Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการวิจัยผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ นางสาวลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร , นางศศิธร มารัตน์ , นางสาวฉัตรสกุล นาคะสุทธิ์
ที่มาและความสำคัญ

การพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี อายุยืนยาวมากยิ่งขึ้นและมีอัตราการตายลดลงส่งผลให้จํานวนประชากรผู้สูงอายุมีจํานวนเพิมขึ้นทุกปี ซึ่งจากการคาดคะเนขององค์กรสหประชาชาติรายงานว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกถึง 1,963 ล้านคน (United Nation 1992: อ้างใน สุรีย์ และคณะ, 2539) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทําให้การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมการติดต่อสื่อสารการคมนาคมที่รวดเร็ว ที่เรียกว่าโลกไร้พรมแดนและความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขทําให้โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากโรคติดเชื้อลดลง แต่โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสามารถป้องกันได้ด้วยการส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้มีเจตคติและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง (บรรลุ,ศิริพานิช2551: 38)

การที่มีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีผลต่อการเพิ่มภาระที่สังคมต้องรับผิดชอบในการดูแลช่วยเหลือแก่ประชากรในกลุ่มนี้ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุจะมีสภาพความเสื่อมถอยเกิดขึ้น การทํางานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายลดลงความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงก็ลดลง ปัญหาทางด้านสุขภาพซึ่งหมายความถึงปัญหาสุขภาพทางกายและปัญหาสุขภาพทางจิตใจผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเผชิญกับการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น (บรรลุ ศิริพานิช,2557) การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมสร้างแรงสนับสนุนทางจิตใจซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุในทิศทางที่ต้องการเช่นพฤติกรรมการป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพออกกำลังกาย เพื่อชะลอความเสื่อมรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การที่ได้เป็นสมาชิกชมรมต่างๆนั้นได้แสดงถึงว่าผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้มากมีโอกาสพบปะเพื่อนฝูงวัยเดียวกันและมองโลกกว้างขึ้น (บทความจากนิตยสาร ใกล้หมอ ปี ที่ 20 ฉบับที่ 11 โดย ดร.วิชิตคนึงเกษม)

งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย   จิตสดใส ร่างกายแข็งแรงติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ผู้สูงอายุจะออกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทองเป็นประจำทุกๆวันพุธ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยเรื่องของการให้ความรู้และเพิ่มทักษะต่างๆของผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย ร่วมร้องรำทำเพลงและรับประทานอาหารร่วมกันก่อนกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) งานผู้สูงอายุฯจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าวลง ในสถานการณ์เช่นนี้ งานผู้สูงอายุฯจะมีบทบาทอย่างไรในการลดความตึงเครียด คลายความเหงา และส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุในชุมชน สื่อชนิดใดเป็นสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างงานผู้สูงอายุฯกับผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เราคุ้นชินในชนบทที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุนั่นคือ “วิทยุ” แทนที่จะใช้สื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้เพราะในสังคมชนบทนั้น ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมิเดียต่างๆได้ ด้วยข้อจำกัดที่ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟน แต่วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อยุคก่อนกลับเป็นสื่อที่เข้าถึงได้จริงสำหรับผู้สูงอายุในสังคมชนบท  จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ชุมชนที่สามารถรับคลื่นวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว
ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนในการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ระดับตำบล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและความรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้รูปแบบทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change Theory) โดยศึกษาลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง และแนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม (educative supportive nursing system) เป็นกรอบแนวคิดในการให้โปรแกรมผ่านสื่อวิทยุชุมชน โดยที่โอเร็มมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการดูแลตนเองเพื่อให้ตนเองมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ร่วมกับการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิด การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการออกกำลังกาย บนแนวคิดที่ว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนFM 94.25 MHz. สามารถเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้ หากมีความรู้และได้รับการสนับสนุนจากการให้สุขศึกษาผ่านการจัดรายการวิทยุ ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ทฤษฎีด้านผู้สูงอายุ
การดูแลตนเอง การป้องกันโรคแทรกซ้อน การรับประทานยา และการออกกำลังกาย 2) การสนับสนุนทั้งด้านร่างกายจิตใจ เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง 3) การชี้แนะ การให้ข้อมูลป้อนกลับในการเรียนรู้ การให้ทางเลือกในการดูแลตนเอง 3)  การปฏิบัติจริง นำออกกำลังกายผ่านการออกอากาศทางวิทยุชุมชน เปิดช่วงถามตอบข้อสงสัยด้านสุขภาพเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันผ่านวิทยุชุมชน
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้ที่ฟังวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz จำนวน 5 ตำบล คือ ต.เขาทอง ต.นิคมเขาบ่อแก้ว ต.เขากะลา ต.หนองปลิง ต.สระทะเล  โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตำบลละ 5 คน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

ประชาชนที่ฟังรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ)ผ่านวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง FM 94.25 MHz มีความความรู้ ความเข้าใจ
ในด้านผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ด้านผู้สูงอายุไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ โดยยอมรับและเข้าใจใน
ความต่างวัย มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุในบ้าน มีความเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นและเกิดความผูกพันธ์กันในครอบครัว และผู้สูงอายุมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  การป้องกันและการปฏิบัติตัวจากโรคภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ มองเห็นคุณค่าของตนเอง และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
จะสามารถนำท่าการออกกำลังกายไปฝึกใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้ทั้งผู้สูงอายุและประชาชนที่ฟังวิทยุชุมชนรายการเสียงสร้างสุข(ภาพ) เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายในวัยผู้สูงอายุ

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 4 : Quality education
Goal 12 : Responsible consumption and production​
Goal 17 : Partnerships for the goals