MU-SDGs Case Study* | SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.ศศิมา วรหาญ ผศ.ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อ.ดร.สมสุข พวงดี อ.ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง นายอภินันท์ ปลอดแก้ว นายฌานเทพฤทธิ์ วงศ์วิลาส | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) | ส่วนงานร่วม | สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) |
เนื้อหา* | โครงการ SMART Farmer Fair เป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นโดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (ชื่อใหม่: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทำการเกษตรเพื่อสุขภาพและการประกอบการ ในยุคที่เกษตรกรรมของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายในการเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้พร้อมกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตร SMART Farmer จึงมุ่งเน้นการสร้างนักศึกษาให้เป็นมากกว่าเกษตรกรทั่วไป แต่ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจ นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรจะมีทักษะที่สามารถนำไปพัฒนาธุรกิจเกษตรของตนเองได้ รวมถึงสามารถเป็นผู้นำในชุมชนในการนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้กับภาคการเกษตรในรูปแบบที่ยั่งยืน การดำเนินงานของโครงการ SMART Farmer Fair เป็นตัวอย่างของการนำแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาใช้ในภาคการเกษตร โดยสรุปได้ดังนี้ SDG 2: ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) โครงการมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบผสมผสานที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ และลดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารในระยะยาว SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) การส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดภัยและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีอาหารที่ปลอดภัย ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) โครงการ SMART Farmer Fair เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ให้นักศึกษาและเกษตรกรได้ฝึกปฏิบัติจริงในสาขาเกษตร ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน SDG 8: การเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic Growth) โครงการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด สร้างงานและรายได้ในชุมชนท้องถิ่น SDG 12: การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) การเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การแปรรูปผลิตผลเพื่อเพิ่มมูลค่า และการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืนและลดของเสียในกระบวนการผลิต | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs2,3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3, 2.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs8,12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 8.2, 8.3 12.3, 12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
มหิดลนครสวรรค์ จัดมหกรรม SMART Farmer Fair 2023 SMART FARMER FAIR 2024 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ Facebook Page: smartfarmer.muna | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. คูโบต้า ฮั้วเฮงหลี ที่นำโดรน และนวัตกรรมเกษตรมาโชว์ในงาน | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.3, 2.4 3.9 4.4 |