Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ที่มาและความสำคัญ

     บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศและการกักเก็บน้ำ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเข้มข้นของชาวบ้านในพื้นที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในกลุ่มอาชีพของภาคประชาชน การไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชน การดำเนินการที่ติดขัดข้อกฎหมายที่มีหลายฉบับ และอำนาจตัดสินใจอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2564) มีการขับเคลื่อนด้วยการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการทบทวนเอกสาร รวบรวมข้อมูลงานวิจัย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีการคืนข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนทีละกลุ่ม แล้วนำตัวแทนมาคืนข้อมูลร่วมกันกับทุกกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหา ยอมรับปัญหา เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเข้าใจกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มและสร้างความร่วมมือ จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดร่วมกันเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้บึงบอระเพ็ดถูกตั้งเป็นปัญหาวาระสำคัญของชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาที่เป็นแผนปฏิบัติการ และการทบทวนแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สุดท้ายแล้วคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563–2572) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,701.5 ล้านบาท ต่อมาเครือข่ายบึงบอระเพ็ดร่วมพัฒนาโครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด เพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การจัดทำแผนที่บึงบอระเพ็ด การประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด เป็นต้น

     การเกิดเครือข่ายบึงบอระเพ็ดทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในบึงบอระเพ็ด ทำให้แสดงให้เห็นว่าการที่ทุกภาคส่วนมีความรู้ที่ถูกต้องและเท่ากัน จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดที่ยั่งยืนได้

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในบึงบอระเพ็ด

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2554-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วน​บริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน)

ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

ประชาชนในบึงบอระเพ็ด

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายบึงบอระเพ็ด (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน)

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ประชาชนได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นไปตามข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยล่าสุดได้รับสัญญาเช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว.339 (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,542 แปลง คงเหลืออีกประมาณ 5,000 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาการเช่า

2.โครงการภายใต้ข้อเสนอของ “เครือข่ายบึงบอระเพ็ด” ถูกบรรจุในส่วนหนึ่งของแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดที่ได้รับอนุมัติดำเนินการ 10 ปี (2563-2572) ซึ่งแผนปฏิบัติการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีระยะ 3 ปี (2563-2565) จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท

3.เกิดการตรวจสอบแนวเขตและเข้าครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 6,888 แปลง ทำให้ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ดได้

4.การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายบึงบอระเพ็ด สามาถลดความขัดแย้งของทุกภาคส่วน

5.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด

Web link

https://na.mahidol.ac.th/th/2021/6650

https://na.mahidol.ac.th/bungresearch/index.php/2021-11-16-09-38-44

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals