MU-SDGs Case Study*

โครงการเจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในพื้นที่ชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และคนในชุมชนมีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจลแอลกอฮอล์ (Hand Sanitizer) ซึ่งถือได้ว่าการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ดี แต่พบว่าเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นสินค้าขาดตลาดทำให้หาซื้อในชุมชนได้ค่อนข้างยากและมีราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมา

 

ดังนั้น นายศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit: PCU) คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม ร้านคลองท่อมเภสัช ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “เจลแอลกอฮอล์สมุนไพรใบขลู่ต้านโควิดด้วยมือเรา” ณ ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งการให้ข้อมูลผ่านการให้ความรู้ รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ด้วยการให้กำลังใจ คลายความกังวลเรื่องการป้องกันตนเองในสถานการณ์การแพร่ระบาด และร่วมกันผลิตเจลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดจากใบขลู่ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของชุมชน โดยเจลแอลกอฮอล์ดังกล่าวนั้นจะลดการระคายเคืองและช่วยถนอมผิวของผู้ใช้ อีกทั้งคนในชุมชนยังสามารถผลิตเจลแอลกอฮอล์ใช้ได้เองและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.8

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1285293418625850/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

2. หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

3. คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่

4. ร้านคลองท่อมเภสัช อ.คลองท่อม จ.กระบี่

5. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

6. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านในควน ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้แรงสนับสนุนทางสังคม และร่วมกันผลิตเจลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดจากใบขลู่ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2