MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Biodiversity-based Economy Development of Community Participation in Buffer Area of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary
  

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานหลัก*

วิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายธนากร จันหมะกสิต
ดร.ณพล อนุตตรังกูร
อ.ดร. ปิยะเทพ อาวะกุล
อ.ดร. พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
นางสาวรสรินทร์ บัวทอง

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

        การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน  เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน  รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
         ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากในป่าชุมชนบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง บ้านเขาเขียว ม. 14 ต.ระบำ อ. ลานสัก จ. อุทัยธานี ซึ่งเป็นเป็นป่าในแนวกันชนระหว่างชุมชนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ ได้นำว่านตาลเดี่ยวมารักษาสิว ฝ้า จุดด่างดำ บนใบหน้า ด้วยการนำหัวสดมาฝน แล้วนำมาทาหน้า ซึ่งจะทำให้หน้าเกิดอาการบวมแดงและลอกเป็นขุยก่อนหน้าขาวใส ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครใช้วิธีการนี้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในต่างประเทศและงานวิจัยต่างๆ พบว่าว่านตาลเดี่ยวมีคุณสมบัติลดเอนไซม์ไทโรซิเนสในชั้นผิวหนังที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานินสีดำบนผิวหนัง ทำให้คงเหลือแต่ฟีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดเมลานินสีขาว ซึ่งช่วยให้ผิวขาวขึ้น และได้พบอีกว่าว่านตาลเดี่ยวมีฤทธิ์ช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นเซลล์ผิวได้ดีกว่าวิตามินซี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอางกลุ่มชะลอวัย ช่วยต่อต้านริ้วรอย ลดริ้วรอย และทำให้ผิวเรียบเนียน
ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์การนำสมุนไพรว่านตาลเดี่ยวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรจากธรรมชาติออกมาจากป่าชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ ร่วมกับการส่งเสริมการปลูกในแปลงรูปแบบของ Community Biobank เพื่อป้องกันไม่ให้ว่านตาลเดี่ยวหมดไปจากแหล่งป่าธรรมชาติได้ โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและทำฐานข้อมูลในเรื่องการระบุสายพันธุ์ชนิด รวมถึงการทำการวิจัยพื้นที่การปลูก การขยายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากว่านตาลเดี่ยวควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ว่านตาลเดี่ยว และมีทรัพยากรเพียงพอในด้านการแปรรูปออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชน 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 2,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.5.1, 12.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

15.2.1, 17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/GoldenStarGrass

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

– วิสาหกิจชุมชนเกษตรทางเลือกบ้านเขาเขียวห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

– โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

– สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์

– สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

ผสานพลังความร่วมมือ “ป่าเกื้อกูล คนอยู่ได้”  เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.5.1, 15.2.1