให้ตนเองมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ร่วมกับการทบทวน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิด ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย
บนแนวคิดที่ว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนFM 94.25 MHz. สามารถเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้

หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย
1) การให้ความรู้ทฤษฎีด้านผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง การป้องกันโรคแทรกซ้อน การรับประทานยา และการออกกำลังกาย
2) การสนับสนุนทั้งด้านร่างกายจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง
3) การชี้แนะ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเรียนรู้ การให้ทางเลือกในการดูแลตนเอง
4) การปฏิบัติจริง นำออกกำลังกายผ่านการออกอากาศทางวิทยุชุมชน เปิดช่วงถามตอบข้อสงสัย
ด้านสุขภาพเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันผ่านวิทยุชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย   ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz  จำนวน 5 ตำบล
คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล  ต.พระนอน ต.ยางตาล

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  รวมทั้งสิ้น 50 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ   ประชาชนที่ฟังรายการ “เสียงสร้างสุข(ภาพ)” ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz
มีความความรู้ ความเข้าใจในด้านผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ด้านผู้สูงอายุไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ โดยยอมรับและเข้าใจใน
ความต่างวัย มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุในบ้าน มีความเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นและเกิดความผูกพันธ์กันในครอบครัว
และผู้สูงอายุมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  การป้องกันและการปฏิบัติตัวจากโรคภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
มองเห็นคุณค่าของตนเอง และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุจะสามารถนำท่าการออกกำลังกายไปฝึกใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง
ได้ทั้งผู้สูงอายุและประชาชนที่ฟังวิทยุชุมชนรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ) เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายในวัยผู้สูงอายุ  
เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร โดยให้ผู้สูงอายุได้โทรศัพท์เข้ามาในรายการเพื่อสื่อสารส่งผ่านถึง
เพื่อผู้สูงอายุต่างชุมชน ส่งผลให้เกิดความผูกพันธ์และยังรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3, 3.4, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031585491328/

https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/photos/a.151990761528798/5579031508824669
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM94.25 MH.z

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

   

Key Message*

การจัดรายวิทยุเสียงสร้างสุข (ภาพ) ทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแสดงความคิดถึงและความห่วงใยกันผ่านเสียงเพลง โดยการขอเพลงให้กันทั้งคนในชุมชนและต่างชุมชนกัน การได้ออกกำลังกายขณะอยู่ที่บ้านและได้รับความรู้ด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่มีความเข้าใจในความเป็นผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2