MU-SDGs Case Study* | พลังงานทดแทน : รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและสูบน้ำ (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22801) | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร นายสรรเสริญ แต้ประยูร | ส่วนงานร่วม | หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | ในภาคการเกษตรต้นทุนด้านพลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีราคาสูง อีกทั้งประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานดังกล่าวจากต่างประเทศเป็นหลัก จึงส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงาน และการขาดทุน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทดแทน ที่จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนด้านพลังงานให้แก่เกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันโซล่าเซลล์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นทำในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดด ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจากแสงอาทิตย์จะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ 1) ส่วนของระบบผลิตไฟฟ้าสูบน้ำ และ 2) ส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ โดยส่วนของโครงสร้างรองรับแผ่นโซล่าเซลล์มี 2 แบบ คือ แบบติดตั้งถาวร และแบบเคลื่อนย้ายได้ แบบที่ติดตั้งถาวรจะเหมาะกับพื้นที่แปลงเกษตรขนาดใหญ่ และต้องมีการดูแลใกล้ชิด เพราะอาจสูญหายได้หากสร้างไว้ในที่ห่างไกลคนดูแล ดังนั้นจึงมีการพัฒนาชุดรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้และได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาด ถ้ามีขนาดที่ใหญ่เกินไปก็ทำให้เคลื่อนย้ายยาก หรือ ถ้าเล็กเกินไปก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs7 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 7.1,7.2 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIycSUyMiUzQSUyMjIyODAxJTIyJTJDJTIyaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2 VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlMkMlMjJkaXNwbGF5JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW5kZXhfY3 JlYXRlJTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyaW4lMjIlM0ExJTJDJTIyb3JkZXIlMjIlM0ElMjJfc2Nvcm UlMkNkZXNjJTIyJTJDJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMnNlYXJjaF9hbGwlMjIlMkMlMjJ0eXBlX25hbWUlMjIlM0ElMjIlRTAlQjg lQUQlRTAlQjglOTklRTAlQjglQjglRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTclRTAlQjglOTglRTAlQjglQjQlRTAlQjglOUElRTAlQ jglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglQTMlMjIlMkMlMjJ0YWJfaW5kZXglMjIlM0ElMjJkaXBfc2VhcmNoXzFfZXB0XzMlMjIlN0Q%3D | ||
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=815063667297671&set=a.477621531041888&type=3&locale=th_ TH&paipv=0&eav=AfbzSzKGjWDPNvGE-RaeI5zMi5xLkfakMxlQ4Vrygagd4KLT7I31Sh5K498FjktI0qc&_rdr | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | พื้นที่การเกษตรในประเทศไทยหลายพื้นที่ ระบบสายส่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงทำให้เกษตรกรมีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการสูบน้ำเข้าแปลงนา ใช้รถน้ำต้นไม้ การให้แสงสว่าง และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รถลากจูงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้า และสูบน้ำ โครงสร้างตัวรถซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก เมื่อเกษตรกรต้องการนำรถดังกล่าวไปสูบน้ำในแปลงนา หรือในพื้นที่สวน ที่มีคันนา หรือทางเดินที่คับแคบ ก็สามารถที่จะนำรถลากจูงดังกล่าวเข้าไปในจุดที่ต้องการได้สะดวก สามารถใช้คน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถไถ รถไถนาแบบเดินตาม ในการลากจูงรถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพียงแต่ต้องมีการติดตั้งชุดลากจูงเข้ากับตัวโครงสร้างตัวรถ ส่วนการใช้แรงงานคนก็สามารถดันรถลากจูงฯให้เคลื่อนที่ได้ง่ายจากการที่ ตัวรถลากจูงฯ ติดตั้งมือจับไว้ในส่วนท้ายตัวรถ เมื่อนำรถลากจูงฯไปถึงจุดที่ต้องการสูบน้ำ หรือจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ตัวรถลากจูงฯนี้ยังมีจุดเด่น คือ ยังมีขาค้ำยันทั้ง 4 มุม ยึดติดกับโครงสร้าง เพื่อใช้ในการป้องกันการผลิกคว่ำขณะชุดแผงรองรับแผ่นโซล่าเซลล์ถูกกางออกเติมที่ และถึงแม้กระทั้งมีลมแรงพัดมาปะทะกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง ตัวค้ำยันยังป้องกันการพลิกคว่ำหรือการเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 7.2.4, 7.4.1 |
Author: คังโมยอน
การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร ดร.ณพล อนุตตรังกูร นายจิระเดช บุญมาก ดร.วชิระ กว้างขวาง รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด | ส่วนงานร่วม | 1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs12, SDGs6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.2,6.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%) | ||
Key Message* | ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.1, 12.4.1 |
การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการจากห้องเรียนสู่ชุมชน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายธนากร จันหมะกสิต นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์ นางสาวศิริญา มีประดิษฐ์ | ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าหมายที่ 4 ในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเป็นการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวรายวิชาหมอดิน ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ โดยให้นักศึกษาเก็บตัวอย่างดินภายในวิทยาเขตนครสวรรค์ มาเพื่อทำการทดสอบทางเคมีในห้องปฏิบัติการ แต่ในช่วงที่ผ่านมาต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ภายในห้องเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนไป โดยรายวิชาได้จัดทำการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบ Mux ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามพบว่าการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดและทักษะในการลงมือปฏิบัติ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของผู้เรียนได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อื่นๆเช่น ทักษะทางการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จึงได้นำข้อเสนอแนะของผู้เรียนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ในการตรวจดิน รวมไปถึงทักษะในการปฏิบัติการภาคสนาม ที่จะเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลที่ได้จากชุมชน ประกอบกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการรวบรวมความต้องการของชุมชนที่จะวิเคราะห์และตรวจสอบดิน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเรียนการสอนจากภาคปฏิบัติการในห้องเรียนสู่ชุมชน โดยในหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน โดยมีรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ 3 ส่วนหลัก ดังนี้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.7 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs2, SDGs12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4,12.a |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/share/p/BgqHkRvfwKUSLDQK/?mibextid=Nif5oz | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ได้ต่อไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 17.4.3, 2.4.1, 2.5.2 |
การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
MU-SDGs Case Study* | การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นายธนากร จันหมะกสิต | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร นางสาวศิริญา มีประดิษฐ | ส่วนงานร่วม | 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | วัตถุประสงค์ของโครงการ ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs12, SDGs4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 12.a , 4.7 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf | ||
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.4.1, 2.5.2, 2.5.3 |
โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
MU-SDGs Case Study* | โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken” | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | 1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง 3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ | ส่วนงานร่วม | |
เนื้อหา* | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG2,4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3, 2.4, 2.5 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs1,3, 10,12,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | 1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก” 2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ 3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์ 5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์ 6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม 7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก 8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | | ||
Key Message* | 1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world. | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.2.1, 1.3, 1.4.1 2.3,2.4, 2.5, 3.3.2 4.3 17.2.2 |
การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG
MU-SDGs Case Study* | การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม | ส่วนงานร่วม | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเนินขี้เหล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว | |
เนื้อหา* | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเสริมศักยภาพชุมชนจำนวน 9 ตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลเขาทอง ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ตำบลเขากะลา ตำบลเนินมะกอก ตำบลสระแก้ว ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลยางขาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และตำบลเก้าเลี้ยว โดยมีการจ้างงานของคนในพื้นที่ประเภทบัณฑิต 46 คน และประชาชน 46 คน รวมทั้งหมด 86 คน เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการเสริมศักยภาพชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1) ตำบลเขาทอง เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงวัว จึงประสบปัญหามีปริมาณขยะในชุมชนและมีมูลวัวจำนวนมาก จึงเล็งเห็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับมูลวัว และการจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน โครงการจึงเข้ามาอบรมประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ปราชญ์ดินดี อินทรีย์โบกาฉิ” และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของประชาชนในหมู่ 9 ตำบลเขาทอง ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งมีการทำเป็นโครงการธนาคารขยะ เพื่อรับซื้อขยะภายในกลุ่มสมาชิกและบุคคลภายนอก (ตามข้อตกลงกลุ่ม) มีการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงอื่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ขยะเขาทอง ขายออมเป็นเงิน” โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์ปราชญ์ดินดีอินทรีย์โบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,500 บาทต่อเดือน – การจัดการขยะในชุมชน ด้วยการลดขยะ รับซื้อขยะในชุมชนสามารถเก็บเป็นเงินออม และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 30 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งหมด 2,740 บาทต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 992.25 บาทต่อเดือน 2) ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็นตำบลที่มีเกษตรกรที่เลี้ยงแพะและเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมูลแพะและมูลวัวที่ปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จึงเห็นโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับมูลแพะและมูลวัว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมกระบวนการหมักปุ๋ยแบบแห้งและใช้ระยะเวลาสั้น ที่เรียกว่าปุ๋ย “โบกาฉิ” เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลแพะ ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคม G.E. เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,250 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคมโบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,550 บาทต่อเดือน 3) ตำบลเขากะลา เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวด้วยการปลูกอ้อย โดยในพื้นที่มีไร่ประพันธ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านในตำบลเขากะลามีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากการปลูกอ้อยขายสู่การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัยและไวน์อ้อย ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – Rebranding น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัย เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน – ผลิตไวน์อ้อย (Sugarcane Wine) เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,426 บาทต่อเดือน 4) ตำบลเนินมะกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ประชาชนประสบปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาให้ความรู้กับชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมความรู้เชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยตามความต้องการของชนิดพืช การทำธุรกิจด้วย แผนธุรกิจแคนวาส การตั้งราคาสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยชุมชนมีการเปิดเพจทั้งบนแพล็ตฟอร์ม Facebook และ TIKTOK เพื่อให้กุล่มลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย จากการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการข้างต้น เกิดผลผลิต 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำตราประดู่ทอง และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดตราประดู่ทอง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ชุมชนตำบลเนินมะกอกมีการเปิดบัญชี เพื่อนำเงินรายได้สะสมเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโดยคนในชุมชนที่ผ่านการอบรมในโครงการ U2T ต่อไป 5) ตำบลสระแก้ว มีความโดดเด่นในด้านการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งวัดสระแก้วและชุมชนได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้กับญาติโยมในการไปใช้ประโยชน์ต่อ ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG C&T OIL สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,800 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ชีวภัณฑ์สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ม้าฮ้อสระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 บาทต่อเดือน 6) ตำบลเนินขี้เหล็ก เป็นชุมชนชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรมหลากหลายชนิด เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนมีรายได้ที่ลดลง ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปสนับสนุนในด้านการลดต้นทุนการผลิตและสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ได้แก่ ปุ๋ยน้ำ CAN Grow Up และน้ำผึ้งสมุนไพร ได้สร้างเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 3,500 บาทต่อเดือน 7) ตำบลยางขาว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางขาว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ และพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท และคลินิกดิน ดังนี้ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำออลดี-พลัส (AllDee-Plus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำที่รวมธาตุอาหารเสริมที่ดีสำหรับพืชไว้ทั้งหมด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดออลดี-โกรว์ (AllDee-Grow) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดที่ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงามขึ้น จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ – คลินิคดิน เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินรายแปลง รวดเร็วทันใจรู้ผลใน 30 นาที จำนวน 1 การบริการ ผลิตภัณฑ์น้ำและปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายได้ในระหว่างโครงการ คิดเป็นยอดเงิน 38,670 บาท หารายได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินในระหว่างโครงการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท มีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการประมาณ 150 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดินปุ๋ยให้กับเกษตรกร ทั้งสิ้น 50 คน มีหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุน 5 หน่วยงาน 1 วิสาหกิจชุมชน 8) ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นชุมชนชนบทที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย ทั้งนาข้าวและพืชไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามีหนุนเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็นปลูกผักปลอดภัยและการจัดการขยะในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – กิจกรรม “รักษ์ผักปลอดสาร” มีผู้เข้าร่วม 18 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,152 บาทต่อเดือน – กิจกรรม “ขยะ 3 ดี สู่ชุมชน” ได้หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนต้นแบบ และได้อาสาสมัคร จำนวน 40 ครอบครัว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,059 บาทต่อเดือน 9) ตำบลเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำปิง ทำให้เป็นแหล่งปลูกพืชสวนและไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฝรั่งที่มีเกษตรกรปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการส่งขายสู่ตลาดในรูปแบบของการขายปลีกและขายส่ง ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมในการลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมักและยกระดับสินค้า โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้ – กิจกรรม “ฝรั่งเก้าเลี้ยว ก้าวไกล” โดยใช้แบรนด์ “ฝรั่งเก้าคุ้ง ตำบลเก้าเลี้ยว” เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน – ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำหมักเลี้ยว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDG1 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 1.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2,8,12,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.3,8.2,12.2,12.3,12.4,17.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://op.mahidol.ac.th/ga/author-96/ | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 ตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ตำบล ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 9 ตำบล ไร่ประพันธ์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | ตำบลเขาทอง
| ||
Key Message* | การจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน, การยกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์, การออกตลาด | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 1.4.1, 1.4.4 |
การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
MU-SDGs Case Study* | การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.ทวีศักดิ์ ชูมา สุชาติ แท่นกระโทก นายธนากร จันหมะกสิต นายยุทธิชัย โฮ้ไทย | ส่วนงานร่วม | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40×40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท Line Plot System โดยวางแนวเส้นฐานในทิศทางเหนือใต้ กำหนดเส้นสำรวจห่างกันแนวละ 200 เมตร และวางแปลงบนเส้นสำรวจทุกระยะ 100 เมตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.10 ของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่เป็นระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ สำรวจพบความหลากหลายของไม้ยืนต้นจำนวน 48 ชนิดใน 42 สกุล 23 วงศ์ ไผ่จำนวน 1 ชนิด และค่าดัชนีความสำคัญของไม้ยืนต้นมีค่าเกิน 10 จำนวน 7 ลำดับแรก ได้แก่ ต้นตะโกนา ต้นสะเดา ต้นยอป่า ต้นตะแบก ต้นพฤกษ์ ต้นชงโค และต้นแสมสาร ตามลำดับ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ พบมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 2,869.05 กิโลกรัมต่อไร่ มวลชีวภาพใต้พื้นดินมีค่าเท่ากับ 803.33 กิโลกรัมต่อไร่ และการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1,726.02 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการประเมินการกักเก็บคาร์บอนทั้งพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 362.24 ตันคาร์บอน ในการนี้ผลของการวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13 “ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น” โดยข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการพื้นที่ป่าไม้ การเสริมศักยภาพพื้นที่ในการกักเก็บคาร์บอนให้มากขึ้น โดยการป้องกันไม่ให้พื้นที่ถูกทำลาย การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ด้วยพรรณไม้ท้องถิ่น และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดความรุนแรงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 15.1,15.2 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
| ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเรียนรู้จากพื้นที่มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว นำไปสู่การเป็น Net Zero ในปี 2573 | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 15.2 |
การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์ นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ | ส่วนงานร่วม | คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้รับผลประโยชน์ ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินการ 1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด 2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง 3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด 4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด ผลกระทบทางสังคม 1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์ 3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด 4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ) | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13,15,16,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 16.7 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566 | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์ นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ | ส่วนงานร่วม | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ |
เนื้อหา* | “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้ ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป ผู้ได้รับผลประโยชน์ ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น ผลการดำเนินการ 1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน 2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด 3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561) 4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด ผลกระทบทางสังคม 1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน 2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้ 3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ 4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้ 5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13,14,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
หนังสือ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ. ดร. กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ อ. ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อ. ดร. จิระพล จิระไกรศิริ อ. ดร. เอกลักษณ์ คันศร Mr. Magnus Findlater |
ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* |
จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีหลากหลายเช่น อาหาร ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เครื่องจักสาน ผ้าทอ วัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สนับสนุนการสร้างสรรค์ บุกเบิก การประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม ตลอดจนการนำวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอุทัยธานีกำลังเป็นที่สนใจการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาและนิเวศวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็นระบบ ข้อมูล เบื้องต้นนี้ได้จากการสัมภาษณ์คุณสมบัติ ชูมา ผู้ศึกษาและวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี จากสถาบันธรรมชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ทาให้เราทราบว่า ทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชาวกระเหรียงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยเป็นที่สนใจของนักท่องเทียวชาต่างชาติจานวนมากในช่วงระยะเวลาก่อนโควิด 19 ระบาดมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจานวนมากสนใจและใช้ระบบการนาทางด้วยดาวเทียม GPS ขับรถมาเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ทราบว่าบุคลากรการท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นยังไม่เคยได้รับการอบรมภาษาอังกฤษและไม่มีคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาติ |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.3.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 1,11,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.4, 11.6, 11.8, 17.4.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* |
1) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 2) ศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 3) สถาบันธรรมชาติพัฒนา จังหวัดอุทัยธานี |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | สังเคราะห์ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ให้สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.3.4 |