MU-SDGs Case Study*

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวอติพร โพธิ์แก้ว

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer)
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.สมสุข พวงดี
ผศ.ดร. ศศิมา วรหาญ

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์

1. สร้างแหล่งอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยให้แก่ครอบครัวและชุมชน

2. เพิ่มรายได้จากธุรกิจไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพารา

3. เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา

4. จัดการหมุนเวียนเศษเหลือทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์

สืบเนื่องจากโครงการนี้เป็น senior project ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) นางสาวอติพร โพธิ์แก้วได้นำความรู้และทักษะจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยมาพัฒนาระบบการเกษตรที่บ้านเกิดให้ยั่งยืนและเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนระบบการเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว (Monoculture) เน้นการปลูกสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน รายได้หลักจึงมาจากผลผลิตจากยางพารา และปาล์มน้ำมัน พืชทั้งสองชนิดนี้ใช้เวลาเก็บเกี่ยวในครั้งแรกนานถึง 5-6 และ 4-7 ปี ตามลำดับ และถูกควบคุมราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากข้อจำกัดทั้งสอง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายรับไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีรายได้น้อย ในแง่ของระบบนิเวศ การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในชุมชนนาวงลดลง ผลที่ตามคือการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช และพึ่งพาแหล่งอาหารจากภายนอกมากขึ้น 

พื้นที่ตัวอย่างในการทำปริญญานิพนธ์ เป็นพื้นที่ที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวเช่นกัน การปลูกผลไม้แซมริมขอบสวนยางพาราจึงถูกริเริ่มเพื่อหาแนวทางลดข้อจำกัดดังกล่าว เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ลองกอง และกล้วย เป็นต้น ผลที่ตามมาคือครอบครัวมีรายได้จากการจำหน่ายผลไม้ทั้งสดและแปรรูปในช่วงผลไม้ให้ผลผลิต รวมถึงสร้างการแบ่งปันให้คนในชุมชนเป็นบางครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและเกิดการหมุนเวียนมูลเป็นปุ๋ยให้พืชได้ขึ้นเอง เนื่องจากนกและไก่ป่าเข้ามาอยู่อาศัยในสวนยางพาราผสมผลไม้ และขับถ่ายมูลลงมาตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีการปลูกผลไม้ร่วมกับยางพารา แม้จะมีข้อดีดังกล่าว แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นตามฤดูกาลเท่านั้น 

ระหว่างการเรียนรู้การทำธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก ภายใต้แบรนด์ “the teak chicken” ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ากลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพมีอยู่จริง และพร้อมยอมจ่ายให้กับไข่ที่มีคุณภาพ สด ปลอดภัย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวจึงมองเห็นโอกาสการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้รายวันในสวนยางพาราของตัวเองได้ และการหมุนเวียนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่ส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนมาใช้เป็นอาหารไก่เพื่อลดต้นทุน

ผลลัพธ์ของ senior project พบว่าการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถ
•สร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่สด ปลอดภัย มีคุณภาพ และจำหน่ายในราคาที่ชุมชนเข้าถึงได้
•สร้างรายได้รายวันจากการจำหน่ายไข่ไก่และรายเดือนจากการจำหน่ายปุ๋ยมูลไก่ให้แก่ครอบครัว
•เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา
•จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นเหม็นจากกากมะพร้าวคั้นกะทิในชุมชน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 2.3, 2.4
12.3, 12.a, 12.b 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs15

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 15.1, 15.4, 15.9
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/profile.php?id=100024874219328&mibextid=LQQJ4d

https://youtube.com/shorts/U2mDfcVcKgc?si=ph1oFacX2sUILKhI

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ชุมชนบ้านไสบ่อ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถดำเนินเป็นธุรกิจในชุมชนได้ ไม่เพียงสร้างรายได้รายวันเท่านั้น แต่ยังสร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ สด และปลอดภัยให้แก่ชุมชนได้เข้าถึงในราคาไม่แพง (SDGs2, 12) นอกจากนี้การเลี้ยงไก่ไข่ยังช่วยเพิ่มสิ่งมีชีวิตในสวนยางพาราให้มีความหลากหลายได้อีกด้วย (SDGs15) ในแง่สิ่งแวดล้อมการเลี้ยงไก่ไข่ในสวนยางพาราช่วยเปลี่ยนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่เหลือทิ้งเป็นไข่ที่มีคุณภาพ และหมุนเวียนมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้อย่างครบวงจร (SDGs12) ดังนั้นผลประกอบการครั้งนี้จึงเป็นโมเดลธุรกิจให้ผู้ปลูกยางพาราเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสวนยางพารา ในท้ายสุดสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.1, 2.5.3, 2.5.4