MU-SDGs Case Study*

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว

ผู้ดำเนินการหลัก*

ธนากร จันหมะกสิต และ ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร 

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

         ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCGEconomy เนื่องจาก อว. มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” นี้ จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจBCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่

ตามที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ดำเนิน“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” จากการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่โครงการ ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม  ถึง 30 กันยายน 2565 โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 505,000.-บาท (ห้าแสนห้าพันบาทถ้วน)

ตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 25,999 ไร่ ปี 2556 มีประชากร 3,907 คน 1,273 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ และประมง นอกนั้นมีอาชีพรับจ้างค้าขาย 

จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีมากกว่าสองล้านตันในแต่ปีถูกนำไปใช้ในการผลิตข้าวมากกว่าพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่าสาเหตุหลักของการใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรจำนวนมากยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามความต้องการของข้าว นอกจากต้นทุนการใช้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็นจะเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงแล้ว ยังพบว่าต้นทุนที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของค่าเมล็ดพันธุ์ โดนส่วนใหญ่พบว่าเกษตรกรไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือ การเก็บเมล็ดพันธุ์เองนั้นไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวลดลง

ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิตข้าวจึงเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากการทำนา โดยการปรับปรุงและแก้ปัญหาหลัก 2 ประการ คือ เมล็ดพันธุ์ ทั้งคุณภาพและอัตราการใช้ และปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งใช้เกินความจำเป็นและไม่ตรงกับความต้องการของพืช เป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าเมล็ดพันธุ์และค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังช่วยลดการระบาดของโรคแมลง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย ซึ่งในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลจากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกข้าว 159,186 ไร่ ทำให้ค่าปุ๋ยลดลงจากไร่ละ 732 บาท เหลือ 534 บาท หรือลดลง 27% และผลผลิตเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 643 กก. เป็น 703 กก. หรือเพิ่มขึ้น 9% จะเห็นได้ว่าการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพโดยการพิจารณาปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับค่าการวิเคราะห์ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะของดิน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในต้นทุนที่ลดลงต่อไป 

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่จะขับเคลื่อนการลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินผ่านกลไกการจัดตั้งศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดยเกษตรกร ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้เอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศูนย์การจัดการดินปุ๋ยของชุมชนโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม และพร้อมในการให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการดินปุ๋ยแก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการในการทำงานที่บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 1,2,8,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

SDGs 1,2,8,12

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 
 
 

MU-SDGs Strategy*

Partners/Stakeholders*

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

วิสาหกิจชุมชนสามัคคีพันธุ์ข้าว และเกษตรกรใน ต.ยางขาว

สำนักงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครสวรรค์

 

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

   

Key Message*

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง