MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

 

เนื้อหา*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้

เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย

นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย

หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG2,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4, 2.5
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs1,3, 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

1.2.1, 1.3, 1.4.1
3.3.2
17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.
2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.3,2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2