MU-SDGs Case Study*

กิจกรรมสร้างสุข ส่งเสริมสุขภาพจิตทุกช่วงวัย
ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

ผู้ดำเนินการหลัก*

ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.จุฑารัตน์ สว่างชัย
อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.ทัตติยา ชังชั่ว
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์
3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน
5. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

1. ความสำคัญ

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายมุ่งเน้นประจำปี พ.ศ. 2566 ในการส่งเสริมและดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) จนสามารถดูแลตัวเองได้ ปัญหาด้านสุขภาพจิตสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการถูกกระทำรุนแรงด้านจิตใจ เช่น การพูดไม่ดี ทะเลาะ ทำให้เสียใจ น้อยใจ การปลูกผังค่านิยมที่ผิดของสังคม รุนแรงไปถึงปัญหาการทอดทิ้งไม่ดูแล จากปัญหาเหล่านี้ส่งผลเกิดความคิดด้านลบ อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธี อาจทำให้เกิดปัญหาต่ออารมณ์ พฤติกรรมและร่างกายที่ร้ายแรง

ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสุขภาพของประเทศไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทำโครงการสร้างสุข ส่งเสริมสุขภาพจิตทุกช่วงวัยขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น ซึ่งสามารถส่งต่อข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการป้องกัน ฟื้นฟู และส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

2. ผลการดำเนินงาน

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติรวมทั้งการพัฒนาสุขภาพจิต โดยมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการภาพรวม          

           1.1 กลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมระดับมาก 

           1.2 กลุ่มวัยทำงาน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมระดับมากที่สุด   

           1.3 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมระดับมากที่สุด

2. ประเมินปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมายพบว่า 

           2.1 กลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ไม่มีภาวะเครียด (ร้อยละ 68.38) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 67.88) และไม่มีปัญหาติดเกมส์ (ร้อยละ 81.45)      
           2.2 กลุ่มวัยทำงาน ไม่มีภาวะเครียด (ร้อยละ 60) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 100) ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย (ร้อยละ 100) และไม่มีมีภาวะหมดไฟ ระดับ (ร้อยละ 60)      

           2.3 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ไม่มีภาวะเครียด (ร้อยละ 55) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 95) ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย (ร้อยละ 100) และไม่สงสัยภาวะสมองเสื่อม (ร้อยละ 100)   

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น 
      1) เด็กวัยเรียนมีความสนใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี เรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์ชนิดต่าง ๆ มีความตะหนักถึงการเคารพและให้เกียรติผู้อื่น มีความระมัดระวังในการแสดงพฤติกรรมและคำพูดที่ไม่ดีต่อผู้อื่น สามารถแยกแยะคำพูดที่ดี หรือไม่ดี การพูดให้กำลังใจ การพูดชมเชย และให้เกียรติเพื่อน และผู้อื่น
     2) วัยทำงาน ได้เรียนรู้ตัวตน และความรู้สึกของตนเอง มีความเข้าใจตนเอง และผู้อื่นมากขึ้นผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน
     3) ผู้สูงอายุ ได้ฝึกสมอง พัฒนาความจำ จากการเล่นเกม รวมทั้งการเสริมสร้างสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้ผ่อนคลายความเครียด มีความสนุก เพลิดเพลิน และมีความสุข
 
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.moph.go.th/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์

3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์

4. โรงเรียนวัดหาดทรายงาม โรงเรียนวัดบางม่วง โรงเรียนวัดวังหิน

5. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ 

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพจิต จะช่วยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.1, 3.3.2