MU-SDGs Case Study*

โครงการสาวมุสลิมปลอดภัย ปาเต๊ะคล้องใจ ห่างไกลโควิด-19

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวซอฟียะห์ เจ๊ะหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ชุมชนดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่พบปัญหาของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากสุด เป็นอันดับ1 ในตำบลคลองท่อมใต้ อีกทั้งคนในชุมชนมีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หน้ากากอนามัย ทั้งนี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้านั้นส่วนใหญ่จะไม่สวมหน้ากากอนามัยเพราะรู้สึกอึดอัด เจ็บที่บริเวณหู และยุ่งยากสำหรับผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้าคิดว่าการใส่ผ้าปิดหน้าโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัยนั้นสามารถป้องกันการติดต่อเชื้อโควิด-19 ได้เทียบเท่าการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมา

 

นางสาวซอฟียะห์ เจ๊ะหะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) โรงพยาบาลคลองท่อม ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “สาวมุสลิมปลอดภัย ปาเต๊ะคล้องใจ ห่างไกลโควิด-19” ณ ชุมชนบ้านคลองขนาน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับป้องกันตนเองในช่วงสถานการณ์โควิด-19  รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ด้วยการให้กำลังใจ คลายความกังวลเรื่องการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส และร่วมกันผลิตสายคล้องหน้ากากอนามัยจากผ้าปาเต๊ะซึ่งเป็นผ้าที่ใช้ใส่ในท้องถิ่น โดยสายคล้องหน้ากากอนามัยดังกล่าวนั้นสามารถปรับขนาดได้ ทำให้ผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้าไม่รู้สึกอึดอัดและเจ็บที่หูเวลาสวมใส่หน้ากากอนามัย ส่งผลให้พวกเขายอมที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อีกทั้งคนในชุมชนยังสามารถผลิตสายคล้องหน้ากากอนามัยใช้ได้เองและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.8

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1285298128625379/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

2. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

  

Key Message*

การลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และร่วมกันผลิตเจลสายคล้องหน้ากากอนามัยที่ทำให้ผู้หญิงมุสลิมที่ใส่ผ้าปิดหน้าไม่รู้สึกอึดอัดและเจ็บที่หูเวลาสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2