MU-SDGs Case Study* | พัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | หนึ่งในสัจธรรมแห่งชีวิตที่มนุษย์นั่นคือ “ความตาย” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธที่จะพูดถึง ในทางพุทธศาสนาพระภิกษุเป็นผู้สืบทอดศาสนา เป็นผู้เยียวยาด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ พระภิกษุมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความตายมากที่สุด จากการทบทวนวรรณกรรม สุขสันติ งามแก้มและบำเพ็ญจิต แสงชาติ, (2559) ได้ศึกษา การตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุ พบว่า การสะท้อนการตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุจำนวน 3 แก่นสาระ ดังนี้1) การตายที่ไม่ทรมาน 2) การตายที่เป็นไปตามวัฏ และ 3) การตายที่เข้าใจ ในความตาย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ช่วยยืนยันและขยายภาพการตายดีจากการศึกษาที่ผ่านมาผ่านการรับรู้ของพระภิกษุผู้ให้การดูแลพระภิกษุอาพาธจนกระทั่งมรณภาพ และการศึกษาของพระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง), (2564) ได้ศึกษา การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าท่าทีต่อความตายและวิธีปฏิบัติต่อความตายนั้น เห็นว่า ยิ่งพิจารณาเห็นความตายให้เป็นความธรรมดาได้มากเท่าไหร่ก็จะลดความทุกข์ที่เกิดจากความตายได้มากเท่านั้น การทำความคุ้นเคยกับความตาย เพื่อเผชิญกับความตายอย่างมีสติจึงจะเป็นการตายดีที่มีคุณภาพตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ เป็นการเติมเต็มองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้มีความครอบคลุมทุกมิติ เกี่ยวข้องกับความตายให้มีความสมบูรณ์ในฐานะพระภิกษุซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสามารถนำไปถ่ายทอด ส่งเสริมชุมชนให้อยู่ดีและตายดีได้ โดยครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีพุทธ การศึกษาการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ผลก่อนและหลังการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุและฆารวาส และเปรียบเทียบผลการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายระหว่างพระภิกษุและฆารวาส วิธีดำเนินการ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านการพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน เป็น พระภิกษุ จำนวน 15 รูป ฆารวาส จำนวน 15 คน และมีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน ผลการวิเคราะห์ความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาสก่อนและหลังการอบรม เมื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาส ก่อนการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 42, p < 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆราวาสสูงกว่าพระสงฆ์ (ค่าเฉลี่ยคะแนนพระสงฆ์ = 10.80,ค่าเฉลี่ยคะแนนฆราวาส =20.20) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้ของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-2.138], p < 0.05) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆารวาสก่อนและหลังการอบรม พบว่าคะแนนความรู้ของกลุ่มฆราวาส ก่อนและหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-1.039], p > 0.05) จากการสัมภาษณ์พระภิกษุที่เข้าร่วมอบรมภายหลังใช้เครื่องมือ เกมส์ไพ่ไขชีวิต และกร์าดแชร์กันเปิดใจยอมรับในการพูดคุยเรื่องความตายและมีมุมมองเรื่องความตายที่เปลี่ยนไป จากคำบอกเล่า “ เป็นการอบรมที่แปลก ไม่เคยอบรมและเรียนรู้เรื่องนี้แบบจริงจังขนาดนี้” “คำถามบางคำถามทำให้เราได้ฉุกคิด” “สมุดเบาใจมีประโยชน์มากทำให้เราได้ทำหน้าที่แทนเราในวันที่เราไร้สติสัมปชัญญะ ..สมุดนี้กระผมอยากซื้อเพิ่ม” และสัมภาษณ์กลุ่มฆารวาส ภายหลังเข้าร่วมอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมเปิดใจยอมรับและพูดคุยเรื่องความตาย มีประทับใจกับชุดเครื่องมือและเห็นประโยชน์ของสมุดเบาใจ “ ถ้าเรามีหลักฐานสมุดเบาใจ ถ้าเราเป็นอะไรไป เขาก็จะเข้าใจและทำตามที่เราบอกไว้ เขาจะได้ไม่รู้สึกเสียใจและรู้สึกผิดภายหลัง” | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 10.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/photo/?fbid=979047657593986&set=pcb.979047720927313 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* | วัดเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | ก่อนเข้าร่วมอบรมกลุ่มฆารวาสที่มีคะแนนความรู้เท่าทันความตายสูงกว่าพระภิกษุ เพราะอสม. มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในชุมชน ได้พูดคุย ได้เห็นตลอดกระบวนการดูแลจนเสียชีวิต ทำให้มีความเข้าใจความรู้เท่าทันความตายมากกว่าพระภิกษุ ถึงแม้พระภิกษุเปรียบเหมือนผู้นำทางจิตตวิญญาณและมีความเข้าใจในหลักธรรม มีการศึกษาเรื่องความเป็นไปในชีวิตตามหลักสัจธรรม (การเกิด แก่ เจ็บ ตาย) หากเปรียบเทียบเชิงอุปมา “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ” ช่วยให้เข้าใจถึงพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดกับแนวคิดเรื่องความตายเสมอ แต่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยหรือสัมผัสกับกระบวนการตายอย่างใกล้ชิด ทำให้การรับรู้เกี่ยวกับความตายถูกจำกัดอยู่ในกรอบของแนวคิดทางธรรม โดยไม่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริง ดังเช่นนกที่อยู่ในท้องฟ้าตลอดเวลาแต่ไม่เห็นถึงท้องฟ้าที่ห้อมล้อมตัวเอง หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำโดยไม่ตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมที่รายล้อม แต่เมื่อพระสงฆ์เปิดใจยอมรับที่จะพูดถึงและเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย โดยผ่านการอบรมพัฒนาความรู้เท่าทันความตายตามองค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) ทำให้พระสงฆ์เกิดความเข้าใจเห็นถึงความจริงของชีวิตในมิติที่ไม่สามารถเข้าใจได้จากการศึกษาทางธรรมเพียงอย่างเดียว นำไปสู่การวัดผลหลังเข้าร่วมอบรมคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3d, 10.3 |
Category: Goal 10 : Reduced inequalities
Goal 10 : Reduced inequalities
การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว
MU-SDGs Case Study* | การส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า(Advance care plan)สำหรับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | การวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า (advance care planning: ACP) เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลกับครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแสดงเจตจำนงค์ของบุคคลต่อการดูแลในช่วงระยะท้ายของชีวิต และช่วยลดความกังวลในการตัดสินใจหรือลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัวและทีมสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การพูดถึงการเตรียมความตายในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังมองเป็นเรื่องอัปมงคลที่ไม่ควรพูดถึง การศึกษานี้ได้นำชุดเครื่องมือของ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเตรียมตัวตายและการวางแผนสุขภาพล่วงหน้าในกลุ่มผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านเขาบ่อแก้ว จำนวน 26 คน ที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่ประกอบด้วยกระบวนการวางแผน การปฏิบัติ การประเมิน และการสะท้อน และแนวคิดแนวคิดชุมชนกรุณา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเข้าร่วมจำนวน 26 คน เพศชาย 16 คน (ร้อยละ 61.5) เพศหญิง 10 คน (ร้อยละ38.5) ผู้สูงอายุจำนวน 15 คน (ร้อยละ 57.7) ได้เขียนบันทึกการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำเร็จ และจำนวน 11 คน (ร้อยละ 42.3) ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผลการปฏิบัติการใช้ชุดเครื่องมือ Peaceful Death สำหรับส่งเสริมการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า ค้นพบว่า ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ทัศนคติเชิงบวกต่อการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวตาย (2) ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิการตายดีเพิ่มขึ้น และ (3) ความตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง (ownership) การศึกษานี้ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมตานโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 10.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* | องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “ถึงผู้สูงอายุจะอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา ผู้สูงอายุก็มีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันกับผู้สูงอายุในสังคม เขาก็มีสิทธิในการวางแผนการดูแลสุขภาพและได้รับการดูแลตาเจตจำนงของเขา” | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3d,10.3 |
โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
MU-SDGs Case Study* | โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken” | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | 1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง 3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ | ส่วนงานร่วม | |
เนื้อหา* | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG2,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3, 2.4, 2.5 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs1,3, 10,12,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | 1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก” 2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ 3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์ 5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ 6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม 7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก 8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | | ||
Key Message* | 1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world. | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 2.3,2.4, 2.5, 3.3.2 4.3 17.2.2 |
โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) เพิ่มเติม เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น (https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1344113766077148/?d=n) ทางผู้บริหารสถานศึกษานั้นมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศเพิ่มเติมไปยังอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ บริเวณชั้น 1 จำนวน 2 ห้อง และ บริเวณชั้น 2 จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 ห้อง ซึ่งห้องน้ำทั้ง 4 ห้องนี้ ถือเป็นห้องนำเสนอภาคที่ไม่กีดกัน และเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรือ มีความบกพร่องทางร่างกายหรือไม่ ก็สามารถใช้ห้องน้ำแห่งนี้ได้อย่างเสมอภาค ทั้งนี้ ทางโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตต่อไปในอนาคต | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0HYVSR3Uoh8ej68oLTu5bjmxQaYFPyFQ9sK1K8L3LMM7L5obDsT6sgnBAovw6YLfel/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6, 10.6.7, 10.6.9 |
โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.เบญจพร พุดซา | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” โดย อ.เบญจพร พุดซา ได้ร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเนื้อหาในการพูดคุยนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชา นวสธ 103 การเมืองกับสุขภาพ (Politics and Health) และ นวสธ 215 ประชากรกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Population and health Effects) รวมไปถึงประเด็น เรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการพูดถึงแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ไปยังพื้นที่อื่นอย่างครอบคลุม อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แนวทางในการขยายพื้นที่ต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0N1D8HAStzuK8dSH8imcxSnSfSz2xjiBuzA9AMwRiGLKMMyvKjNU9D3UkWGN3ick8l/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||
https://youtu.be/zXoJASchgbU | |||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 4.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |
โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)
MU-SDGs Case Study* | โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) | ||||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่4 | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||||||||||||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 16.30 – 17.30 น. ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” และร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศที่ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม | ||||||||||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||||||||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||||||||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0FLPQx5Y4sazDE3TQRS7j3p1y8JPcFYWGGehxZVPQitWdR1dFuuWrosyZazSzjxfzl/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||||||||||||||||||||||
https://youtu.be/zXoJASchgbU | |||||||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||||||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan | ||||||||||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||||||||||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |
โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)
MU-SDGs Case Study* |
โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) |
||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 2 และ 4 |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||||||||||||||||||
เนื้อหา* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ที่มีใจความสำคัญว่านักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษาตามอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพหรือเพศสภาวะที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ ซึ่งรวมถึงการแต่งกายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีรับอนุปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรด้วย แต่กลับพบปัญหาว่านักศึกษาที่แต่งตัวตามอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำในสถานศึกษานั้นมีเพียงห้องน้ำสำหรับเพศชาย และเพศหญิงเท่านั้น ดังนั้น เมื่อนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้เรียนในรายวิชา NWNW 322 การจัดการความรู้เบื้องต้น (Fundamental of Knowledge Management) จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All-Gender Restroom) อยู่หนใด” เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 หลังจากกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษาในการผลักดันให้เกิดห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น โดยผู้บริหารมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคน โดยทางวิทยาเขตจะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตในอนาคตต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 10 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
10.2 |
||||||||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 3,4 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
3.4, 3.d, 4.7, 4.a |
||||||||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid02MYfqMTWQ8fXuTdw4qfjfuKjRLRhmwE6Xk9AfMTmFqiBGK5V9cioUDhvz96ZAh9KQl/?d=n&mibextid=wxGVb6 |
||||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 |
||||||||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* |
นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||||||||||||||||||
Key Message* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน |
||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |
โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์
MU-SDGs Case Study* |
โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ |
||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานหลัก* |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม |
คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน |
ส่วนงานร่วม |
– |
||||||||||||||||
เนื้อหา* |
จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนศรีสังวาลย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ทั้งนี้พบปัญหาว่า เด็กนักเรียนที่นั่งวีลแชร์ (Wheelchair) ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาแผลกดทับ เนื่องจากต้องนั่งเป็นเวลานานและถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อีกทั้งเด็กนักเรียนยังขาดการได้รับแรงสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ในการช่วยลดแผลกดทับ ขาดข้อมูลในการดูแลตนเอง และด้วยการที่จำนวนบุคลากรที่ดูแลนักเรียนมีค่อนข้างจำกัดเลยทำให้ไม่สามารถดูแลเด็กนักเรียนทุกคนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน
ดังนั้น นางสาวกนกอร รังศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย โรงเรียนศรีสังวาลย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไต ลดแผลกดทับ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์” ณ ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลอาการแผลกดทับให้แก่ครูผู้ดูแลและเด็กนักเรียน รวมไปถึงการสนับสนุนทางอารมณ์โดยการให้กำลังใจและส่งต่อความห่วงใยจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คนในชุมชน และครูผู้ดูแลไปยังเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงน้ำยาล้างไตที่ใช้แล้วมาทำเป็นเบาะลมจากถุงน้ำยาล้างไตให้เด็กนักเรียนที่ใช้วีลแชร์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแผลกดทับลง ลดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต |
||||||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 3 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
3.4 |
||||||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
SDGs 4, 10, 12 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
4.5, 10.2, 12.5 |
||||||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1288656244956234/?d=n |
||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
|||||||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
||||||||||||||||||
Partners/Stakeholders* |
1. โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 2. แผนกไต โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 3. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 4. โรงเรียนศรีสังวาลย์ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 6. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 7. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านเกษตรใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ |
||||||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|
||||||||||||||||||
Key Message* |
การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีความพร้อมในการศึกษาเล่าเรียนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี |
||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
3.3.1, 3.3.2, 4.3.4, 4.3.5, 10.6.8, 10.6.9, 12.2.4, 12.2.5, 12.2.6, 12.3.2 |
วัคซีนเพื่อชุมชน
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
วัคซีนเพื่อชุมชน | ||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | นางสาวสิริกร นาคมณี | ||||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ๒๐๑๙ ที่มีการแพร่ระบาดอย่างมากทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทางออกที่ยั่งยืนของวิกฤตครั้งนี้ คือ การให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ COVID-๑๙ กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการนี้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง และนักเรียนมัธยม ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด๑๙ ทั้งวัคซีนหลัก และ วัคซีนทางเลือก ในวัคซีนหลักศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ได้ให้บริการฉีดวัคซีนกับผู้ที่จองผ่านระบบ และจองผ่านเจ้าหน้าที่ อสม. ทำให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคของตำบลเขาทองได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐%ตามเป้า และขยายเป้าหมายสู่ประชาชนทั่วไป อีกทั้งให้บริการวัคซีนทางเลือกโดยไม่คิดค่าบริการในกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒๒๖ คน โดยความร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ และเพิ่มความครอบคลุมในการดูแลประชาชนในเขตเขาทองให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับทีมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ออกให้บริการฉีดวัคซีนถึงบ้านจำนวน ๓๐ คน โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.เขาทองและเจ้าหน้าที่ อสม.ในพื้นที่ และยังฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนมัธยมจำนวน ๓๑๗ คน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด๑๙ ได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ให้กับประชาชนโดยผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจประชาชนในเขตพื้นที่เขาทองมีความพึงพอใจ และได้รับวัคซีนมากกว่า ๗๐% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และกลุ่มเปราะบาง เช่นผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น |
||||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | จ.นครสวรรค์ | ||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง |
||||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | ตั้งแต่ 2564 เป็นต้นไป | ||||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 – ปัจจุบัน | ||||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | หน่วยงาน | ||||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
สำนักงาน คปภ. , สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ , อบต.เขาทอง , รพ.สต.เขาทอง , ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ |
||||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1.ให้บริการฉีดวัคซีนประชาชนทั่วไปในเวลาราชการที่ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ 2.ให้บริการฉีดวัคซีนผู้ป่วยติดเตียงในเขตตำบลเขาทองที่บ้านนอกเวลาราชการ |
||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
1.ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 ในจังหวัดนครสวรรค์ 2.นักเรียนโรงเรียนเขาทอง และ โรงเรียนเขาทองพิทยาคม 3.ผู้ป่วยติดเตียงและผ้สูงอายุในเขตตำบลเขาทอง 4.กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส |
||||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
1.ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 จำนวนมากกว่า 3,000 คน 2.นักเรียนอายุ 12-18 ปี จำนวน 318 คน 3.ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 30 คน 4.กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 226 คน |
||||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.สร้างความรู้ความเข้าใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 2.ประชาชนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง |
||||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
บริการวัคซีนประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย 608 บริการวัคซีนนักเรียน อายุ 12 – 18 ปี ในเขตตำบลเขาทอง บริการวัคซีนทางเลือกแก่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสโดยไม่คิดค่าบริการ บริการวัคซีนผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุที่บ้าน |
||||||||||||||
SDGs goal | Goal 3 : Good health and well being Goal 10 : Reduced inequalities Goal 11 : Sustainable cities and communities |
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”
Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77
Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?” | ||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | 1. นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ 6126001 2. นายชตฤณ ลาดแดง 6126005 3. นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ 6126007 4. นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ 6126009 5. นายดรัล รักธัญญะการ 6126012 6. นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา 6126022นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||
ที่มาและความสำคัญ | ในปัจจุบันกระแสการเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศมีเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียกร้องให้สร้างห้องน้ำสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของประเด็นความปลอดภัยและความจำเป็นสำหรับการจัดสร้างห้องน้ำดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมุมมองของคนทั่วไป ความเข้าใจรวมถึงเจตคติที่มีต่อการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะสามารถขับเคลื่อนการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ“สุขาของฉัน(All genders restroom)อยู่หนใด?”ขึ้นในครั้งนี้ | ||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom) |
||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2564 | ||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | วันจันทร์ ที่ 9 สิงหาคม 2564 | ||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | สถาบันอุดมศึกษา | ||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) | คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Webex โดยเป็นรูปแบบของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นหัวข้อวิธีการขับเคลื่อนในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All genders restroom) อยู่หนใด”กับเจ้าของความรู้ทั้งหมด 3 ท่านได้แก่ 1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รักษาการแทนในตำแหน่งรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม | นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ | ||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 149 คน | ||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ | เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะอย่างเสมอภาค | ||||||
Web link |
https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1146466679175192/?d=n |
||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||
SDGs goal | Goal 3 : Good health and well being Goal 5 : Gender equality Goal 10 : Reduced inequalities |