หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

การประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายโรงเรียนอาหารปลอดภัย สสส.ร่วมกับ Node flagship นครสวรรค์

ที่มาและความสำคัญ

จากสภาพปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารของโรงเรียนบ้านท่ากร่าง และรอบๆ บริเวณโรงเรียน พบว่า นักเรียน และผู้ปกครอง   มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง และยังขาดความรู้ความใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หวาน และเค็ม อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียน ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ชุมชนร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อพัฒนาแกนนำนักเรียนและผู้ปกครอง ให้เกิดความรู้และปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

โรงเรียนบ้านท่ากร่างเป็นโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลท่าไม้  อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

วัตถุประสงค์

1 เพื่อเกิดคณะทำงานและพัฒนาแกนนำนักเรียนและผู้ปกครองให้มีศักยภาพในการเผยแพร่ความรู้อาหารปลอดภัยให้กับบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนและผู้ปกครองเกิดความตระหนักและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3 เพื่อสร้างกิจกรรมและแนวทางการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

4 เพื่อสร้างเครือข่ายการบริโภคอาหารปลอดภัยทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม

1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล,ชุมชน,จังหวัด,หน่วยงาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

(สสส.) Node flagship นคสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ให้คำปรึกษา ร่วมกิจกรรม และให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

มีนักเรียนทั้งสิ้น 30 คน  ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ครอบคลุมเขตพื้นที่การบริการ จำนวน 2 หมู่บ้าน มีผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 ท่าน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1 มีแปลงปลูกผัก และผลไม้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

2 จำนวนนักเรียนที่บริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น

(400 กรัม/คน/วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 )

3.จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเป้าหมายบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น (400 กรัม/คน/วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 )

4 ได้ต้นแบบเพื่อนำไปต่อยอดกับโรงเรียนอื่นๆ

Web link

รูปภาพประกอบ

SDG goal


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78