MU-SDGs Case Study* | การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อ.ดร.ทวีศักดิ์ ชูมา สุชาติ แท่นกระโทก นายธนากร จันหมะกสิต นายยุทธิชัย โฮ้ไทย | ส่วนงานร่วม | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40×40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท Line Plot System โดยวางแนวเส้นฐานในทิศทางเหนือใต้ กำหนดเส้นสำรวจห่างกันแนวละ 200 เมตร และวางแปลงบนเส้นสำรวจทุกระยะ 100 เมตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.10 ของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่เป็นระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ สำรวจพบความหลากหลายของไม้ยืนต้นจำนวน 48 ชนิดใน 42 สกุล 23 วงศ์ ไผ่จำนวน 1 ชนิด และค่าดัชนีความสำคัญของไม้ยืนต้นมีค่าเกิน 10 จำนวน 7 ลำดับแรก ได้แก่ ต้นตะโกนา ต้นสะเดา ต้นยอป่า ต้นตะแบก ต้นพฤกษ์ ต้นชงโค และต้นแสมสาร ตามลำดับ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ พบมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 2,869.05 กิโลกรัมต่อไร่ มวลชีวภาพใต้พื้นดินมีค่าเท่ากับ 803.33 กิโลกรัมต่อไร่ และการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1,726.02 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการประเมินการกักเก็บคาร์บอนทั้งพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 362.24 ตันคาร์บอน ในการนี้ผลของการวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13 “ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น” โดยข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการพื้นที่ป่าไม้ การเสริมศักยภาพพื้นที่ในการกักเก็บคาร์บอนให้มากขึ้น โดยการป้องกันไม่ให้พื้นที่ถูกทำลาย การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ด้วยพรรณไม้ท้องถิ่น และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดความรุนแรงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 15.1,15.2 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
| ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเรียนรู้จากพื้นที่มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขับเคลื่อนการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว นำไปสู่การเป็น Net Zero ในปี 2573 | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 15.2 |
Author: คังโมยอน
การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์ นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ | ส่วนงานร่วม | คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* | บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้รับผลประโยชน์ ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินการ 1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด 2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง 3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด 4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด ผลกระทบทางสังคม 1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์ 3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด 4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ) | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13,15,16,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 16.7 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566
MU-SDGs Case Study* | การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566 | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ดร.ณพล อนุตตรังกูร | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | นายยุทธิชัย โฮ้ไทย นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ นายธนากร จันหมะกสิต นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์ นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์ | ส่วนงานร่วม | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ |
เนื้อหา* | “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้ ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป ผู้ได้รับผลประโยชน์ ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น ผลการดำเนินการ 1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน 2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด 3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561) 4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด ผลกระทบทางสังคม 1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน 2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้ 3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ 4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้ 5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 6 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 6.4, 6.6, 6.b |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 13,14,15,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 13.1, 15.1 17.1 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
หนังสือ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ) โครงการชลประทานนครสวรรค์ ประมงจังหวัดนครสวรรค์ ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 6.5.5 |
การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
MU-SDGs Case Study* | การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ ชูมา | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | ผศ. ดร. กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์ อ. ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อ. ดร. จิระพล จิระไกรศิริ อ. ดร. เอกลักษณ์ คันศร Mr. Magnus Findlater |
ส่วนงานร่วม | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เนื้อหา* |
จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นช่องทางหรือโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีหลากหลายเช่น อาหาร ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เครื่องจักสาน ผ้าทอ วัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สนับสนุนการสร้างสรรค์ บุกเบิก การประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของวัฒนธรรม ตลอดจนการนำวัฒนธรรมไทยเผยแพร่สู่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดอุทัยธานีกำลังเป็นที่สนใจการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ภูมิปัญญาและนิเวศวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และเป็นระบบ ข้อมูล เบื้องต้นนี้ได้จากการสัมภาษณ์คุณสมบัติ ชูมา ผู้ศึกษาและวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี จากสถาบันธรรมชาติพัฒนา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ทาให้เราทราบว่า ทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชาวกระเหรียงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยเป็นที่สนใจของนักท่องเทียวชาต่างชาติจานวนมากในช่วงระยะเวลาก่อนโควิด 19 ระบาดมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจานวนมากสนใจและใช้ระบบการนาทางด้วยดาวเทียม GPS ขับรถมาเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง ซึ่งทำให้ทราบว่าบุคลากรการท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นยังไม่เคยได้รับการอบรมภาษาอังกฤษและไม่มีคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายสินค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมให้ชาวต่างชาติ |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.3.4 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 1,11,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 11.4, 11.6, 11.8, 17.4.3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 4 | ||
Partners/Stakeholders* |
1) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 2) ศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 3) สถาบันธรรมชาติพัฒนา จังหวัดอุทัยธานี |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | สังเคราะห์ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ให้สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.3.4 |
ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
4
MU-SDGs Case Study* | ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | – | ส่วนงานร่วม | – |
เนื้อหา* | ที่มาและความสำคัญ โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้างรวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี ขอบเขตพื้นที่การศึกษา โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย 2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ 3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน ปีที่จัดกิจกรรม 2566 ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 ปี ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด รูปแบบดำเนินกิจกรรม 1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน 2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์ 3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน 2 เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ 3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 1,2,3,4,8,12,15 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | SDGs 1,2,3,4,8,12,15 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | ||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | |||
MU-SDGs Strategy* | |||
Partners/Stakeholders* | มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว
MU-SDGs Case Study* |
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* |
ธนากร จันหมะกสิต และ ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร |
ส่วนงานหลัก* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม |
– |
ส่วนงานร่วม |
– |
เนื้อหา* |
ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCGEconomy เนื่องจาก อว. มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” นี้ จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจBCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ ตามที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ดำเนิน“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” จากการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่โครงการ ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2565 โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 505,000.-บาท (ห้าแสนห้าพันบาทถ้วน) ตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 25,999 ไร่ ปี 2556 มีประชากร 3,907 คน 1,273 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ และประมง นอกนั้นมีอาชีพรับจ้างค้าขาย จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีมากกว่าสองล้านตันในแต่ปีถูกนำไปใช้ในการผลิตข้าวมากกว่าพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่าสาเหตุหลักของการใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรจำนวนมากยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามความต้องการของข้าว นอกจากต้นทุนการใช้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็นจะเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงแล้ว ยังพบว่าต้นทุนที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของค่าเมล็ดพันธุ์ โดนส่วนใหญ่พบว่าเกษตรกรไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือ การเก็บเมล็ดพันธุ์เองนั้นไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวลดลง ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิตข้าวจึงเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากการทำนา โดยการปรับปรุงและแก้ปัญหาหลัก 2 ประการ คือ เมล็ดพันธุ์ ทั้งคุณภาพและอัตราการใช้ และปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งใช้เกินความจำเป็นและไม่ตรงกับความต้องการของพืช เป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าเมล็ดพันธุ์และค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังช่วยลดการระบาดของโรคแมลง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย ซึ่งในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลจากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกข้าว 159,186 ไร่ ทำให้ค่าปุ๋ยลดลงจากไร่ละ 732 บาท เหลือ 534 บาท หรือลดลง 27% และผลผลิตเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 643 กก. เป็น 703 กก. หรือเพิ่มขึ้น 9% จะเห็นได้ว่าการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพโดยการพิจารณาปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับค่าการวิเคราะห์ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะของดิน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในต้นทุนที่ลดลงต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่จะขับเคลื่อนการลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินผ่านกลไกการจัดตั้งศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดยเกษตรกร ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้เอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศูนย์การจัดการดินปุ๋ยของชุมชนโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม และพร้อมในการให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการดินปุ๋ยแก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการในการทำงานที่บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป |
||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
SDGs 1,2,8,12 |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
SDGs 1,2,8,12 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
|||
MU-SDGs Strategy* |
|||
Partners/Stakeholders* |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ วิสาหกิจชุมชนสามัคคีพันธุ์ข้าว และเกษตรกรใน ต.ยางขาว สำนักงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ |
||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
|||
Key Message* |
|||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)
MU-SDGs Case Study* | โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | อ.ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง อ.ดร.สมสุข พวงดี อ.ดร.ศศิมา วรหาญ อ.ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อ.ดร.เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย นายอภินันท์ ปลอดแก้ว นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | 1.นายยศพัฒน์ ธนอัครสวัสดิ์ | ส่วนงานร่วม | 1.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ |
เนื้อหา* | การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ…. 1. เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) 2. พัฒนาและจัดทำหลักสูตรให้กับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อผู้เรียนสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจ 3. ผู้รียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนในระดับอุดมศึกษา 4. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ การดำเนินงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง คือ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม จัดประชุมร่วมกันเพื่อออกแบบหลักสูตร และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 70 คน จากโรงเรียนพยุหะพิทยาคม และโรงเรียนเขาทองพิทยาคม โดยกำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง และมีการทบทวนหลังทำกิจกรรม (After Action Review-AAR) ระหว่างโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ และคุณครูโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งสองแห่งทุกครั้งที่จัดกิจกรรม เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้การเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก (Free ranch chicken) และการแปรรูปโดยใช้ไข่เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 2. การเชื่อมโยงธุรกิจไข่สู่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ 3. การสร้างการรับรู้ การสร้างแบรนด์ และการขาย 4. การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์” จากผลิตสู่ขาย การจัดการเรียนการสอน กำหนดเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 4, 11, 18 กรกฏาคม และ 1 สิงหาคม 2565 โดยทางโรงเรียนใช้ชั่วโมงการเรียนรู้จากรายวิชาในชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ วิชาชุมนุม และวิชาการงานอาชีพพื้นฐาน โดยคุณครูผู้รับผิดชอบทั้งสองแห่งนำนักเรียนมาเรียนรู้ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล การจัดการเรียนการสอนเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) และผ่านประสบการณ์จริง (Experiential Learning) โดยการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) จากการลงมือปฏิบัติ ผลงาน การนำเสนอ การถอดบทเรียนที่ให้ผู้เรียนได้พูด เขียน หรือแสดงออก รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ
ผลลัพธ์ และประโยชน์ต่อสังคม 1. เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ที่สามารถเก็บหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 2. มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับใบประกาศนียบัตรจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่ผ่านหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร) ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (ตั้งแต่ผลิตสู่ขาย) ติดตัวไป 3. ผู้บริหารและคุณครูจากทั้งสองโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนนักเรียนให้มีประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน และได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงทางโรงเรียนสนใจที่จะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ที่โรงเรียน
มหิดลนครสวรรค์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี) ในวันที่ 28 กันยายน 2565 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภาค 18 และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน โดยในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้รับมอบเกียรติบัตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ ส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ประจำปีงบประมาณ 2565 | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 4,17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 4.1, 4.3, 4.5 17.14 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 2.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | การประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมเวทีประชาคม เพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2565 https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7578 | ||
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางการศึกษาในโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา วันที่ 23 มิถุนายน 2565 https://na.mahidol.ac.th/th/2022/7965 https://www.facebook.com/nswpeo | |||
การจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ครั้ง https://www.facebook.com/smartfarmer.muna/ | |||
มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2” https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan | |||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 2 | ||
Partners/Stakeholders* | 1.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การจัดทำหลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ต่อเนื่องสู่ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเองและเชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 4.1, 4.3, 4.5 |
“รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
MU-SDGs Case Study* | “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ | ||
ผู้ดำเนินการหลัก* | พินณารักษ์ พันธุมาศ | ส่วนงานหลัก* | ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้ดำเนินการร่วม | อติพร อุ่นเป็นนิจย์ | ส่วนงานร่วม | ทีมงานเจ้าหน้าที่โครงการ U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ |
เนื้อหา* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคนผู้ปลูกผักในครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยผ่านการเชิญชวน แนะนำจากผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และทางองคืการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เข้าไปสำรวจค้นหาต้นทุนเดิมของทางชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบนฐานทรัพยากร BCG และสร้างทีมพัฒนา หาความร่วมมือ จัดกระบวนการและวางแนวทางการพัฒนา บนฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม และการยอมรับเกิดความร่วมมือของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การระดมสมองของทีมงานพัฒนาที่มาจากชุมชนและบัณฑิต สังเกต เข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน ถอดบทเรียนการค้นหาปัญหาและข้อมูล เสนอแนะวางแนวทางการแก้ปัญหาพัฒนา ตลอดจนการวางกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมทำ และสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้การผลิต การตลาด และพาทำ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒน และมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กันร่วมด้วย โดยผ่านช่องทางไลน์กลุ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิต ยกระดับการผลิตที่สร้างมูลค่า และสร้างคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค ภายในชุมชน ตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการที่ผ่านมา ในกระบวนการวางแนวทางการพัฒนา คือการเข้าไปสำรวจข้อมูลของทีมงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บ สอบถาม สังเกต มาช่วยกัน Brainstorm วางแผนการพัฒนา โดยเริ่มจากการเสนอโจทย์ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ผ่านผู้นำ หาความร่วมมือ และให้ผู้นำเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกผักไว้รับประทานเอง เมื่อผักรับประทานในครอบครัวแล้วมักจะนำมาขายบริเวณหน้าบ้านตนเอง หลังจากนั้นได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการชักชวนเสนอแนะจากผู้นำชุมชน และทีมงาน มาพูดคุยถอดบทเรียนกัน เพื่อค้นหาปัญหา และความต้องการที่แท้จริง และวางแผน จัดกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่การมีส่วนร่วม และเกิดความยั่งยืน ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านที่ปลูกผักดังกล่าว ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยการให้ความรู้การผลิตผักแบบปลอดสารพิษ ที่ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน เช่น บิวเวอเรีย เมตาไรเชียม ไตรโคเดอร์มา มีการอบรมการฝึกขยายเชื้อ แนะนำการนำไปใช้ในแปลงผลิต เพื่อป้องกันกำจัด โรค แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ หรือในการบำรุง เพิ่มผลผลิต เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำจุลินทรีย์จาวปลวก และการทำปุ๋ยหมักต่างๆ อย่างง่ายเพื่อไว้ใช้เอง มีกระบวนการติดตามตรวจเยี่ยมแปลงของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการให้คำแนะนำปรึกษาผ่าน กลุ่มไลน์ นอกจากการให้ความรู้ในการผลิตที่ดีแล้วเพื่อการยกระดับการผลิตและการสร้างคุณค่า ทางโครงการยังมีการหนุนเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ใบตองมาทำเป็นกระทงใส่พืชผัก จำหน่าย การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า การใช้ตอกแทนยางวงในการมัด เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมกับทางองการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ได้สร้างช่องทางการจำหน่ายภายในชุมชน โดยมีจุดจำหน่ายประจำบริเวณหน้าที่ทำการองการบริหารส่วนตำบล ทุกวันอาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตที่เข้าร่วมพัฒนากับทางโครงการ มีพื้นที่จำหน่ายประจำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน | ||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 2 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 2.3 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 12 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 12.2 ,12.4 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://www.facebook.com/profile.php?id=100057393372665&paipv=0&eav=Afaj79JHuN-V13oiuO4yFQOJIm1LrcAvhDrHux_Vv0foGRsCDBSwGmFC_C9I5XPuhl4 | ||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||
Partners/Stakeholders* | 1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2565 4.ผู้นำชุมชนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 6.กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผัก 18 ครัวเรือน ของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ 7.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | ||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||
Key Message* | “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการใช้โอกาสจากโครงการ U2T เชื่อมโยงต้นทุนเดิมของชุมชนในการผลิตผักในครัวเรือน พัฒนาประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ สู่การผลิตผักที่มีความปลอดภัย สร้างมูลค่าและคุณค่า กับชุมชน โดยการมีส่วนร่วม พึ่งพาตนเอง เสริมสร่างความเข้มแข็งแบบเครือข่าย และการจัดการที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน | ||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 2.5.1 , 2.5.2 ,2.5.3, 2.5.4 |
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
MU-SDGs Case Study* |
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย |
|
ผู้ดำเนินการหลัก นายธนากร จันหมะกสิต |
ส่วนงานหลัก* |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
ผู้ดำเนินการร่วม ดร.ณพล อนุตตรังกูร |
ส่วนงานร่วม |
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
เนื้อหา* |
รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในเชิงอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยคือรูปแบบการเลี้ยงแบบขังกรงตับตลอดช่วงอายุการให้ไข่ของไก่ เนื่องจากการเลี้ยงรูปแบบนี้ง่ายต่อการจัดการตัวไก่ ทั้งในเรื่องของการให้อาหาร การเก็บผลผลิต การดูแลสุขภาพ และมีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำจากการใช้พื้นที่ต่อตัวในการเลี้ยงที่น้อย ทำให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่ในครั้งหนึ่งๆได้เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงยังคงมีข้อจำกัดบางประการ Duncan (1992) การเลี้ยงไก่ไว้ในกรงตับส่งผลกระทบต่อหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) มากที่สุด มีผลให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติลดลง เกิดความผิดปกติของกระดูกเท้า และเท้าไก่ยังมีสุขลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคที่เท้าของไก่ตามมา (Tuason et al., 1999) ซึ่ง Englmaierova et al. (2014) รายงานว่า ระบบการเลี้ยงแบบขังกรงได้ถูกยกเลิกในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2012 แต่ยังอนุญาตให้เลี้ยงไก่ในกรงที่มีการเสริมอุปกรณ์และเพิ่มการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกที่ถูกพัฒนาให้มีการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต การเลี้ยงไก่ไข่แบบทางเลือกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป และในด้านวิชาการก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ทางเลือกเหล่านี้เรื่อยมา Anderson (2011) รายงานว่าการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยพื้นส่งผลให้ไข่ไก่มีปริมาณ เบต้าแคโรทีน (β-carotene) และไขมันรวมที่สูงกว่า และมีดัชนีรูปร่างไข่ที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงตับเช่นเดียวกับสีไข่แดงที่มีความเข้มกว่าไข่แดงที่ได้จากไก่ที่เลี้ยงในกรงตับ (Vandenbrand et al., 2004) จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมางานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบทางเลือกส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในต่างประเทศซึ่งบริบทในด้านต่างๆ ก็แตกต่างจากในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทยยังมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่น้อย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงต้องการเปรียบเทียบระบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และปล่อยพื้นแบบมีพื้นที่ปล่อยออกสู่ภายนอกโรงเรือน (ปล่อยอิสระ) เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบทางเลือกในท้องตลาดยังมีราคาที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าให้กับไข่ไก่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อีกทางหนึ่ง |
|
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* |
2.1, 2.2, 2.3,2.4,2.a |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ |
12.8,12.a |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * |
https://youtu.be/kx9z-K-CX1U |
|
https://youtu.be/CsJurfC9xoY | ||
https://youtu.be/TQvKDV-350g | ||
https://youtu.be/njuF3mKLitU | ||
MU-SDGs Strategy* |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 |
|
Partners/Stakeholders* |
ประชาชนที่สนใจ |
|
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* |
||
Key Message* |
การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม และยึดหลักจริยธรรม |
|
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง |
2.5.1 |
ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN
MU-SDGs Case Study* | ผลของกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ THE EFFECT OF MEDICINE BAG TO HELP THE NATION IN CHRONIC NON-COMMUNICABLE DISEASE PATIENTS IN KHAO THONG SUB-DISTRICT, PHAYUHA KHIRI DISTRICT, NAKHON SAWAN | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก* | ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์ | ส่วนงานหลัก* | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ | ||||
ผู้ดำเนินการร่วม | นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ | ส่วนงานร่วม | ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ | ||||
เนื้อหา* | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. โดยประเมินผลกับผู้ป่วยจำนวน 276 คน กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 และทำการประเมินผลในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ข้อมูลสะท้อนว่ากระเป๋ากระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลามากขึ้นร้อยละ 86.2 ผู้ป่วยส่งคืนยาด้วยกระเป๋าคืนยาช่วยชาติมากถึงร้อยละ 85 และร้อยละ 85.9 ของผู้ป่วยพอใจกระเป๋าในระดับสูง ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน มีช่องใส่ป้ายชื่อ วัสดุแข็งแรงทนทาน ชอบรูปร่างหน้าตาและสีสันของกระเป๋า ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ วิธีการดำเนินการ 1) ผลิตกระเป๋าคืนยาช่วยชาติขึ้นมาจำนวน 1,000 ใบ เพื่อเป็นนวัตกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินยาตรงเวลาและให้นำยาเหลือใช้กลับมาคืน รพ.สต. กระเป๋าคืนยาช่วยชาติมีขนาด 12 นิ้ว × 15 นิ้ว ถูกแจกจ่ายพร้อมชี้แจงแนวทางการใช้กระเป๋าให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านเขาทอง จำนวน 990 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 2) โครงการจัดทำบทวิทยุเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋าคืนยาช่วยชาติที่เหมาะสมตามเป้าหมายของโครงการ ส่งต่อสถานีวิทยุชุมชนตำบลเขาทอง ขอความอนุเคราะห์ให้เปิดบทวิทยุสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กระเป๋า โดยสถานีวิทยุจะเปิดทุกวัน ในทุกต้นชั่วโมงก่อนเข้ารายการปกติ รวมจำนวน 7 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี 3) ทำการประเมินผลกระเป๋าคืนยาช่วยชาติในเดือนเมษายน พ.ศ.2565 กับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 276 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบตามบัญชีรายชื่อผู้รับกระเป๋า และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีพนักงานเก็บข้อมูลลงเก็บข้อมูลตามบ้านและทำหน้าที่สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย ผลกระทบ – ยาที่นำกลับมาคืน จะถูกบริหารจัดการนำกลับไปใช้ใหม่ตามความเหมาะสม ในส่วนของยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุจะถูกส่งต่อไปทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง – ยาเหลือตกค้างในครัวเรือนลดลง ลดโอกาสที่ยาจะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม – เมื่อผู้ป่วยกินยาได้ตรงเวลา จะทำให้อาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ไม่เพิ่มความรุนแรงขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายของประเทศเกี่ยวกับยาได้ – ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนว่านวัตกรรมกระเป๋าคืนยาช่วยชาติสามารถเป็นต้นแบบและขยายผลสู่พื้นที่ได้ | ||||||
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* | SDGs 3 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* | 3.3 (3.3.1,3.3.2) , 3.7, 3.d | ||||
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง | SDGs 17 | เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ | 17.4.3 | ||||
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * | https://sites.google.com/view/skur/โครงการวจย/ยาเหลอใช?authuser=0 | ||||||
MU-SDGs Strategy* | ยุทธศาสตร์ที่ 3 | ||||||
Partners/Stakeholders* | – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สนับสนุนทุนในการจัดทำกระเป๋าคืนยาช่วยชาติ | ||||||
ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* | |||||||
Key Message* | “กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ นวัตกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกินยาได้ตรงเวลา และนำยากลับมาคืน รพ.สต.” | ||||||
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง | 3.3.1, 3.3.2 |