MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต 

นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

           ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาครัฐ ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ การนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของศูนย์ข้อมูล
ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด

2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง

3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

ผลกระทบทางสังคม

1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์

3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด

4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ)  

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,15,16,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 16.7 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ฐานข้อมูลบึงบอระเพ็ด

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5