หัวข้อ | รายละเอียด | ||||||||||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา |
มาตรฐาน MU Organic | ||||||||||||
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ | ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์, ดร.ณพล อนุตตตรังกูร ,นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ,นายธนากร จันหมะกสิต,นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์,นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ และนายยุทธิชัย โฮ้ไทย |
||||||||||||
ที่มาและความสำคัญ |
สืบเนื่องจากผลของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ในช่วงปี 2559 และทำให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ ลดข้อสงสัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง จากแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งตามมา และเครือข่ายได้มีการวางแนวทางการพัฒนาเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาของเครือข่าย ในปี 2562 โดยเครือข่ายได้เสนอแนะแนวทางการยกระดับมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เป็น มาตรฐาน MU Organic เพื่อให้เกิดการรับรองการผลิตที่ครอบคลุม และหลากหลายชนิดพืช เพิ่มขึ้น เพราะเนื่องจากสมาชิกเครือข่าย ไม่ได้ผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการปลูกผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาและจำหน่ายทำตลาดควบคู่กับข้าวอินทรีย์ และได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดผู้บริโภค |
||||||||||||
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา |
ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน |
||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
1.สร้างและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมหลากหลาย มีมาตรฐานและผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้ง่าย 2.สร้างกระบวนการ วิธีการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการรับสมัคร และการตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง แบบออนไลน์ 3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ออกสู่ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย |
||||||||||||
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ | 2562-ปัจจุบัน | ||||||||||||
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง | 4 ปี | ||||||||||||
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ | เครือข่าย, ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด, กลุ่มจังหวัด | ||||||||||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน สภาเกษตรกร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง เครือข่ายผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) |
||||||||||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม |
1.รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรฐาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยการกรอกข้อมูลผ่าน Google Form 2.คัดกรอง ประเมิน ผู้สมัคร และคัดเลือก 3.ทำความเข้าใจ ให้คำแนะนำ อธิบาย แนวทางข้อปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมมาตรฐาน 4.จัดทำ QR Code ประจำแปลงผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก 5.จัดผังการตรวจประเมินในระดับเครือข่าย และอบรมให้ความรู้วิธีการตรวจประเมิน 6.เครือข่ายตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง ตามผังที่วางไว้ 7.ทีมประเมินกลางสุ่มตรวจประเมินการปฏิบัติในแปลง 8.ผู้ตรวจประเมินในระดับเครือข่ายจัดเก็บผลผลิต ของสมาชิกที่ผ่านการปฏิบัติในระดับแปลง เพื่อนำผลผลิตส่งตรวจในห้องแลป ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจหาสารฆ่าแมลงในผลผลิต กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน(OC) ไพเรทรอยด์(PT) ออร์การ์โนฟอสเฟส (OP) และคาร์บาเมท (CM) โดยวิธีเทคนิค Thin–layer Chromatography ด้วยชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง GPO-TM/1และGPO-TM/2 และตรวจหาสารกำจัดวัชพืช กลุ่มพาราควอท ด้วยวิธีการ Spectrophotometry ผู้ที่ผ่านกระบวนการปฏิบัติในระดับแปลง และผลผลิตที่ส่งตรวจในแลป ไม่พบสารตกค้าง จะได้รับมาตรฐาน “MU Organic” 9.สุ่มตรวจแปลง พื้นที่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน หลังจากที่ได้รับมาตรฐานแล้ว เพื่อ React Credit |
||||||||||||
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน |
||||||||||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | ผู้สมัคร 81 ราย จาก 8 จังหวัด | ||||||||||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
1.เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในการตรวจรับรองมาตรฐาน 2.เป็นต้นแบบการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการให้บริการและพัฒนาชุมชน 3.เกิดเครือข่ายและการรวมกลุ่มยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ประเภท ข้าว ผัก และผลไม้ ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ที่มีมาตรฐาน 81 ราย และมีพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 717 ไร่ 4.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน สามารถยกระดับการผลิตของตนเอง และสามรถนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดระดับที่สูงขึ้น และมีตลาดที่รับซื้ออย่างต่อเนื่อง 5.สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานมีมูลค่าที่สูงขึ้น |
||||||||||||
Web link | – | ||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
|
||||||||||||
SDGs goal | Goal 1 : No poverty Goal 2 : Zero hunger Goal 3 : Good health and well being Goal 4 : Quality education Goal 8 : Decent work and economic growth Goal 12 : Responsible consumption and production Goal 15 : Life on land |