MU-SDGs Case Study* | กิจกรรม โลกสดใสด้วยสุขภาวะทางตาที่ดี ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการสร้างสุข รอบรู้สุขภาพ ชุมชนวัดไทรย์ (ต.วัดไทรย์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์) | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ | ส่วนงานร่วม | 1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ 2. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวัดไทรย์ 3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ 4. กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ |
เนื้อหา* | 1. ความสำคัญ ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายมุ่งเน้นประจำปี พ.ศ. 2566 ในการส่งเสริมและดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) จนสามารถดูแลตัวเองได้ รวมถึงการเพิ่มขอบเขตความสามารถให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็น Smart อสม. เพื่อดูแลและให้ข้อมูลประชาชนได้อย่างครอบคลุม ซึ่งปัญหาสุขภาพของแต่ละช่วงวัยพบได้แตกต่างกันออกไป ในกลุ่มผู้สูงอายุ มักพบปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะการมองเห็น เช่น สายตายาว จอประสาทตาเสื่อม ต้อชนิดต่าง ๆ หรืออาจเป็นโรคร้ายหากไม่ได้รับการตรวจและส่งต่อรักษาอย่างทันท่วงที โดยผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพตาทุกปี และต้องมีความรู้ในการดูแลและปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพตา ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางสุขภาพของประเทศไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทำโครงการโลกสดใสด้วยสุขภาวะทางตาที่ดี ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตา และได้รับการประเมิน คัดกรองปัญหาสุขภาพตาและการส่งต่อเบื้องต้น ซึ่งสามารถส่งต่อข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการป้องกัน ฟื้นฟู และส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม 2. ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตา และจากการประเมิน คัดกรองปัญหาสุขภาพตาเบื้องต้นพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพตา การดูแล และการแก้ปัญหาเบื้องต้นทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ 66.84 หลังการอบรม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85.42 2) กลุ่มวัยทำงาน มีปัญหาสุขภาพตา (ร้อยละ 32) ส่วนใหญ่มีต้อเนื้อ (ร้อยละ 14 รองลงมา ต้อกระจก ต้อลม และต้อหิน ตามลำดับ (ร้อยละ 8, 6, 2) นอกจากนี้ไม่มีภาวะตาบอดสี (ร้อยละ 100) 3) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ มีปัญหาสุขภาพตา (ร้อยละ 78.33) ส่วนใหญ่มีต้อกระจก (ร้อยละ 35 รองลงมา ต้อลม และต้อเนื้อ ตามลำดับ (ร้อยละ 26.67, 8.33) นอกจากนี้ไม่มีภาวะตาบอดสี (ร้อยละ 100) ผลกระทบที่เกิดขึ้น 1) เกิดการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพตา การดูแล และการแก้ปัญหาเบื้องต้น รวมทั้งสร้างตระหนักรู้ในดูแลสุขภาพมากขึ้นในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกลุ่มผู้สูงอายุ 2) กลุ่มเป้าหมายได้ทราบผลคัดกรองสุขภาพตา สามารถส่งต่อข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งได้รับการส่งต่อเพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.1, 3.2, 3.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพตา จะช่วยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.1.1, 3.3.2 |