MU-SDGs Case Study* | โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.เบญจพร พุดซา | ส่วนงานหลัก* | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – | ||||
เนื้อหา* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” โดย อ.เบญจพร พุดซา ได้ร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเนื้อหาในการพูดคุยนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชา นวสธ 103 การเมืองกับสุขภาพ (Politics and Health) และ นวสธ 215 ประชากรกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Population and health Effects) รวมไปถึงประเด็น เรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการพูดถึงแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ไปยังพื้นที่อื่นอย่างครอบคลุม อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แนวทางในการขยายพื้นที่ต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 10 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 10.2 | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 3,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 3.4, 3.d, 4.7, 4.a | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0N1D8HAStzuK8dSH8imcxSnSfSz2xjiBuzA9AMwRiGLKMMyvKjNU9D3UkWGN3ick8l/?d=n&mibextid=wxGVb6 | ||||||
https://youtu.be/zXoJASchgbU | |||||||
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง | |||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3,4 | ||||||
Partners/Stakeholders* | กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2, 4.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6 |