MU-SDGs Case Study* | โครงการ อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม | คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน | ส่วนงานร่วม | – | ||||||||||||
เนื้อหา* | จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อันเนื่องมาจากการขาดกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ทราบถึงวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมไปถึงการไม่มีเพื่อนในการออกกำลังกาย ทั้งนี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า อสม. ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีกิจกรรมทางกายที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อที่จะควบคุมความดันโลหิตให้ได้ แต่พวกเขาเกิดความกังวลใจ ขาดการรับรู้ความสามารถของตนเองจนไม่มีความเชื่อมั่นที่จะไปสอนผู้อื่นให้ออกกำลังกาย หรือไปเป็นแบบอย่างในการออกกำลังกายให้แก่คนในชุมชนได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา
ดังนั้น นางสาวศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลบางปลาม้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “อสม. สูงวัยร่วมใจ ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูง” ณ ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และผู้นำชุมชนในการสร้างเสริมให้ อสม. รับรู้ความสามารถของตนเอง ผ่านการพูดเสริมแรง และให้กำลังใจ อสม. รวมไปถึงการให้ อสม. ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วยท่าออกกำลังกายที่ง่าย และไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งฝึกให้ อสม. ผลัดกันฝึกสอนการออกกำลังกายในกลุ่ม อสม. ด้วยกันเอง จน อสม. เกิดทักษะในการสอนออกกำลังกาย และที่สำคัญคือ อสม. เกิดความมั่นใจในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย อีกทั้ง อสม. เองก็สามารถเป็นต้นแบบในการออกกำลังกาย และเป็นเพื่อนในการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนได้ ส่งผลให้พวกเขาสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต | ||||||||||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.4 | ||||||||||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | – | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | – | ||||||||||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1289936531494872/?d=n | ||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||||||||||
Partners/Stakeholders* | 1. โรงพยาบาลบางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 2. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี | ||||||||||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||||||||||
Key Message* | การส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมรับรู้ความสามารถของตนเองให้แก่ อสม. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี | ||||||||||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |