เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์

MU-SDGs Case Study*

เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นางศศิธร มารัตน์

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์
น.ส.ลัดดาวัลย์ โพธิวิจิตร
นายทวีศักดิ์ ปฐม

ส่วนงานร่วม

ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

เนื้อหา*

     สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่19 (Covid- 19) ประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากรัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอย  งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน เห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชนจึงจัดทำโครงการขึ้น 
     โครงการเป็นการร่วมมือโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล  องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทองซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)รวม 21 คน การจัดกระบวนการเป็นการให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัดเน้นการออกกำลังกายและการฝึกบริหารปอดให้ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ปฏิบัติตัวทุกๆวันตลอดระยะเวลาที่กักตัว  14  วัน การให้ความรู้ด้านการพยาบาลให้สังเกตุอาการและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง  นอกจากดูแลกายแล้ว การดูแลสถาพจิตใจก็มีความจำเป็น จากการพูดคุยผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยมีภาวะความเรียดทั้งเรื่องงานและรู้สึกผิดต่อผู้ที่ได้ใกล้ชิดและสัมผัส จึงออกแบบกระบวนการตามหลักของจิตตปัญญา ออกแบบกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและสะท้อนคิด
     จากการให้ความรู้และการปฏิบัติตัว ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยเดินออกกำลังกายทุกเช้า ฝึกบริหารปอดและเฝ้าสังเกตุอาการผิดปกติของตนเองได้ถูกต้อง ในการจัดกระบวนการผ่านการถ่ายภาพอย่างมีสติและการวาดภาพเพื่อฝึกสมาธิและการสะท้อนคิด ผู้ที่อยู่ศูนย์พักคอยได้ระบายความรู้สึก และเข้าใจในสถานการณ์ของการระบาดทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่กล่าวโทษตนเองที่เป็นต้นเหตุนอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในศูนย์พักคอยได้มีโอกาสอยู่กับตนเองและได้วางแผนการจัดการชีวิตของตนเองหลังออกจากศูนย์พักคอย

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3, 3.4, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*


Key Message*

การจัดกระบวนการเพื่อเยียวยาจิตใจและช่วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่มาพักค้างที่ศูนย์พักคอยให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายความวิตกกังวลและให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะพักค้างที่ศูนย์พักคอย

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2

ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง

MU-SDGs Case Study*

ทันตกรรมทันใจด้วยแอพพลิเคชั่นเขาทอง

ผู้ดำเนินการหลัก*

พินณารักษ์ พันธุมาศ

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์
นางสาวฐิติกานต์ บุตรพึ่ง
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

แอปพลิเคชันตำบลเขาทอง เป็นการนำทุนสังคมเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน  และสร้างกลไกลการขับเคลื่อน ส่งต่อ และนำไปใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน

โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับชุมชน คณะกรรมการ ผู้นำชุมชน อสม. ภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ การสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับของชุมชน ตั้งแต่การเข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลในชุมชนจากครัวเรือน การค้นหาปัญหา การบอกเล่าปัญหาของชุมชน  ตลอดจนการร่วมคิด ร่วมทำ และการให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา จากการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้มีการสร้างกลุ่มห้องแชท ผ่าน Line OpenChat และ LINE Official Account เพื่อการติดต่อสื่อสาร จนนำไปสู่การทำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง  คือใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน บนพื้นฐานการปรับวิถีใหม่ของชุมชนบนสถานการณ์ new normal เพื่อเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม เท่าทัน ของคนในชุมชนทุกระดับ

ตัวอย่างจากการนำแอปพลิเคชันตำบลเขาทอง มาใช้ประโยชน์ในการจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง  เพื่อแก้ปัญหาในการเข้าถึงการบริการที่ล่าช้า และมีผู้เข้าใช้บริการในระบบสาธารณสุขจำนวนมาก ส่งผลให้สามารถลดระยะเวลาการรอคอยรับบริการ และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมารอคอยรับบริการ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทองได้ ซึ่งโดยเฉพาะในส่วนของด้านทันตกรรม ที่ต้องมีการให้บริการเคลือบฟันฟลูออไรด์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ในชุมชนตำบลเขาทอง และตำบลใกล้เคียง มักพบปัญหาการนัดหมายการเข้าใช้บริการที่ไม่แน่นอน ยากต่อการคาดเดา เมื่อมีการนำแอปพลิเคชันไปใช้ในการจองคิวและนัดหมาย ผู้ให้บริการสามารถทำงานง่ายขึ้น และได้ตามเป้าหมายงานที่วางแผนงานไว้  ในส่วนของผู้ปกครองที่ใช้บริการก็สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในบางรายยังพบว่า ในกรณีที่ผู้ปกครองเด็กซึ่งทำงานอยู่นอกพื้นที่ ในต่างจังหวัด ยิ่งได้รับความสะดวกสบายในการนัดหมายจองคิวให้บุตรตนเอง และอาศัยให้ ปู่ย่า ตายาย ที่เลี้ยงดูเด็ก พามารับบริการตามนัดหมายได้เลย

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.3, 3.4, 3.7, 3.8, 3.d

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

4.7

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=722922012048655&id=358573098483550

https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fliff.line.me%2F1645278921-kWRPP32q%2F%3FaccountId%3Dkhaotong%26fbclid%3DIwAR3WAXBJS4pIeBoLpA-NDC79AAvAZxpyTGyka4M9qiC_-RVgwCtOcq2fBUI&h=AT0eKEMviOyUOcC6tgKMgtSJDrolyYcmamtM-Y4F7a1SpoA9z2nqToGB5rfgjU4tqgCtU4M57-pYG-eQ-6IhxZ9cUovEckkcbHNgk_v9aJGJY6w3HnPx4NGfkIS5ZQeQ5_v6&__tn__=R]-R&c[0]=AT3SzJDGID2x35QSMidgr1IGJoYl9-WThXZVlnqCyTAdEC6c8PFoSifIUwLuEjouZla4Iq1H0qJyvOCy89kZWYqnSBiCcLA5OVP6xhDyrq8K0lSGufM1S7oi9UgUE_XjJ5PKtwf3v-walwry-nxYmN8UEQoB-5EZoRFb1TyDDdbB16puXl3kpUuxpuo726Fy1Y3rQyB5U37WISltlSLZZBs0rxwKOjBi7A

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2564

3.พระครูนิภาธรรมวงศ์  เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

4.ผู้นำชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

6.นายอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

7.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

8.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

ทันตกรรมทันใจด้วยแอปพลิเคชันเขาทอง เป็นการเชื่อมโยงและนำเทคโนโลยี Social Media มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในตำบลเขาทอง เพื่อสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และความเท่าทันให้แก่คนในชุมชน มีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันสู่การจองคิวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)

MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (Community participation in palliative care at home: Khao Thong Subdistrict Phayuhakhiri District Nakhonsawan Province)

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข
นางสาวสุภักดิ์ อุทานวรพจน์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง

เนื้อหา*

แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต หลายคนเมื่อรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเองก็เลือกที่จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก จึงเกิดความต้องการดูแลประคับประคองที่บ้าน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่อยู่ในชุมชนและคนในครอบครัว เพื่อร่วมจัดกิจกรรมช่วยให้เผชิญความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตอย่างสงบ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ดูแล 12 หมู่บ้าน ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต.บ้านเขาทอง พ.ศ. 2564 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่จริงจำนวน 5,352 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 1,639 คน คิดเป็นร้อยละ 30.62 ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 326 คนคิดเป็น 19.89 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,614 ราย  ซึ่งป่วยด้วยโรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคจิตเวช โรคไตวายเรื้อรัง และโรคมะเร็ง ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้สูงอายุระยะบั้นปลายของชีวิตจำนวน 24 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน

ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังเข้าถึงบริการได้ไม่ครอบคลุม ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาระงานและจำนวนของบุคลกรในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีจำกัด ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการระหว่างหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีความล่าช้า อีกทั้งเจ้าหน้าที่และเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนขาดความมั่นใจในการดูแลด้านจิตใจ ผู้ดำเนินการจึงใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยนำผลการทำวิจัยและพัฒนารูปแบบแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประยุกต์ใช้ร่วมกับการภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของชุมชนตำบลเขาทอง จัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบททางสังคมของชุมชน โดยประยุกต์กิจกรรมร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.

การดำเนินกิจกรรม

1.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน

2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่ชุมชน

3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยแต่ละราย รายละเอียดการเจ็บป่วย เพื่อวางแผนการให้บริการ

4.ประสานงานชี้แจงรูปแบบกิจกรรมการดูแล แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ แกนนำชุมชม อสม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้บริการ และกำหนดนัดหมาย

5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแผนการดูแลสำหรับการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย 

6.ให้บริการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ตามลักษณะและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว 

7.กำหนดนัดหมายการดูแลต่อเนื่องตามลักษณะความต้องการของผู้ป่วย
 
8.สรุปผลการให้การดูแล รายงานผลการดูแลผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้การดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 18  ราย จำแนกเป็น เพศชาย 10 ราย เพศหญิง 8 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  4 ราย ผู้สูงอายุระยะบั้นปลายและป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 9 ราย เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ราย  ผู้ที่ได้รับการดูแล มี คะแนน PPS อยู่ระหว่าง 10 – 80 คะแนน เฉลี่ยคือ 41 คะแนน อัตราการเข้าถึงบริการร้อยละ 75 ประชาชนในชุมชน ญาติ และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับซึ่งประเมินได้จากท่าทีและคำพูดที่แสดงความขอบคุณให้กับทีมผู้รับดำเนินกิจกรรม

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.7 

3(c)

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

17.4.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257441?fbclid=IwAR0k-4W9FFtt10lbdIzQ25ic3olEtki6MfjygMjcgZ6eEcDXSVYM5u2cN3g

https://www.facebook.com/257376708255620/posts/pfbid02uhMm3RAQAV9cvEWUoqQQwh33AbLdC8GyHQ4hdYV8ifh6XKjvwxLtGQB6t8ApdMDAl/

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kvfBQcWMFT1yvePcDGAQ6S53fyEGZVanHSyEuBpAP13L3dPfd5ESdxAvDyprDxH7l&id=100001448635895

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนเขาทอง

เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพยุหะคีรี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาทอง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขาทอง

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเสมอภาค การดูแลประคับประคองที่บ้านถือเป็นบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มของความต้องการมากขึ้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจะนำมาซึ่งการจัดบริการอย่างครอบคลุมและเกิดความยั่งยืนในชุมชน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1

3.3.2

โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) เพิ่มเติม เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น (https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1344113766077148/?d=n)

ทางผู้บริหารสถานศึกษานั้นมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศเพิ่มเติมไปยังอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ บริเวณชั้น 1 จำนวน 2 ห้อง และ บริเวณชั้น 2 จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 ห้อง ซึ่งห้องน้ำทั้ง 4 ห้องนี้ ถือเป็นห้องนำเสนอภาคที่ไม่กีดกัน และเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรือ มีความบกพร่องทางร่างกายหรือไม่ ก็สามารถใช้ห้องน้ำแห่งนี้ได้อย่างเสมอภาค

ทั้งนี้ ทางโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตต่อไปในอนาคต

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0HYVSR3Uoh8ej68oLTu5bjmxQaYFPyFQ9sK1K8L3LMM7L5obDsT6sgnBAovw6YLfel/?d=n&mibextid=wxGVb6

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6, 10.6.7, 10.6.9

โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน

MU-SDGs Case Study*

โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.ศศิมา วรหาญ
อ.วรารัตน์ หนูวัฒนา

ส่วนงานหลัก*

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

เนื้อหา*

1. บทนำ
ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร ความเป็นอยู่และอาหารการกินของประชาชนในชุมชน ยังเป็นลักษณะคล้ายกับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญจากตัวเมืองทั่วไป โดยวิถีการบริโภคอาหารในพื้นที่มีลักษณะเป็นร้านอาหารของคนในชุมชน ตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ซึ่งยังคงต้องพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีสาเหตุทั้งจากเชื้อก่อโรคและสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องสร้างระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ดังนั้น หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน จึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อสร้างระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนเขาทองขึ้น  โดยเก็บตัวอย่างอาหารจากร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย ตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหารทั้งด้านเคมีและจุลินทรีย์ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารในชุมชนเขาทอง เป็นการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากสิ่งปนเปื้อนในอาหารแก่ผู้ประกอบการและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในชุมชนและผู้มาเยือน ซึ่งในระยะยาวจะเกิดเป็นระบบอาหารปลอดภัยในชุมชน จนเกิดความยั่งยืนด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้ 

2. วัตถุประสงค์

       1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารด้านสารเคมีและจุลินทรีย์บ่งชี้ความสกปรกของอาหารและน้ำปนเปื้อน ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์  

       2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ใน ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์  

       3. เพื่อฝึกนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ให้มีทักษะการตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร และการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีและจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร และรู้หลักการจัดการด้านอาหารปลอดภัย

3. วิธีการดำเนินการ

1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง เพื่อจัดทำโครงการ ร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย ทราบกิจกรรมของโครงการ

3. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ภายใต้รายวิชา นวสธ 322 ความปลอดภัยของอาหารและการสุขาภิบาลอาหาร เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร น้ำและน้ำแข็ง ด้านเคมี ได้แก่ สารบอแรกซ์, กรดซาลิไซลิก, โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ฟอร์มาลิน สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และสารกำจัดแมลงตกค้าง และตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร ได้แก่ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยใช้ชุดตรวจอย่างง่าย

4. จัดทำรายงานผลตรวจสิ่งปนเปื้อนด้านเคมีและจุลินทรีย์ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง และคืนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย โดยนักศึกษาจะจัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้ผลกระทบด้านสุขภาพและแนะนำวิธีการจัดการอาหารเพื่อลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอย 

5. รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการระหว่างลงพื้นที่ และสรุปผลการดำเนินงาน

4. ผลผลิตและผลลัพธ์
    1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชนได้เฝ้าระวังและทราบ
สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนต่อเนื่องกันทุกปี
    2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร ตลาดนัด แผงลอยในชุมชนเขาทองทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตน
จำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุดิบอาหาร 

    3. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ได้ฝึกทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและทักษะการเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสิ่งปนเปื้อนทางเคมีและด้านจุลินทรีย์ (โคลิฟอร์ม) รวมถึงการแจ้งผลตรวจและให้ความรู้ผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งที่ตรวจพบ และให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

5. ผลกระทบ
การร่วมมือระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของชุมชน ในการลงพื้นที่ตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหารและน้ำตามร้านอาหารและแผงลอย ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี 5 เดือน ทำให้ทราบสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารบริโภคในชุมชนเขาทองเพื่อการเฝ้าระวังให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนได้ทราบข้อมูลสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารที่ตนจำหน่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้ปลอดภัยมากขึ้น และตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งปนเปื้อนที่ตรวจพบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปลูกจิตสำนึกด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการรับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการ ในปีถัดไปจึงยินดีให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหาร อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้บริโภคทั้งที่อาศัยในชุมชนและผู้มาเยือนมีความมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยในการใช้บริการร้านอาหาร แผงลอยในชุมชนเขาทองมากขึ้น ลดโอกาสการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากอาหารและน้ำได้ ทำให้ระบบความปลอดภัยด้านอาหารเกิดขึ้นในชุมชน เป็นการสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

2.1, 3.3.1, 3.3.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดินให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2573

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ผู้จัดการออนไลน์ 20-5-65 https://mgronline.com/science/detail/9650000048094

LINE TODAY 19-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/KwWZ63r?utm_source=copyshare

LINE TODAY 20-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/YaEl8pa?utm_source=copyshare

 

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 17-5-65

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. อาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

4. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
 
 
 
 

Key Message*

“ความเข้มแข็งด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ยั่งยืน เกิดจากพื้นฐานความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน ที่เกิดจากความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยในพื้นที่”

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

2.1, 3.3.1, 3.3.2

โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

โครงการพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.ดร.กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ยุวรีย์ อินทร์เพ็ญ
อ.ธนัญญา เณรตาก้อง
อ.เอกลักษณ์ เด็กยอง
อ.ทัตติยา ทองสุขดี
อ.นิศานาถ ทองใบ
อ.ไอศวรรยา ยอดวงษ์

ส่วนงานร่วม

1.องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์
3.ชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์
4.อสม.ตำบลวัดไทรย์

เนื้อหา*

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนแรง และเกิดสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลงกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ ร่วมกับโอกาสในการติดเชื้อจากญาติหรือผู้ดูแลที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง อวัยวะภายในร่างกายอาจถูกทำลาย และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมถึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกต้อง อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ การรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และการขาดความตระหนักในการปฏิบัติ พฤติกรรรมการปฏิบัติตัวที่บ้าน ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ   

การส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ ได้นั้นต้องพัฒนาทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 2) ทักษะความรู้ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ 3) ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการสุขภาพ และสามารถนำข้อมูลไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นยอมรับและเข้าใจ 4) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพก่อนตัดสินใจเชื่อหรือปฏิบัติตาม 5) ทักษะการตัดสินใจในการเลือกข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และ 6) ทักษะการจัดการตนเองโดยสามารถนำข้อมูลสุขภาพที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ที่จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับปฏิสัมพันธ์ และ 3) ระดับวิจารณญาณ โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และผู้สูงอายุ การให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และอสม. และการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และอสม.ในการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ

กิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสายพันธุ์ใหม่ โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กิจกรรมพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพโดยสอนการเลือกสื่อ แหล่งความรู้จากหลายช่องทาง รวมทั้งทางอินเทอร์เน็ต สอนสาธิตการใช้แอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ให้ลงมือปฏิบัติโดยมีพี่เลี้ยง การใช้เกมส์บัตรคำ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว กิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เทคนิค 1 คำถามในการจัดการตนเอง พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสื่อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการตัดสินใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลือกใช้สื่อ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น การสนทนาเพื่อการสะท้อนคิด (Reflecting conversation) การสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันฯ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้รับคือ ทั้งผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์มีความรู้ และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือสายพันธุ์ใหม่ สูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโครงการ และมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ระดับมากที่สุด จากการติดตามผลหลังการทำกิจกรรม พบว่า สามารถนำกิจกรรมที่ทำไปใช้ได้จริงถ้าอายุไม่มากกว่า 70 ปี มีการกระตุ้นความรู้และการใช้โทรศัพท์ในการค้นหาข้อมูลโดยชมรมผู้สูงอายุ และอสม.

 
 
 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3, 17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.1, 3.2, 3.3

17.4.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.moph.go.th/

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mor.promplus&hl=th&gl=US

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ktb.thaichana.prod&hl=th&gl=US

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
 
 
 
  

Key Message*

ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และสายพันธุ์ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.1.7, 3.3.1

โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

อ.เบญจพร พุดซา

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น

ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” โดย อ.เบญจพร พุดซา ได้ร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเนื้อหาในการพูดคุยนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากรายวิชา นวสธ 103 การเมืองกับสุขภาพ (Politics and Health) และ นวสธ 215 ประชากรกับผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Population and health Effects) รวมไปถึงประเด็น เรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการพูดถึงแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ไปยังพื้นที่อื่นอย่างครอบคลุม อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แนวทางในการขยายพื้นที่ต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0N1D8HAStzuK8dSH8imcxSnSfSz2xjiBuzA9AMwRiGLKMMyvKjNU9D3UkWGN3ick8l/?d=n&mibextid=wxGVb6

https://youtu.be/zXoJASchgbU

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและแนวทางในการขยายพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 4.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการเผยแพร่ความสำเร็จของต้นแบบห้องนำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความสำเร็จของการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักศึกษาเรื่องห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคนนั้น

ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 16.30 – 17.30 น. ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงาน “บรรเลงเพลง for PRIDE” และร่วมเสวนา หัวข้อ “สมรสเท่าเทียม” ในประเด็นเรื่อง การขับเคลื่อนห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom) ในพื้นที่สถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศที่ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้ง ถือว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการส่งต่อต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศในสถานศึกษาไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้จังหวัดนครสวรรค์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid0FLPQx5Y4sazDE3TQRS7j3p1y8JPcFYWGGehxZVPQitWdR1dFuuWrosyZazSzjxfzl/?d=n&mibextid=wxGVb6

https://youtu.be/zXoJASchgbU

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

กลุ่ม นครสวรรค์ดีขึ้น – Better Nakhonsawan

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
   
    
    
    

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยแพร่ความสำเร็จในการจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

MU-SDGs Case Study*

โครงการต้นแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

ผู้ดำเนินการหลัก*

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 2 และ 4

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

 

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ที่มีใจความสำคัญว่านักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษาตามอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพหรือเพศสภาวะที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดก็ได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ ซึ่งรวมถึงการแต่งกายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีรับอนุปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรด้วย แต่กลับพบปัญหาว่านักศึกษาที่แต่งตัวตามอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำในสถานศึกษานั้นมีเพียงห้องน้ำสำหรับเพศชาย และเพศหญิงเท่านั้น 

ดังนั้น เมื่อนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้เรียนในรายวิชา NWNW 322 การจัดการความรู้เบื้องต้น (Fundamental of Knowledge Management) จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All-Gender Restroom) อยู่หนใด” เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก 1) ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3) คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งทั้ง 3 ท่านได้เปิดมุมมองในเรื่องของห้องน้ำเสมอภาค และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนให้เกิดห้องน้ำเสมอภาค

หลังจากกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษาในการผลักดันให้เกิดห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น โดยผู้บริหารมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณหอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพักให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้บริการห้องน้ำสำหรับทุกเพศขึ้น เมื่อนักศึกษามาใช้บริการก็รู้สึกปลอดภัยเหมือนห้องน้ำที่บ้านที่ไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยกทางเพศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักศึกษารู้สึกสบายใจ มีความสุข รู้สึกว่าไม่ถูกตีตรา หรือถูกเลือกปฏิบัติ อีกทั้ง พร้อมที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อสุขภาวะของทุกคน โดยทางวิทยาเขตจะจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศให้ครอบคลุมทุกอาคารในพื้นที่ในวิทยาเขตในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 10

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

10.2

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 3,4

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

3.4, 3.d, 4.7, 4.a

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/pfbid02MYfqMTWQ8fXuTdw4qfjfuKjRLRhmwE6Xk9AfMTmFqiBGK5V9cioUDhvz96ZAh9KQl/?d=n&mibextid=wxGVb6

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3,4

Partners/Stakeholders*

นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 
     
       
       
       

Key Message*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำต้นแบบสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) ขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.2, 4.3.5, 10.6.4, 10.6.5, 10.6.6

 

โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน

MU-SDGs Case Study*

โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs (Non-Communicable diseases) ซึ่งพวกเขามักจะรับประทานยาไม่ถูกต้องและมักจะลืมรับประทานยาอยู่บ่อยครั้ง มีการจัดเก็บยาหมดอายุปะปนกับยาที่ได้รับในแต่ละเดือน ยาบางชนิดรับประทานหมดก่อนเวลานัด หรือรับประทานผิดเวลา ผู้ดูแลไม่มีเวลาจัดยาให้ผู้ป่วย และผู้ป่วยจัดยารับประทานยาเองไม่ถูกต้อง เพราะมีข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามมา

 

ดังนั้น นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “โครงการนวัตกรรมกระเป๋ายาช่วยเหลือผู้ป่วย NCDs ที่อ่านไม่ออกได้กินยาถูกขนาด ถูกจำนวน” ณ ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มเย็บผ้า ผู้นำชุมชน และ อสม. ในการทำกระเป๋ายาสำหรับผู้ป่วย NCDs สูงอายุที่อ่านไม่ออก ซึ่งนักศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้นได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่โดยการนำถุงอาหารสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นขยะในชุมชนมาตัดเย็บเป็นกระเป๋ายาดังกล่าว นอกจากนี้นักศึกษาและ อสม. ได้ช่วยจัดยาให้กลุ่มผู้ป่วยลงในซองยาใหม่ที่ใช้ภาพของช่วงเวลาแทนตัวหนังสือ พร้อมทั้งให้กลุ่มผู้ป่วยฝึกท่องจำรูปภาพด้วยข้อความที่คล้องจองกันว่า “ตอนเช้าไก่ขัน กลางวันเที่ยงตรง ยามเย็นพระอาทิตย์ตก ก่อนนอนมีพระจันทร์” ส่งผลให้พวกเขาสามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 3

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

3.4

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

12.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1290650491423476/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลหนองหาร โรงพยาบาลสันทราย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

2. กลุ่มเย็บผ้า ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

3. ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านดอยน้อยพัฒนา ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การส่งเสริมให้ผู้ป่วย NCDs ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน สามารถจำเวลารับประทานยาได้ง่าย รับประทานยาได้อย่างถูกต้องและถูกเวลาด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการประดิษฐ์นวัตกรรมนวัตกรรมกระเป๋ายาที่ใช้ง่ายและเหมาะกับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 12.2.4, 12.3.2