MU-SDGs Case Study* | “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | พินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อติพร อุ่นเป็นนิจย์ | ส่วนงานร่วม | ทีมงานเจ้าหน้าที่โครงการ U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคนผู้ปลูกผักในครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยผ่านการเชิญชวน แนะนำจากผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และทางองคืการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เข้าไปสำรวจค้นหาต้นทุนเดิมของทางชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบนฐานทรัพยากร BCG และสร้างทีมพัฒนา หาความร่วมมือ จัดกระบวนการและวางแนวทางการพัฒนา บนฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม และการยอมรับเกิดความร่วมมือของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การระดมสมองของทีมงานพัฒนาที่มาจากชุมชนและบัณฑิต สังเกต เข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน ถอดบทเรียนการค้นหาปัญหาและข้อมูล เสนอแนะวางแนวทางการแก้ปัญหาพัฒนา ตลอดจนการวางกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมทำ และสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้การผลิต การตลาด และพาทำ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒน และมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กันร่วมด้วย โดยผ่านช่องทางไลน์กลุ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิต ยกระดับการผลิตที่สร้างมูลค่า และสร้างคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค ภายในชุมชน ตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการที่ผ่านมา ในกระบวนการวางแนวทางการพัฒนา คือการเข้าไปสำรวจข้อมูลของทีมงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บ สอบถาม สังเกต มาช่วยกัน Brainstorm วางแผนการพัฒนา โดยเริ่มจากการเสนอโจทย์ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ผ่านผู้นำ หาความร่วมมือ และให้ผู้นำเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกผักไว้รับประทานเอง เมื่อผักรับประทานในครอบครัวแล้วมักจะนำมาขายบริเวณหน้าบ้านตนเอง หลังจากนั้นได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการชักชวนเสนอแนะจากผู้นำชุมชน และทีมงาน มาพูดคุยถอดบทเรียนกัน เพื่อค้นหาปัญหา และความต้องการที่แท้จริง และวางแผน จัดกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่การมีส่วนร่วม และเกิดความยั่งยืน ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านที่ปลูกผักดังกล่าว ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยการให้ความรู้การผลิตผักแบบปลอดสารพิษ ที่ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน เช่น บิวเวอเรีย เมตาไรเชียม ไตรโคเดอร์มา มีการอบรมการฝึกขยายเชื้อ แนะนำการนำไปใช้ในแปลงผลิต เพื่อป้องกันกำจัด โรค แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ หรือในการบำรุง เพิ่มผลผลิต เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำจุลินทรีย์จาวปลวก และการทำปุ๋ยหมักต่างๆ อย่างง่ายเพื่อไว้ใช้เอง มีกระบวนการติดตามตรวจเยี่ยมแปลงของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการให้คำแนะนำปรึกษาผ่าน กลุ่มไลน์ นอกจากการให้ความรู้ในการผลิตที่ดีแล้วเพื่อการยกระดับการผลิตและการสร้างคุณค่า ทางโครงการยังมีการหนุนเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ใบตองมาทำเป็นกระทงใส่พืชผัก จำหน่าย การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า การใช้ตอกแทนยางวงในการมัด เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมกับทางองการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ได้สร้างช่องทางการจำหน่ายภายในชุมชน โดยมีจุดจำหน่ายประจำบริเวณหน้าที่ทำการองการบริหารส่วนตำบล ทุกวันอาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตที่เข้าร่วมพัฒนากับทางโครงการ มีพื้นที่จำหน่ายประจำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2 ,12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/profile.php?id=100057393372665&paipv=0&eav=Afaj79JHuN-V13oiuO4yFQOJIm1LrcAvhDrHux_Vv0foGRsCDBSwGmFC_C9I5XPuhl4 | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2565 4.ผู้นำชุมชนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 6.กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผัก 18 ครัวเรือน ของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ 7.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการใช้โอกาสจากโครงการ U2T เชื่อมโยงต้นทุนเดิมของชุมชนในการผลิตผักในครัวเรือน พัฒนาประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ สู่การผลิตผักที่มีความปลอดภัย สร้างมูลค่าและคุณค่า กับชุมชน โดยการมีส่วนร่วม พึ่งพาตนเอง เสริมสร่างความเข้มแข็งแบบเครือข่าย และการจัดการที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1 , 2.5.2 ,2.5.3, 2.5.4 |