MU-SDGs Case Study* | พัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางศศิธร มารัตน์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | น.ส. ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | หนึ่งในสัจธรรมแห่งชีวิตที่มนุษย์นั่นคือ “ความตาย” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธที่จะพูดถึง ในทางพุทธศาสนาพระภิกษุเป็นผู้สืบทอดศาสนา เป็นผู้เยียวยาด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ พระภิกษุมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความตายมากที่สุด จากการทบทวนวรรณกรรม สุขสันติ งามแก้มและบำเพ็ญจิต แสงชาติ, (2559) ได้ศึกษา การตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุ พบว่า การสะท้อนการตายดีตามการรับรู้ของพระภิกษุจำนวน 3 แก่นสาระ ดังนี้1) การตายที่ไม่ทรมาน 2) การตายที่เป็นไปตามวัฏ และ 3) การตายที่เข้าใจ ในความตาย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ช่วยยืนยันและขยายภาพการตายดีจากการศึกษาที่ผ่านมาผ่านการรับรู้ของพระภิกษุผู้ให้การดูแลพระภิกษุอาพาธจนกระทั่งมรณภาพ และการศึกษาของพระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง), (2564) ได้ศึกษา การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าท่าทีต่อความตายและวิธีปฏิบัติต่อความตายนั้น เห็นว่า ยิ่งพิจารณาเห็นความตายให้เป็นความธรรมดาได้มากเท่าไหร่ก็จะลดความทุกข์ที่เกิดจากความตายได้มากเท่านั้น การทำความคุ้นเคยกับความตาย เพื่อเผชิญกับความตายอย่างมีสติจึงจะเป็นการตายดีที่มีคุณภาพตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ เป็นการเติมเต็มองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้มีความครอบคลุมทุกมิติ เกี่ยวข้องกับความตายให้มีความสมบูรณ์ในฐานะพระภิกษุซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสามารถนำไปถ่ายทอด ส่งเสริมชุมชนให้อยู่ดีและตายดีได้ โดยครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีพุทธ การศึกษาการรับรู้เท่าทันความตายตามการรับรู้ของพระภิกษุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ผลก่อนและหลังการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายในพระภิกษุและฆารวาส และเปรียบเทียบผลการพัฒนาความรู้เท่าทันความตายระหว่างพระภิกษุและฆารวาส วิธีดำเนินการ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านการพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน เป็น พระภิกษุ จำนวน 15 รูป ฆารวาส จำนวน 15 คน และมีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน ผลการวิเคราะห์ความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาสก่อนและหลังการอบรม เมื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุและฆารวาส ก่อนการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 42, p < 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆราวาสสูงกว่าพระสงฆ์ (ค่าเฉลี่ยคะแนนพระสงฆ์ = 10.80,ค่าเฉลี่ยคะแนนฆราวาส =20.20) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระภิกษุก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้ของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-2.138], p < 0.05) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เท่าทันความตายของฆารวาสก่อนและหลังการอบรม พบว่าคะแนนความรู้ของกลุ่มฆราวาส ก่อนและหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = [-1.039], p > 0.05) จากการสัมภาษณ์พระภิกษุที่เข้าร่วมอบรมภายหลังใช้เครื่องมือ เกมส์ไพ่ไขชีวิต และกร์าดแชร์กันเปิดใจยอมรับในการพูดคุยเรื่องความตายและมีมุมมองเรื่องความตายที่เปลี่ยนไป จากคำบอกเล่า “ เป็นการอบรมที่แปลก ไม่เคยอบรมและเรียนรู้เรื่องนี้แบบจริงจังขนาดนี้” “คำถามบางคำถามทำให้เราได้ฉุกคิด” “สมุดเบาใจมีประโยชน์มากทำให้เราได้ทำหน้าที่แทนเราในวันที่เราไร้สติสัมปชัญญะ ..สมุดนี้กระผมอยากซื้อเพิ่ม” และสัมภาษณ์กลุ่มฆารวาส ภายหลังเข้าร่วมอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมเปิดใจยอมรับและพูดคุยเรื่องความตาย มีประทับใจกับชุดเครื่องมือและเห็นประโยชน์ของสมุดเบาใจ “ ถ้าเรามีหลักฐานสมุดเบาใจ ถ้าเราเป็นอะไรไป เขาก็จะเข้าใจและทำตามที่เราบอกไว้ เขาจะได้ไม่รู้สึกเสียใจและรู้สึกผิดภายหลัง” | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.d |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 10.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
https://www.facebook.com/photo/?fbid=979047657593986&set=pcb.979047720927313 | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* | วัดเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | ก่อนเข้าร่วมอบรมกลุ่มฆารวาสที่มีคะแนนความรู้เท่าทันความตายสูงกว่าพระภิกษุ เพราะอสม. มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในชุมชน ได้พูดคุย ได้เห็นตลอดกระบวนการดูแลจนเสียชีวิต ทำให้มีความเข้าใจความรู้เท่าทันความตายมากกว่าพระภิกษุ ถึงแม้พระภิกษุเปรียบเหมือนผู้นำทางจิตตวิญญาณและมีความเข้าใจในหลักธรรม มีการศึกษาเรื่องความเป็นไปในชีวิตตามหลักสัจธรรม (การเกิด แก่ เจ็บ ตาย) หากเปรียบเทียบเชิงอุปมา “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ” ช่วยให้เข้าใจถึงพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดกับแนวคิดเรื่องความตายเสมอ แต่อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยหรือสัมผัสกับกระบวนการตายอย่างใกล้ชิด ทำให้การรับรู้เกี่ยวกับความตายถูกจำกัดอยู่ในกรอบของแนวคิดทางธรรม โดยไม่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริง ดังเช่นนกที่อยู่ในท้องฟ้าตลอดเวลาแต่ไม่เห็นถึงท้องฟ้าที่ห้อมล้อมตัวเอง หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำโดยไม่ตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมที่รายล้อม แต่เมื่อพระสงฆ์เปิดใจยอมรับที่จะพูดถึงและเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย โดยผ่านการอบรมพัฒนาความรู้เท่าทันความตายตามองค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiential learning) และการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) ทำให้พระสงฆ์เกิดความเข้าใจเห็นถึงความจริงของชีวิตในมิติที่ไม่สามารถเข้าใจได้จากการศึกษาทางธรรมเพียงอย่างเดียว นำไปสู่การวัดผลหลังเข้าร่วมอบรมคะแนนความรู้เท่าทันความตายของพระสงฆ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3d, 10.3 |