MU-SDGs Case Study* | โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ | ส่วนงานร่วม | 1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ 3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ 4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน |
เนื้อหา* | ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต กลายเป็นอีกปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น (WHO, 2020) สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1.5 ล้านคน และสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคจิตอื่น ๆ ตามลำดับ (กรมสุขภาพจิต, 2564) นอกจากนี้ข้อมูลสำนักงานสถิตแห่งชาติ ปี 2563 ที่ทำการสำรวจสุขภาพจิตคนในประเทศไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตต่ำสุด ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี เพศหญิงมีระดับสมรรถภาพของจิตใจน้อยกว่าเพศชาย ร้อยละ 62.2 จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชส่งผลถึงความบกพร่องในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคล การตัดสินใจ ศักยภาพการ ดูแลตนเองลดลง การประกอบอาชีพ และปัญหาเรื่องความเสื่อมลงของร่างกายและจิตใจ ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง แยกตัวจากสังคมมากขึ้น รวมทั้งอาจส่งผลต่อการปรับตัวในชีวิตประจำวันร่วมด้วย (Sadock & Sadock, 2017) จากรายงานสถิติฆ่าตัวตายของกระทรวงมหาดไทยปี 2560 พบว่า ในจังหวัดนครสวรรค์ มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.67 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่แหล่งชุมชนเมือง และชุมชนกึ่งเมือง ซึ่งชุมชนวัดไทรย์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น และเป็นชุมชนกึ่งเมือง จาก สถานการณ์ปัญหาทางด้านสุขภาพในชุมชน พบว่า ประชาชนมีปัญหาด้านความเครียด ความวิตกกังวลแลซึมเศร้า ในทุกกลุ่มวัย จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย จากการสัมภาษณ์ตัวแทนสาธารณสุขประจำตำบล พบว่า ในช่วง ปี พ.ศ. 2564 ถึง 2565 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 3 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหรือปัจจัย เช่น ปัญหาทางด้านครอบครัว สุขภาพ เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ทำให้ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมตามมา ดังนั้นหากมีการส่งเสริมสุขภาพจิตในทุกกลุ่มวัยจะช่วยลดปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแผนที่จะจัดโครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ โรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์ ทั้งนี้การที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.1, 3.2, 3.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2 ,12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง มีระบบการเฝ้าระวังและช่วยเหลือที่ดี จะสามารถลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.1.1, 3.3.2 |