การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

MU-SDGs Case Study*

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในสวนยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางสาวอติพร โพธิ์แก้ว

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer)
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร.สมสุข พวงดี
ผศ.ดร. ศศิมา วรหาญ

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์

1. สร้างแหล่งอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยให้แก่ครอบครัวและชุมชน

2. เพิ่มรายได้จากธุรกิจไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพารา

3. เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา

4. จัดการหมุนเวียนเศษเหลือทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์

สืบเนื่องจากโครงการนี้เป็น senior project ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง (SMART Farmer) นางสาวอติพร โพธิ์แก้วได้นำความรู้และทักษะจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยมาพัฒนาระบบการเกษตรที่บ้านเกิดให้ยั่งยืนและเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนระบบการเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว (Monoculture) เน้นการปลูกสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน รายได้หลักจึงมาจากผลผลิตจากยางพารา และปาล์มน้ำมัน พืชทั้งสองชนิดนี้ใช้เวลาเก็บเกี่ยวในครั้งแรกนานถึง 5-6 และ 4-7 ปี ตามลำดับ และถูกควบคุมราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากข้อจำกัดทั้งสอง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายรับไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีรายได้น้อย ในแง่ของระบบนิเวศ การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในชุมชนนาวงลดลง ผลที่ตามคือการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช และพึ่งพาแหล่งอาหารจากภายนอกมากขึ้น 

พื้นที่ตัวอย่างในการทำปริญญานิพนธ์ เป็นพื้นที่ที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวเช่นกัน การปลูกผลไม้แซมริมขอบสวนยางพาราจึงถูกริเริ่มเพื่อหาแนวทางลดข้อจำกัดดังกล่าว เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ลองกอง และกล้วย เป็นต้น ผลที่ตามมาคือครอบครัวมีรายได้จากการจำหน่ายผลไม้ทั้งสดและแปรรูปในช่วงผลไม้ให้ผลผลิต รวมถึงสร้างการแบ่งปันให้คนในชุมชนเป็นบางครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและเกิดการหมุนเวียนมูลเป็นปุ๋ยให้พืชได้ขึ้นเอง เนื่องจากนกและไก่ป่าเข้ามาอยู่อาศัยในสวนยางพาราผสมผลไม้ และขับถ่ายมูลลงมาตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีการปลูกผลไม้ร่วมกับยางพารา แม้จะมีข้อดีดังกล่าว แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นตามฤดูกาลเท่านั้น 

ระหว่างการเรียนรู้การทำธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก ภายใต้แบรนด์ “the teak chicken” ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ากลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพมีอยู่จริง และพร้อมยอมจ่ายให้กับไข่ที่มีคุณภาพ สด ปลอดภัย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวจึงมองเห็นโอกาสการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้รายวันในสวนยางพาราของตัวเองได้ และการหมุนเวียนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่ส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนมาใช้เป็นอาหารไก่เพื่อลดต้นทุน

ผลลัพธ์ของ senior project พบว่าการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถ
•สร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่สด ปลอดภัย มีคุณภาพ และจำหน่ายในราคาที่ชุมชนเข้าถึงได้
•สร้างรายได้รายวันจากการจำหน่ายไข่ไก่และรายเดือนจากการจำหน่ายปุ๋ยมูลไก่ให้แก่ครอบครัว
•เพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสวนยางพารา
•จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นเหม็นจากกากมะพร้าวคั้นกะทิในชุมชน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 2.3, 2.4
12.3, 12.a, 12.b 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs15

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 15.1, 15.4, 15.9
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

https://www.facebook.com/profile.php?id=100024874219328&mibextid=LQQJ4d

https://youtube.com/shorts/U2mDfcVcKgc?si=ph1oFacX2sUILKhI

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ชุมชนบ้านไสบ่อ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในสวนยางพาราสามารถดำเนินเป็นธุรกิจในชุมชนได้ ไม่เพียงสร้างรายได้รายวันเท่านั้น แต่ยังสร้างแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ สด และปลอดภัยให้แก่ชุมชนได้เข้าถึงในราคาไม่แพง (SDGs2, 12) นอกจากนี้การเลี้ยงไก่ไข่ยังช่วยเพิ่มสิ่งมีชีวิตในสวนยางพาราให้มีความหลากหลายได้อีกด้วย (SDGs15) ในแง่สิ่งแวดล้อมการเลี้ยงไก่ไข่ในสวนยางพาราช่วยเปลี่ยนกากมะพร้าวคั้นกะทิที่เหลือทิ้งเป็นไข่ที่มีคุณภาพ และหมุนเวียนมูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้อย่างครบวงจร (SDGs12) ดังนั้นผลประกอบการครั้งนี้จึงเป็นโมเดลธุรกิจให้ผู้ปลูกยางพาราเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสวนยางพารา ในท้ายสุดสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.1, 2.5.3, 2.5.4

Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

MU-SDGs Case Study*

Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ส่วนงานร่วม

หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ  โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning) 

2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

3. เพื่อสร้างการมีจิตอาสาผ่านกิจกรมสาธารณะ

 

บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน

เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

วันที่ 12 พ.ค. 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

 

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ 2 หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลยางขาว จัดให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดินของตำบล และการต่อยอดสู่การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนายธนากร จันหะมกสิต (นักวิชาการเกษตร) สังกัดศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการฝึกตรวจดินภาคสนามและให้บริการกับชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมส่งตรวจอย่างดินเพื่อวิเคราะห์จำนวน 50 ราย 

นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกทักษะ (Upskill) ให้กับน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน, การวิเคราะห์ดิน และการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย 

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.4,2.5

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs4,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

 4.7,12.a,17.7
Links ข้อมูลเพิ่มเติม *  

https://www.facebook.com/share/p/17k8tJnd9H/

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
4. หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

17.4.3, 2.4.1, 2.5.2

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
ดร.ณพล อนุตตรังกูร
นายจิระเดช บุญมาก
ดร.วชิระ กว้างขวาง
รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด

ส่วนงานร่วม

1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดินตะกอนบึงบอระเพ็ดที่มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ให้สามารถเพาะปลูกพืชได้โดยการผสมกับปุ๋ยหมักที่ทำจากวัชพืชน้ำของบึงบอระเพ็ดในอัตราส่วนต่างๆ
2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกในดินที่ปรับปรุงคุณภาพแล้ว
3. เพื่อศึกษาลักษณะทางประสาทสัมผัสของพืชที่ปลูกในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
โดยงานวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาในประเด็นที่ 7 เกี่ยวกับตะกอนดินบึงบอระเพ็ดและวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2564 ลุ่มน้ำภาคกลางและภาคตะวันออกจำนวน 19 จังหวัด มีการจัดเก็บวัชพืชน้ำประมาณ 4,513,836.75 ตัน (มติชนออนไลน์, 2564) โดยพบว่าการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำในแหล่งน้ำที่มีเป็นจำนวนมากและการทับถมของตะกอนดินส่งผลให้แหล่งน้ำตื้นเขิน โดยวัชพืชน้ำส่งผลกระทบในหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง และภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการบริหารจัดการปีละหลายร้อยล้านบาท สำหรับบึงบอระเพ็ดพบว่าวัชพืชน้ำที่ส่วนใหญ่ 95% เป็นผักตบชวาที่มีการเจริญเติบโตและการทับถมอยู่เป็นจำนวนมากภายในบึงบอระเพ็ดและคลองสาขาของบึงบอระเพ็ด โดยมีหน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ดภายใต้กำกับดูแลของกรมประมงเข้ามาทำการขุดลอกวัชพืชน้ำ และนำไปกองไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงบอระเพ็ดหรือบริเวณขอบของตลิ่งบึงบอระเพ็ดในเขตพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์บึงบอระเพ็ดและชาวบ้านโดยรอบ อีกทั้งยังไม่ได้มีการนำวัชพืชน้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้บึงบอระเพ็ดยังมีปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินเนื่องจากตะกอนดินไหลมาพร้อมกับน้ำเข้ามายังบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในหน้าแล้งลดลง จากการศึกษาของ ณพล อนุตตรังกูร และคณะ (2561) รายงานว่าอัตราการชะล้างพังทลายของดินที่ลงมาสู่บึงบอระเพ็ดมีจำนวนปีละ 2,890,000 ลูกบาศก์เมตร โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้อนุมัติให้มีการดำเนินการขุดลอกตะกอนดินภายในบึงบอระเพ็ดเพื่อแก้ไขปัญหาการตื้นเขิน ซึ่งมีปริมาณตะกอนดินที่ขุดลอกถึงปีละไม่น้อยกว่า 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังมีหน่วยงานภายในจังหวัดขุดลอกอยู่เป็นประจำตามรอบ (มติชนออนไลน์, 2559)
ในปัจจุบันปัญหาของปริมาณวัชพืชน้ำที่มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการตื้นเขินและประสิทธิภาพของบึงบอระเพ็ด โดยวัชพืชน้ำนั้นยากต่อการกำจัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแหล่งน้ำในด้านต่างๆ เพราะทำให้สูญเสียเวลา แรงงาน และงบประมาณในการจัดการ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546) ดังนั้น จึงมีความพยายามหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณและเพิ่มมูลค่า ซึ่งเป็นการบูรณาการและการจัดการในเชิงพื้นที่ โดยพบว่ามีการนำวัชพืชน้ำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิเช่น วัสดุรองพื้นในการเลี้ยงไส้เดือน (พีรยุทธ สิริฐนกร และคณะ, 2557) การทำปุ๋ยจากผักตบชวาเพื่อการปลูกพืช (เฉลิมชัย แพะคำ และคณะ, 2557; จักรกฤช ศรีลออ และคณะ, 2363; ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์, 2559)
จากการศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินบึงบอระเพ็ด พบว่ามีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชโดยมีค่าความเป็นกรดด่างของดินเท่ากับ 5.3 และปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ อีกทั้งตะกอนดินที่ถูกพัดพามาทับถมทุกปีและวัชพืชน้ำที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อปริมาณการกักเก็บน้ำและคุณภาพของน้ำในบึงบอระเพ็ด เป็นสาเหตุให้กักเก็บน้ำได้ลดลงและน้ำที่มีความขุ่นจึงมีผลต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการขุดลอกทุกปี ดังนั้นจากสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) จึงมีข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำตะกอนดินที่มีการขุดลอกจากการดำเนินการของสำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์มาปรับปรุงสภาพดินให้มีคุณสมบัติที่สามารถปลูกพืชและนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ด้วยการผสมกับปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ได้จากการขุดลอกจากบึงบอระเพ็ดซึ่งนำมากองไว้ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยการศึกษานี้ได้ผสมปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำและตะกอนดินในอัตราส่วนต่างๆทั้งหมด 8 สิ่งทดลอง หลังจากนั้นตรวจสอบสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ พร้อมทั้งทดลองปลูกคะน้าในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ และทดสอบทางประสาทสัมผัสของคะน้า เมื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการปรับปรุงคุณภาพก็พบว่าทุกสิ่งทดลองตะกอนดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณฟอสฟอรัสที่แลกเปลี่ยนได้, ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ รวมทั้งค่าการนำไฟฟ้า และค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และที่อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน เมื่อพิจารณาจากน้ำหนักสดของคะน้าพบว่าสิ่งทดลองที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ สิ่งทดลอง T2, T7 และ T8 ซึ่งประกอบด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 100%, ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ : ตะกอนดิน ในอัตราส่วน 50% : 50% และ 60% : 40% ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักสดของคะน้ามีค่าสูงกว่าสิ่งทดลองอื่นๆ และเมื่อทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยให้ผู้ทดสอบจำนวน 40 คน ทำการชิมผักคะน้าพบว่าคะน้าในสิ่งทดลอง T2 มีค่าเฉลี่ยความชอบโดยรวม, สี, รสชาติ และเนื้อสัมผัสสูงที่สุด รองลงมาคือ T7 และ T8 ตามลำดับ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่นำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างตะกอนดินและวัชพืชน้ำไปสู่การใช้ประโยชน์ และยังสามารถลดปัญหาของบึงบอระเพ็ดได้อีกด้วย 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.2,6.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*


รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%)

Key Message*

ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.1, 12.4.1

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์
อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
นางสาวศิริญา มีประดิษฐ

ส่วนงานร่วม

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขา SMART Farmer
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาต้นแบบการทำนาปีที่ลดการใช้ปุ๋ยเคมีของชุมชนรอบวิทยาเขต
2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย ประกอบกับพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย อีกทั้งนางสาวอิศริยาภรณ์ พรมพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา SMART Farmer มีความสนใจทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พื้นที่นาของครอบครัวเป็นพื้นที่ศึกษา (lesson learn) ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการดำเนินการโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการจะเป็นแปลงต้นแบบตัวอย่างของการทำนาที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด

นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการดังกล่าวฯ ยังสอดคล้องกับรายวิชาหมอดิน และรายวิชาวิทยาศาสตร์การผลิตพืช ซึ่งเป็นรายวิชาในชั้นปีที่ 2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ในหัวข้อธาตุอาหารในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน ไปสู่การร่วมเก็บข้อมูลจริงในแปลงทดลองของรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วย (real world situation) และยังก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องอีกด้วย

โดยโครงการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ: การตรวจดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในดิน และคำนวณปริมาณธาตุอาหารในดินตามหลักการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสั่งตัด
2. ระหว่างทำโครงการ: เตรียมแปลงปลูกข้าวโดยแบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นเริ่มทำการปลูกข้าว โดยแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะใช้วิธีการปลูกและการใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรทำปกติ สำหรับแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัด, เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวที่อายุ 60, 90 และ 120 วัน, เก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต และผลิตของข้าว
3. หลังทำโครงการ: วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทางสถิติระหว่างแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด และแปลงที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด จากนั้นถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและครอบเกษตรกรเจ้าของแปลง รวมทั้งรวบรวมข้อมูลปัญหาอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินการและขยายผลในอนาคต

จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการปลูกข้าว พบว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าปุ๋ยได้ 6% จากเดิม 24% เหลือ 18% และน้ำหนักข้าวเปลือกต่อไร่ที่ความชื่น 14% จากการคำนวณน้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกในการปลูกข้าวแบบนาหว่านพื้นที่ 1 ไร่ พบว่านาที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 1400 กก./ไร่ ในขณะที่นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยสั่งตัดมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 860 กก./ไร่ จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมรวม 26 กก./ไร่ เหลือ 22 กก./ไร่ แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าวและพื้นที่ และเป็นการลดใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถลดการสะสมของปุ๋เคมีในดินและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.a , 4.7

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://r01.ldd.go.th/spb/Document%2059/puisangtat.pdf
https://youtu.be/reiJhsyXxd4?si=n199pLYeCNgol6tX
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย (SDGs12) และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตร

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.4.1, 2.5.2, 2.5.3

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

MU-SDGs Case Study*

โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer)

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
2. ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง
3. ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์

ส่วนงานร่วม

 

เนื้อหา*

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้

เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นนี้ ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและประสบการณ์จริง (Authentic learning) รวมถึงการทำธุรกิจเกษตร พร้อมฝึกใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย วิเคราะห์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร อีกทั้งหลักสูตรยังมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรมักพบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาดและการขาย

นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีโปรแกรมช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน โดยให้นักศึกษาสามารถนำวัตถุดิบจากฟาร์ม เช่น ไข่ไก่ ไปประกอบอาหารเพื่อบริโภค โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมจะต้องช่วยงานในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เชิงปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับนักศึกษาเองอีกด้วย

หลักสูตรนี้ยังได้รับการออกแบบให้บัณฑิตมีทักษะในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนต่อสังคม โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การลดความเหลื่อมล้ำ การมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม การส่งเสริมแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG2,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3, 2.4, 2.5
4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs1,3, 10,12,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

1.2.1, 1.3, 1.4.1
3.3.2
17.2.2

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

1. รายการ Deschooling| ThaiPBS ห้องเรียนข้ามเส้น “อุดมศึกษา Flexy University ทันโลก”
2. กิจกรรมนอกห้องเรียน เซ็นโยเซฟ
3. จากการเรียนธุรกิจไก่ไข่ สู่ขายคอร์สความรู้กับ นักเรียน
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหอการค้า จ.นครสวรรค์
5. จัดแสดงผลงานโปรเจ็ค นศ. ปี 4 พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ของ นศ. ปี3 ที่ห้างสรรพสินค้า V Sqaure นครสวรรค์
6. มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตอบโจทย์สำคัญโดยประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เกษตรกรปราชญ์เปรื่องเพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน” พร้อมทั้งเปิดกว้างการเรียนรู้สู่นักเรียนและเยาวชนในระดับมัธยม
7. ธุรกิจการเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในป่าสัก
8. มหิดลนครสวรรค์ร่วมงานสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากการศึกษาระดับภาค “รวมใจ ไขความลัดสู่ขุมทรัพทย์แห่งปัญญา ขับเคลื่อนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาเหนือตอนล่าง 2”
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล/ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครสวรรค์/ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์/ศูนย์การเรียนรู้ภูทอง จังหวัดนครสวรรค์/ ชุมชนตำบลเขาทอง/ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา นครสวรรค์/ ผู้รักสุขภาพ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
นายกสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้มหาวิทยาลัยมหิดลเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้การประกอบการด้านการเกษตรภายในวิทยาเขตนครสวรรค์


ท่านองคมนตรี ผอ.สำนักงานศึกษาธิการศึกษา หอการค้า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้


ถ่ายทำรายการ Deschooling| ThaiPBS และรายการท่องเที่ยว จังหวัดนครสวรรค์


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทั้งนักเรียนไทยและและชาวต่างชาติ และคอร์สเรียนรู้ “ผู้ประกอบการวัยเยาว์”

Key Message*

1. The good education is not confined to textbooks and classrooms alone. It is a dynamic process that occurs through interactions, real-world experiences and exposure to new idea. These processes provide students with the skills and knowledge they need to thrive in the complexities of the modern world.
2. By educating people in the community, Nakhonsawan campus has contributed to knowledge and skill development.

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.2.1, 1.3, 1.4.1
2.3,2.4, 2.5,
3.3.2
4.3
17.2.2

การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG

MU-SDGs Case Study*

การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ผศ.ดร.สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
อ.ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
นายสิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ
นายธนากร จันหมะกสิต
นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

 

ส่วนงานร่วม

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก
องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินขี้เหล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

เนื้อหา*

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเสริมศักยภาพชุมชนจำนวน 9 ตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ตำบลเขาทอง ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ตำบลเขากะลา ตำบลเนินมะกอก ตำบลสระแก้ว ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลยางขาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และตำบลเก้าเลี้ยว โดยมีการจ้างงานของคนในพื้นที่ประเภทบัณฑิต 46 คน และประชาชน 46 คน รวมทั้งหมด 86 คน เพื่อช่วยขับเคลื่อนในการเสริมศักยภาพชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1) ตำบลเขาทอง เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงวัว จึงประสบปัญหามีปริมาณขยะในชุมชนและมีมูลวัวจำนวนมาก จึงเล็งเห็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับมูลวัว และการจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน โครงการจึงเข้ามาอบรมประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ปราชญ์ดินดี อินทรีย์โบกาฉิ” และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของประชาชนในหมู่ 9 ตำบลเขาทอง ให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งมีการทำเป็นโครงการธนาคารขยะ เพื่อรับซื้อขยะภายในกลุ่มสมาชิกและบุคคลภายนอก (ตามข้อตกลงกลุ่ม) มีการกระตุ้นและพัฒนาให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงอื่น เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ขยะเขาทอง ขายออมเป็นเงิน” โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์ปราชญ์ดินดีอินทรีย์โบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,500 บาทต่อเดือน
– การจัดการขยะในชุมชน ด้วยการลดขยะ รับซื้อขยะในชุมชนสามารถเก็บเป็นเงินออม และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 30 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งหมด 2,740 บาทต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 992.25 บาทต่อเดือน
2) ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็นตำบลที่มีเกษตรกรที่เลี้ยงแพะและเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมูลแพะและมูลวัวที่ปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จึงเห็นโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับมูลแพะและมูลวัว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมกระบวนการหมักปุ๋ยแบบแห้งและใช้ระยะเวลาสั้น ที่เรียกว่าปุ๋ย “โบกาฉิ” เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดิน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลแพะ ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคม G.E. เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,250 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลวัว ภายใต้แบรนด์มูลแพะนิคมโบกาฉิ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22,550 บาทต่อเดือน
3) ตำบลเขากะลา เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ทำให้ชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวด้วยการปลูกอ้อย โดยในพื้นที่มีไร่ประพันธ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านในตำบลเขากะลามีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากการปลูกอ้อยขายสู่การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัยและไวน์อ้อย ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– Rebranding น้ำอ้อยคั้นสดปลอดภัย เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน
– ผลิตไวน์อ้อย (Sugarcane Wine) เกิดเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ Mont KALA ไร่ประพันธ์ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,426 บาทต่อเดือน
4) ตำบลเนินมะกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งมีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ประชาชนประสบปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาให้ความรู้กับชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมความรู้เชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยตามความต้องการของชนิดพืช การทำธุรกิจด้วย แผนธุรกิจแคนวาส การตั้งราคาสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการทำการตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยชุมชนมีการเปิดเพจทั้งบนแพล็ตฟอร์ม Facebook และ TIKTOK เพื่อให้กุล่มลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย
จากการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการข้างต้น เกิดผลผลิต 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำตราประดู่ทอง และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดตราประดู่ทอง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ชุมชนตำบลเนินมะกอกมีการเปิดบัญชี เพื่อนำเงินรายได้สะสมเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโดยคนในชุมชนที่ผ่านการอบรมในโครงการ U2T ต่อไป
5) ตำบลสระแก้ว มีความโดดเด่นในด้านการแปรรูปสมุนไพร ซึ่งวัดสระแก้วและชุมชนได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้กับญาติโยมในการไปใช้ประโยชน์ต่อ ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG C&T OIL สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,800 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ชีวภัณฑ์สระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและชีวภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ U2T for BCG ม้าฮ้อสระแก้ว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 บาทต่อเดือน
6) ตำบลเนินขี้เหล็ก เป็นชุมชนชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรมหลากหลายชนิด เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนมีรายได้ที่ลดลง ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้เข้าไปสนับสนุนในด้านการลดต้นทุนการผลิตและสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ได้แก่ ปุ๋ยน้ำ CAN Grow Up และน้ำผึ้งสมุนไพร ได้สร้างเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 3,500 บาทต่อเดือน
7) ตำบลยางขาว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางขาว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ และพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท และคลินิกดิน ดังนี้
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำออลดี-พลัส (AllDee-Plus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำที่รวมธาตุอาหารเสริมที่ดีสำหรับพืชไว้ทั้งหมด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดออลดี-โกรว์ (AllDee-Grow) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกล็ดที่ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตงอกงามขึ้น จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
– คลินิคดิน เป็นการให้บริการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินรายแปลง รวดเร็วทันใจรู้ผลใน 30 นาที จำนวน 1 การบริการ
ผลิตภัณฑ์น้ำและปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายได้ในระหว่างโครงการ คิดเป็นยอดเงิน 38,670 บาท หารายได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินในระหว่างโครงการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท มีเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการประมาณ 150 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการดินปุ๋ยให้กับเกษตรกร ทั้งสิ้น 50 คน มีหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุน 5 หน่วยงาน 1 วิสาหกิจชุมชน
8) ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นชุมชนชนบทที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย ทั้งนาข้าวและพืชไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามีหนุนเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็นปลูกผักปลอดภัยและการจัดการขยะในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– กิจกรรม “รักษ์ผักปลอดสาร” มีผู้เข้าร่วม 18 ครัวเรือน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,152 บาทต่อเดือน
– กิจกรรม “ขยะ 3 ดี สู่ชุมชน” ได้หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนต้นแบบ และได้อาสาสมัคร
จำนวน 40 ครอบครัว เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,059 บาทต่อเดือน
9) ตำบลเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำปิง ทำให้เป็นแหล่งปลูกพืชสวนและไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฝรั่งที่มีเกษตรกรปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการส่งขายสู่ตลาดในรูปแบบของการขายปลีกและขายส่ง ในการนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมในการลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมักและยกระดับสินค้า โดยกิจกรรมของโครงการทำให้เกิดผล ดังนี้
– กิจกรรม “ฝรั่งเก้าเลี้ยว ก้าวไกล” โดยใช้แบรนด์ “ฝรั่งเก้าคุ้ง ตำบลเก้าเลี้ยว” เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สร้างรายได้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10,000 บาทต่อเดือน
– ได้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำหมักเลี้ยว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 500 บาทต่อเดือน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG1

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

1.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2,8,12,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3,8.2,12.2,12.3,12.4,17.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://op.mahidol.ac.th/ga/author-96/
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ตำบล
กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 ตำบล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ตำบล
ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 9 ตำบล
ไร่ประพันธ์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 ตำบลเขาทอง
 
 ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว

ตำบลเขากะลา

ตำบลเนินมะกอก
  
ตำบลสระแก้ว

ตำบลเนินขี้เหล็ก

ตำบลยางขาว

ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

Key Message*

การจัดการวัสดุเหลือใช้ในชุมชน, การยกระดับให้เกิดผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์, การออกตลาด

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

1.4.1, 1.4.4

ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

4

MU-SDGs Case Study*ที่ปรึกษาโครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ดำเนินการหลัก* นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ ส่วนงานหลัก*โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วมส่วนงานร่วม
เนื้อหา*ที่มาและความสำคัญ   โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
ที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร
มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
รวมถึงเพื่อเป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคตด้วย  ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการบ่มเพาะประสบการณ์มาก่อนมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ในการผลิตอาหารปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่มีคุณภาพที่หลากหลายสามารถลดต้นทุนได้ มีการผลิตปุ๋ยหมักที่ผ่านการคิดค้นสูตรที่ให้ผลดีกับการเจริญเติบโตของพืช การทำดินผสมปลูกที่ตอบโจทย์ในการใช้งานเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาดที่ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการทำการตลาดออนไลน์อย่างง่ายมาใช้ในการทำตลาด และยังได้รับการหนุนเสริมที่ดีจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง การยอมรับและการให้ความร่วมมือที่ดีจากชุมชนต่าง ๆ จึงควรเข้าไปมี่ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี

ขอบเขตพื้นที่การศึกษา   โครงการตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

วัตถุประสงค์  

1. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และพัฒนาเครือข่าย

2. เพื่อบริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้

3. เพื่อสร้างความรู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชน หน่วยงาน

ปีที่จัดกิจกรรม  2566

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง  1 ปี

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ  เครือข่ายเกษตรกร, ชุมชน, หน่วยงานภายในจังหวัด

รูปแบบดำเนินกิจกรรม  

1.ให้คำแนะนำ ปรึกษา การบริหารจัดการโครงการ การวางแผนงาน

2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ และการเก็บเมล็ดพันธุ์

3.ติดตาม ประเมินผล และวางแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี สภ.หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ตำรวจพันธุ์ดี จำนวน 10 นาย เครือข่ายเกษตรกร จำนวน  2  เครือข่าย และผู้ถูกคุมประพฤติ จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ  

1.นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.เป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเอง ให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ
ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม
และสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง

3.เป็นพื้นที่ในการเก็บ สำรอง และแบ่งปัน ช่วยเหลือ ด้านเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ขาดแคลนหรือพื้นที่จำเป็นยามสภาวะฉุกเฉินในอนาคต

 
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*SDGs 1,2,3,4,8,12,15เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*SDGs 1,2,3,4,8,12,15
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ 
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 
 
 Facebook
 
MU-SDGs Strategy* 
Partners/Stakeholders*

มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี

สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุทัยธานี

เครือข่ายเกษตรกร อำเภอหนองฉาง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)* 
Key Message*โครงการตำรวจพันธุ์ดี เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมนำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพึ่งพาตนเองให้กับกำลังพลและครอบครัวตำรวจ ได้มีความรู้ในทำการเกษตร มีผลผลิตบริโภคภายในครัวเรือน ลดภาระรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มและสามารถถ่ายทอด แบ่งปันความรู้จากการปฏิบัติสู่ชุมชนรอบข้าง
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง 

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว

MU-SDGs Case Study*

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว

ผู้ดำเนินการหลัก*

ธนากร จันหมะกสิต และ ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร 

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

         ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCGEconomy เนื่องจาก อว. มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” นี้ จะเป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจBCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่

ตามที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ดำเนิน“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” จากการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่โครงการ ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม  ถึง 30 กันยายน 2565 โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 505,000.-บาท (ห้าแสนห้าพันบาทถ้วน)

ตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 25,999 ไร่ ปี 2556 มีประชากร 3,907 คน 1,273 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ และประมง นอกนั้นมีอาชีพรับจ้างค้าขาย 

จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีมากกว่าสองล้านตันในแต่ปีถูกนำไปใช้ในการผลิตข้าวมากกว่าพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่าสาเหตุหลักของการใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรจำนวนมากยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามความต้องการของข้าว นอกจากต้นทุนการใช้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็นจะเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูงแล้ว ยังพบว่าต้นทุนที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของค่าเมล็ดพันธุ์ โดนส่วนใหญ่พบว่าเกษตรกรไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง หรือ การเก็บเมล็ดพันธุ์เองนั้นไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวลดลง

ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิตข้าวจึงเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากการทำนา โดยการปรับปรุงและแก้ปัญหาหลัก 2 ประการ คือ เมล็ดพันธุ์ ทั้งคุณภาพและอัตราการใช้ และปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งใช้เกินความจำเป็นและไม่ตรงกับความต้องการของพืช เป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าเมล็ดพันธุ์และค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังช่วยลดการระบาดของโรคแมลง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย ซึ่งในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานผลจากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกข้าว 159,186 ไร่ ทำให้ค่าปุ๋ยลดลงจากไร่ละ 732 บาท เหลือ 534 บาท หรือลดลง 27% และผลผลิตเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 643 กก. เป็น 703 กก. หรือเพิ่มขึ้น 9% จะเห็นได้ว่าการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพโดยการพิจารณาปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับค่าการวิเคราะห์ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะของดิน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในต้นทุนที่ลดลงต่อไป 

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่จะขับเคลื่อนการลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินผ่านกลไกการจัดตั้งศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนที่มีการบริหารจัดการโดยเกษตรกร ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้เอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศูนย์การจัดการดินปุ๋ยของชุมชนโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม และพร้อมในการให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการดินปุ๋ยแก่เกษตรกร อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการในการทำงานที่บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 1,2,8,12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

SDGs 1,2,8,12

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 
 
 

MU-SDGs Strategy*

Partners/Stakeholders*

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

วิสาหกิจชุมชนสามัคคีพันธุ์ข้าว และเกษตรกรใน ต.ยางขาว

สำนักงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครสวรรค์

 

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

   

Key Message*

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

“รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

MU-SDGs Case Study*

“รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

ผู้ดำเนินการหลัก*

พินณารักษ์ พันธุมาศ

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อติพร อุ่นเป็นนิจย์
ศรัณย์รัชต์ พูลพันธ์
ภัคพล อ่อนแก้ว
ดรุณี เอี่ยมอุดม
นันทวัฒน์ ชูแผ้ว
สุวิชญา พงษ์กสิกรณ์
นพเก้า กุลาวงษ์
นายดนัย อินทวัน
วัชรพล สอนจีน
สุชาดา เกตุพุ่ม

ส่วนงานร่วม

ทีมงานเจ้าหน้าที่โครงการ U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

          “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน  และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน

          โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคนผู้ปลูกผักในครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยผ่านการเชิญชวน แนะนำจากผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และทางองคืการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เข้าไปสำรวจค้นหาต้นทุนเดิมของทางชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบนฐานทรัพยากร BCG และสร้างทีมพัฒนา หาความร่วมมือ จัดกระบวนการและวางแนวทางการพัฒนา บนฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม และการยอมรับเกิดความร่วมมือของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การระดมสมองของทีมงานพัฒนาที่มาจากชุมชนและบัณฑิต สังเกต เข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน  ถอดบทเรียนการค้นหาปัญหาและข้อมูล เสนอแนะวางแนวทางการแก้ปัญหาพัฒนา ตลอดจนการวางกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมทำ และสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้การผลิต การตลาด และพาทำ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒน และมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กันร่วมด้วย โดยผ่านช่องทางไลน์กลุ่ม  เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิต ยกระดับการผลิตที่สร้างมูลค่า และสร้างคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค ภายในชุมชน

          ตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการที่ผ่านมา ในกระบวนการวางแนวทางการพัฒนา คือการเข้าไปสำรวจข้อมูลของทีมงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บ สอบถาม สังเกต มาช่วยกัน Brainstorm วางแผนการพัฒนา โดยเริ่มจากการเสนอโจทย์ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ผ่านผู้นำ หาความร่วมมือ และให้ผู้นำเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกผักไว้รับประทานเอง เมื่อผักรับประทานในครอบครัวแล้วมักจะนำมาขายบริเวณหน้าบ้านตนเอง หลังจากนั้นได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการชักชวนเสนอแนะจากผู้นำชุมชน และทีมงาน มาพูดคุยถอดบทเรียนกัน เพื่อค้นหาปัญหา และความต้องการที่แท้จริง และวางแผน จัดกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่การมีส่วนร่วม และเกิดความยั่งยืน ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านที่ปลูกผักดังกล่าว ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 18 ครัวเรือน  โดยการให้ความรู้การผลิตผักแบบปลอดสารพิษ ที่ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน เช่น บิวเวอเรีย เมตาไรเชียม ไตรโคเดอร์มา มีการอบรมการฝึกขยายเชื้อ แนะนำการนำไปใช้ในแปลงผลิต เพื่อป้องกันกำจัด โรค แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ หรือในการบำรุง เพิ่มผลผลิต เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำจุลินทรีย์จาวปลวก และการทำปุ๋ยหมักต่างๆ อย่างง่ายเพื่อไว้ใช้เอง มีกระบวนการติดตามตรวจเยี่ยมแปลงของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการให้คำแนะนำปรึกษาผ่าน กลุ่มไลน์ นอกจากการให้ความรู้ในการผลิตที่ดีแล้วเพื่อการยกระดับการผลิตและการสร้างคุณค่า ทางโครงการยังมีการหนุนเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ใบตองมาทำเป็นกระทงใส่พืชผัก จำหน่าย การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า การใช้ตอกแทนยางวงในการมัด เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมกับทางองการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ได้สร้างช่องทางการจำหน่ายภายในชุมชน โดยมีจุดจำหน่ายประจำบริเวณหน้าที่ทำการองการบริหารส่วนตำบล ทุกวันอาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตที่เข้าร่วมพัฒนากับทางโครงการ มีพื้นที่จำหน่ายประจำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.2 ,12.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/profile.php?id=100057393372665&paipv=0&eav=Afaj79JHuN-V13oiuO4yFQOJIm1LrcAvhDrHux_Vv0foGRsCDBSwGmFC_C9I5XPuhl4

 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2565

4.ผู้นำชุมชนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

6.กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผัก 18 ครัวเรือน ของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

7.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

“รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการใช้โอกาสจากโครงการ U2T เชื่อมโยงต้นทุนเดิมของชุมชนในการผลิตผักในครัวเรือน พัฒนาประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ สู่การผลิตผักที่มีความปลอดภัย  สร้างมูลค่าและคุณค่า กับชุมชน โดยการมีส่วนร่วม พึ่งพาตนเอง เสริมสร่างความเข้มแข็งแบบเครือข่าย และการจัดการที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.5.1 , 2.5.2 ,2.5.3, 2.5.4

การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย

ผู้ดำเนินการหลัก  นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม  ดร.ณพล อนุตตรังกูร
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

     รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในเชิงอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยคือรูปแบบการเลี้ยงแบบขังกรงตับตลอดช่วงอายุการให้ไข่ของไก่ เนื่องจากการเลี้ยงรูปแบบนี้ง่ายต่อการจัดการตัวไก่ ทั้งในเรื่องของการให้อาหาร การเก็บผลผลิต การดูแลสุขภาพ และมีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำจากการใช้พื้นที่ต่อตัวในการเลี้ยงที่น้อย ทำให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่ในครั้งหนึ่งๆได้เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงยังคงมีข้อจำกัดบางประการ Duncan (1992) การเลี้ยงไก่ไว้ในกรงตับส่งผลกระทบต่อหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) มากที่สุด มีผลให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติลดลง เกิดความผิดปกติของกระดูกเท้า และเท้าไก่ยังมีสุขลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคที่เท้าของไก่ตามมา (Tuason et al., 1999) ซึ่ง Englmaierova et al. (2014) รายงานว่า ระบบการเลี้ยงแบบขังกรงได้ถูกยกเลิกในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2012 แต่ยังอนุญาตให้เลี้ยงไก่ในกรงที่มีการเสริมอุปกรณ์และเพิ่มการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกที่ถูกพัฒนาให้มีการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มมากขึ้น 

     ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต 

     การเลี้ยงไก่ไข่แบบทางเลือกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป และในด้านวิชาการก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ทางเลือกเหล่านี้เรื่อยมา Anderson (2011) รายงานว่าการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยพื้นส่งผลให้ไข่ไก่มีปริมาณ เบต้าแคโรทีน (β-carotene) และไขมันรวมที่สูงกว่า และมีดัชนีรูปร่างไข่ที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงตับเช่นเดียวกับสีไข่แดงที่มีความเข้มกว่าไข่แดงที่ได้จากไก่ที่เลี้ยงในกรงตับ (Vandenbrand et al., 2004) จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมางานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบทางเลือกส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในต่างประเทศซึ่งบริบทในด้านต่างๆ ก็แตกต่างจากในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่วนในประเทศไทยยังมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่น้อย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงต้องการเปรียบเทียบระบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และปล่อยพื้นแบบมีพื้นที่ปล่อยออกสู่ภายนอกโรงเรือน (ปล่อยอิสระ) เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงไก่ในระบบทางเลือกของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบทางเลือกในท้องตลาดยังมีราคาที่สูงกว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงในรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าให้กับไข่ไก่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อีกทางหนึ่ง

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 2.2, 2.3,2.4,2.a

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.8,12.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://youtu.be/kx9z-K-CX1U

https://youtu.be/CsJurfC9xoY
https://youtu.be/TQvKDV-350g
https://youtu.be/njuF3mKLitU

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

ประชาชนที่สนใจ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม และยึดหลักจริยธรรม

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.5.1