MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning)
2. เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการวางแผนจัดงานตรวจดินและการแบ่งหน้าที่
3. เพื่อฝึกทักษะการสื่อสารผ่านกระบวนการแปลผลวิเคราะห์ดินให้แก่เกษตร
4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าหมายที่ 4 ในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเป็นการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวรายวิชาหมอดิน ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างดินภายในวิทยาเขตนครสวรรค์ มาเพื่อทำการทดสอบทางเคมีในห้องปฏิบัติการ แต่ในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ภายในห้องเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนไป โดยรายวิชาได้จัดทำการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบ Mux ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามพบว่าการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดและทักษะในการลงมือปฏิบัติ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของผู้เรียนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อื่นๆเช่น ทักษะทางการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จึงได้นำข้อเสนอแนะของผู้เรียนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ในการตรวจดิน รวมไปถึงทักษะในการปฏิบัติการภาคสนาม ที่จะเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลที่ได้จากชุมชน ประกอบกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการรวบรวมความต้องการของชุมชนที่จะวิเคราะห์และตรวจสอบดิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากภาคปฏิบัติการในห้องเรียนสู่ชุมชน โดยในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน
นักศึกษาจากที่เคยทดลองให้ห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสารเคมีสำหรับชุดทดสอบตัวอย่างละ 100 บาท โดยในแต่ละภาคการศึกษาจะต้องใช้ชุดทดสอบอย่างน้อย 50 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นสารที่ใช้แล้วหมดไป เพื่อให้เกิดการใช้สารเคมีอย่างคุ้มค่ามากที่สุดนอกเหนือจากการใช้เรียน จึงเปลี่ยนจากการใช้ดินตัวอย่างที่จัดเตรียมในห้องปฏิบัติการเป็นการไปเก็บตัวอย่างดินในภาคสนามซึ่งเป็นแปลงของเกษตรกรจริง ซึ่งอยู่ในชุมชนโดยรอบวิทยาเขตนครสวรรค์เพื่อมาทำการทดสอบ ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้มีความต้องการในการทราบธาตุอาหารในดินของตนเองก่อนเริ่มทำการเพราะปลูกพืช โดยในเทอมต้น/2566 ได้ไปฝึกปฏิบัติการในพื้นที่ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีเกษตรกรในชุมชน

โดยมีรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การชี้แจงโครงการ Open Field Day รับตรวจวิเคราะห์ดิน ในวันที่มีการประชุมหมูบ้าน เพื่ออธิบายถึงประโยชน์ของการตรวจดิน การวิเคราะห์ดิน และสาธิตวิธีการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง
2. ระหว่างทำโครงการ: จัดสถานที่รับตรวจดิน เป็นศาลายาประชาคม หมู่ที่ 5, จัดเตรียมตัวอย่างดิน, ตรวจดิน, แปลผล สรุปและนำเสนอผลแก่เกษตรกร
3. หลังทำโครงการ: ถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค ความประทับใจ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการในอนาคต

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2, SDGs12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4,12.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/share/p/BgqHkRvfwKUSLDQK/?mibextid=Nif5oz
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ได้ต่อไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.4.3, 2.4.1, 2.5.2