การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

MU-SDGs Case Study*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์
นายธนากร จันหมะกสิต
นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2567 ภาคีเครือข่ายบึงบอระเพ็ดได้มีการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่และขับเคลื่อนตลอดมาตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกลไกที่ใช้องค์กรผู้ใช้น้ำในการขับเคลื่อนจากภาคประชาชน ซึ่งเดิมมีการจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดครบแล้วจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพระนอน ตำบลวังมหากร ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ และตำบลเกรียงไกร ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสู่พื้นที่ต้นน้ำนอกบึงบอระเพ็ด โดยปี 2566 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลพนมรอก และปี 2567 มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลวังใหญ่ ตำบลไผ่สิงห์ และตำบลสายลำโพง พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนล่าง ซึ่งไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ มีการแบ่งปันการใช้น้ำ และการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐในการรักษาระดับน้ำ และสูบน้ำรักษาระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำภาคการมีส่วนร่วมของจังหวัดนครสวรรค์ ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายบึงบอระเพ็ดกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ดตามหลักวิชาการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนอีกด้วย

เมื่อเกิดระบบการบริหารจัดการน้ำแล้ว ทำให้มีการขับเคลื่อนประเด็นต่อมาเป็นการพัฒนาอาชีพที่มีการทดลองปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้ขับเคลื่อนโครงการที่มีกิจกรรมย่อยในการทำนาเปียกสลับแห้ง ที่มีการใช้น้ำน้อยเพื่อลดการใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ด และการนำพืชน้ำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่จะปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยายกาศได้ โดยเบื้องต้นได้มีการทดลองทำในพื้นที่ตำบลพระนอน และตำบลวังมหากร ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะขยายสู่ส่วนใหญ่ของบึงบอระเพ็ดต่อไป

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ภาคประชาชน ได้รับการจัดสรรน้ำ มีการแบ่งปันกันใช้น้ำอย่างเที่ยงธรรม 

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs13,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม * 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.facebook.com/MUNAkhonsawan/videos/270841642755512

ม.มหิดล ร่วมนำเสนอข้อมูลให้กับท่านราชเลขานุการในสพระองค์
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/13291

การออกสื่อสาธารณะ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337926?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1Eg4EvBDNThdqRm-hLmX42p3aEBWEXsJzCWRw2Vub4EgK9PRyvhEwT_eo_aem_AQw-VZjwG00nG0FP4VCvKvjZybYGsCzWtnQTDRM8DiyFoO_jVCDqbCn8f2SFumNN0HbcYf8frP3uUC6yIub7kUaW

การบริการวิชาการให้กับเครือข่าย
https://na.mahidol.ac.th/th/2024/12986

 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
โครงการชลประทานนครสวรรค์
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

MU-SDGs Case Study*

โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

ดร.ปัณฑารีย์ แต้ประยูร

ดร.ปิยะเทพ อาวะกุล

ดร.พรพิรัตน์ คันธธาศิริ

นายธนากร จันหมะกสิต

นางสาววิมลรัตน์ อัตถบูรณ์

ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

เนื้อหา*

ความสำคัญ

บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา นอกจากนี้การทำนาปรังส่งผลให้เกิดการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ส่วนพืชน้ำที่เจริญเติบโตหนีน้ำไม่ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก จะทำให้เกิดหญ้าเน่าจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน ในการนี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นการทำนาปรังและน้ำท่วมวัชพืชในช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีแนวคิดในการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วยการปรับวิธีการทำนาจากนาปรังเป็นนาเปียกสลับแห้งที่ใช้น้ำน้อยและปลดปล่อยก๊าซมีเทนน้อยกว่านาปรังหลายเท่า และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมให้นำวัชพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ดมาใช้ประโยชน์แปรรูปเป็นปุ๋ยที่สร้างรายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลพระนอน มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย ซึ่งรูปแบบที่จะออกมาขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานทั้งหมดสอดคล้องกับนโยบายของ COP28 และบึงบอระเพ็ด sandbox ที่ตั้งเป้าให้เกิด Net Zero ในปี 2573 ต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับแนวคิดของประชาชนสู่การปรับวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำและการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

โครงการอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ โดยมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลวังมหากรและตำบลพระนอน และมีการสอบถามความต้องการในการขับเคลื่อน (Need Assessment) ในการทำนาและการจัดการวัชพืชน้ำบึงบอระเพ็ด มีการดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และการทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 100 ไร่ อีกด้วย 

ผลผลิตของโครงการ
1) การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาเทคโนโลยีสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs BCG และการปรับตัวในการทำการเกษตรในพื้นที่ชุ่มน้ำ
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้ง และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
3) พื้นที่ต้นแบบในการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด และการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยในตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4) ผลการคำนวณอัตราผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ของโครงการ
5) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานในพื้นที่
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ประชาชนในพื้นที่ชุ่มน้ำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวคิดที่เปลี่ยนไปในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
2) พื้นที่ต้นแบบในการทำนาเปียกสลับแห้งและการผลิตปุ๋ยจากพืชน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ และขยายผลต่อในอนาคตบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ
3) ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม
4) คู่มือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆที่มีบริบทคล้ายกับบึงบอระเพ็ด
5) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์สามารถกำหนดแนวทางการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสัญญาเช่าของประชาชนบึงบอระเพ็ดในอนาคตต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2,6,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.3, 6.3, 6.4, 6.5, 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2024-5-2-1.pdf
https://www.nstda.or.th/sci2pub/3-strategies-to-revive-sustainable-rice-fields/
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จังหวัดนครสวรรค์
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
หน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด
ประมงจังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์
ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)
องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนและวังมหากร
เครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำบึงบอระเพ็ด
ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

 

Key Message*

การปรับวิถีการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การทำนาเปียกสลับแห้ง
การปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

13.2

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

MU-SDGs Case Study*

การยกระดับคุณภาพตะกอนดินของบึงบอระเพ็ดด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายธนากร จันหมะกสิต

ส่วนงานหลัก*

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการร่วม

อ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
ดร.ณพล อนุตตรังกูร
นายจิระเดช บุญมาก
ดร.วชิระ กว้างขวาง
รศ.ดร. วีระเดช มีอินเกิด

ส่วนงานร่วม

1. หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำและดิน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. หน่วยวิจัยการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
4. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

เนื้อหา*

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดินตะกอนบึงบอระเพ็ดที่มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ให้สามารถเพาะปลูกพืชได้โดยการผสมกับปุ๋ยหมักที่ทำจากวัชพืชน้ำของบึงบอระเพ็ดในอัตราส่วนต่างๆ
2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกในดินที่ปรับปรุงคุณภาพแล้ว
3. เพื่อศึกษาลักษณะทางประสาทสัมผัสของพืชที่ปลูกในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) เน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาบึงบอระเพ็ด การขับเคลื่อน Bio hub ด้านอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้าว โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 132,737 ไร่ ครอบคลุมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และ อำเภอท่าตะโก ซึ่งจากการประชุมสัมมนาวิชาการแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดยสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ที่ประชุมสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดประเด็นเร่งด่วนได้ 10 ประเด็น ได้แก่ 1. การสร้างระบบการบริหารจัดการในลุ่มน้ำย่อยเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยการขุดบึง และขุดลอกตะกอนดิน 2. การส่งเสริมการทำเกษตรวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การปลูกไม้ริมน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน 4. การปลูกพืชกรองน้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เข้าสู่บึงบอระเพ็ด 5. การใช้พลังงานทดแทนในการสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดเพื่อใช้ประโยชน์ 6. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรของบอระเพ็ด 7. การจัดทำปุ๋ยจากตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 8. การแปรรูปพืชน้ำจากบึงบอระเพ็ด 9. การแปรรูปเศษเหลือของปลาบึงบอระเพ็ด และ 10. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
โดยงานวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาในประเด็นที่ 7 เกี่ยวกับตะกอนดินบึงบอระเพ็ดและวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2564 ลุ่มน้ำภาคกลางและภาคตะวันออกจำนวน 19 จังหวัด มีการจัดเก็บวัชพืชน้ำประมาณ 4,513,836.75 ตัน (มติชนออนไลน์, 2564) โดยพบว่าการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำในแหล่งน้ำที่มีเป็นจำนวนมากและการทับถมของตะกอนดินส่งผลให้แหล่งน้ำตื้นเขิน โดยวัชพืชน้ำส่งผลกระทบในหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง และภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการบริหารจัดการปีละหลายร้อยล้านบาท สำหรับบึงบอระเพ็ดพบว่าวัชพืชน้ำที่ส่วนใหญ่ 95% เป็นผักตบชวาที่มีการเจริญเติบโตและการทับถมอยู่เป็นจำนวนมากภายในบึงบอระเพ็ดและคลองสาขาของบึงบอระเพ็ด โดยมีหน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ดภายใต้กำกับดูแลของกรมประมงเข้ามาทำการขุดลอกวัชพืชน้ำ และนำไปกองไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงบอระเพ็ดหรือบริเวณขอบของตลิ่งบึงบอระเพ็ดในเขตพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์บึงบอระเพ็ดและชาวบ้านโดยรอบ อีกทั้งยังไม่ได้มีการนำวัชพืชน้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้บึงบอระเพ็ดยังมีปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินเนื่องจากตะกอนดินไหลมาพร้อมกับน้ำเข้ามายังบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในหน้าแล้งลดลง จากการศึกษาของ ณพล อนุตตรังกูร และคณะ (2561) รายงานว่าอัตราการชะล้างพังทลายของดินที่ลงมาสู่บึงบอระเพ็ดมีจำนวนปีละ 2,890,000 ลูกบาศก์เมตร โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้อนุมัติให้มีการดำเนินการขุดลอกตะกอนดินภายในบึงบอระเพ็ดเพื่อแก้ไขปัญหาการตื้นเขิน ซึ่งมีปริมาณตะกอนดินที่ขุดลอกถึงปีละไม่น้อยกว่า 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังมีหน่วยงานภายในจังหวัดขุดลอกอยู่เป็นประจำตามรอบ (มติชนออนไลน์, 2559)
ในปัจจุบันปัญหาของปริมาณวัชพืชน้ำที่มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการตื้นเขินและประสิทธิภาพของบึงบอระเพ็ด โดยวัชพืชน้ำนั้นยากต่อการกำจัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแหล่งน้ำในด้านต่างๆ เพราะทำให้สูญเสียเวลา แรงงาน และงบประมาณในการจัดการ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546) ดังนั้น จึงมีความพยายามหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณและเพิ่มมูลค่า ซึ่งเป็นการบูรณาการและการจัดการในเชิงพื้นที่ โดยพบว่ามีการนำวัชพืชน้ำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิเช่น วัสดุรองพื้นในการเลี้ยงไส้เดือน (พีรยุทธ สิริฐนกร และคณะ, 2557) การทำปุ๋ยจากผักตบชวาเพื่อการปลูกพืช (เฉลิมชัย แพะคำ และคณะ, 2557; จักรกฤช ศรีลออ และคณะ, 2363; ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์, 2559)
จากการศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินบึงบอระเพ็ด พบว่ามีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชโดยมีค่าความเป็นกรดด่างของดินเท่ากับ 5.3 และปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ อีกทั้งตะกอนดินที่ถูกพัดพามาทับถมทุกปีและวัชพืชน้ำที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อปริมาณการกักเก็บน้ำและคุณภาพของน้ำในบึงบอระเพ็ด เป็นสาเหตุให้กักเก็บน้ำได้ลดลงและน้ำที่มีความขุ่นจึงมีผลต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำและต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการขุดลอกทุกปี ดังนั้นจากสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) จึงมีข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำตะกอนดินที่มีการขุดลอกจากการดำเนินการของสำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์มาปรับปรุงสภาพดินให้มีคุณสมบัติที่สามารถปลูกพืชและนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ด้วยการผสมกับปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ได้จากการขุดลอกจากบึงบอระเพ็ดซึ่งนำมากองไว้ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยการศึกษานี้ได้ผสมปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำและตะกอนดินในอัตราส่วนต่างๆทั้งหมด 8 สิ่งทดลอง หลังจากนั้นตรวจสอบสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ พร้อมทั้งทดลองปลูกคะน้าในตะกอนดินหลังปรับปรุงสภาพ และทดสอบทางประสาทสัมผัสของคะน้า เมื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังการปรับปรุงคุณภาพก็พบว่าทุกสิ่งทดลองตะกอนดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณฟอสฟอรัสที่แลกเปลี่ยนได้, ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ รวมทั้งค่าการนำไฟฟ้า และค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และที่อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน เมื่อพิจารณาจากน้ำหนักสดของคะน้าพบว่าสิ่งทดลองที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ สิ่งทดลอง T2, T7 และ T8 ซึ่งประกอบด้วยปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 100%, ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ : ตะกอนดิน ในอัตราส่วน 50% : 50% และ 60% : 40% ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักสดของคะน้ามีค่าสูงกว่าสิ่งทดลองอื่นๆ และเมื่อทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยให้ผู้ทดสอบจำนวน 40 คน ทำการชิมผักคะน้าพบว่าคะน้าในสิ่งทดลอง T2 มีค่าเฉลี่ยความชอบโดยรวม, สี, รสชาติ และเนื้อสัมผัสสูงที่สุด รองลงมาคือ T7 และ T8 ตามลำดับ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่นำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างตะกอนดินและวัชพืชน้ำไปสู่การใช้ประโยชน์ และยังสามารถลดปัญหาของบึงบอระเพ็ดได้อีกด้วย 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs12, SDGs6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.2,6.3

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs2

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

 
 
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 2

Partners/Stakeholders*

1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
2. สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*


รูปภาพที่ 1 แสดงลักษณะของเนื้อดินตะกอนแต่ละสิ่งทดลองหลังจากหมักในที่ร่ม 1 เดือน และลักษณะการเจริญเติบโตของคะน้าหลังจากปลูก 45 วัน (T1 = ดินผสมทางการค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด T2 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำที่ขุดลอกจากบึงบอระเพ็ด T3 = ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงสภาพ T4 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 20% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 80% T5 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ30% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 70% T6 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 40% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 60% T7 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 50% และ T8 = ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% + ตะกอนดินบึงบอระเพ็ด 40%)

Key Message*

ตะกอนดินบึงบอระเพ็ดที่ปรับปรุงคุณภาพโดยมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ สามารถเพิ่มศักยภาพจากที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะปลูกพืช ให้สามารถมีความเหมาะสมต่อการนำไปปลูกพืชได้ โดยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 50% : ตะกอนดิน 50% และ ปุ๋ยหมักจากวัชพืชน้ำ 60% : ตะกอนดิน 40% ซึ่งทั้ง 2 สูตรนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน และธาตุอาหารให้แก่ตะกอนดิน ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด สามารถนำเอาหลักการและสูตรการปรับปรุงภาพตะกอนดินจากปุ๋ยหมักวัชพืชน้ำในงานวิจัยครั้งนี้ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของตนเองก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนใช้ประโยชน์ หรือ พัฒนาเป็นผลิตดินผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อีกทั้งวิธีการนี้ยังเป็นการช่วยให้ตะกอนดินจากที่เป็นปัญหามลภาวะทางน้ำมีคุณภาพและเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.1, 12.4.1

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

MU-SDGs Case Study*

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต 

นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา*

           บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

           ในการนี้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดในการทำศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและประเมินสถานการณ์ให้กับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในระยะแรกได้มีการรวบรวมงานวิจัยขึ้นบนเวบไซด์ ต่อมาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายบึงบอระเพ็ดว่าศูนย์ข้อมูลทุกคนจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกันและอยู่บนออนไลน์ เพื่อที่จะได้บูรณาการข้อมูลของทุกภาคส่วนนำไปสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จนสู่การตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาครัฐ ได้เข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดการรับรู้ การนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของศูนย์ข้อมูล
ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1) เครือข่ายมีการติดตั้งระบบรายงานสถานการณ์น้ำรายชั่วโมงจำนวน 4 สถานีในบึงบอระเพ็ด

2) มหาวิทยาลัยมหิดลมีการทำระบบสมาร์ทบึงบอระเพ็ด ที่ทุกภาคส่วนจะได้เข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพอากาศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร และระบบที่สื่อสารได้ทั้ง 2 ทาง

3) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสอนใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้กัเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

4) ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดสนับสนุนข้อมูลให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดเป็นประจำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

5) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาระบบการดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม “Bueng Boraphet – Water Image Downloader” ให้กับเครือข่ายบึงบอระเพ็ด

ผลกระทบทางสังคม

1. ทุกภาคส่วนรู้สึกเป็นเจ้าของศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกัน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. การบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากตัดสินใจบนฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ที่มีข้อมูลหลากหลายและทันต่อสถานการณ์

3. ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงข้อมูล เกิดการรับรู้จนเกิดความเข้าใจ ทำให้ลดข้อสงสัย ลดข้อกังวล ลดการระแวง และลดกรขัดแย้งในที่สุด

4. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) ข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน) ข้อ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคุลมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ) และ ข้อ 17 (เสริมความแข็งแรงให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือฯ)  

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,15,16,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 16.7 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

ฐานข้อมูลบึงบอระเพ็ด

Facebook
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

MU-SDGs Case Study*

การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566

ผู้ดำเนินการหลัก*

ดร.ณพล อนุตตรังกูร

ส่วนงานหลัก*

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

นายยุทธิชัย โฮ้ไทย

นางสาวพินณารักษ์ พันธุมาศ

นายธนากร จันหมะกสิต  นางชุติภากาญจน์ ประจันทร์

นางสาวศิริยาภรณ์ ศิรินนทร์

ส่วนงานร่วม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

เนื้อหา*

           “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

         การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงข้าวราคาดีมีการดึงน้ำไปทำนาย้อนกลับขึ้นที่สูงด้วยระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร จนเกิดข้อพิพาทในการแย่งน้ำระหว่างชาวนาและคนหาปลา รวมถึงระหว่างชาวนาด้วยกันเองจนทำให้ฤดูแล้งเกือบทุกปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในบึงบอระเพ็ดไม่มีน้ำอุปโภค รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ในการนี้ภาครัฐได้มีการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกตะกอนดิน โดยกรมประมงมีการจัดการตะกอนดินเฉลี่ยปีละ 500,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่ออัตราการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำที่มีจำนวนปีละ 2.89 ล้านตัน (ณพล และคณะ, 2561) ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้บึงบอระเพ็ดตื้นเขินและหมดสภาพความเป็นบึงได้ กรมทรัพยากรน้ำได้มีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำน่านเข้าสู่บึงบอระเพ็ดขนาดเครื่องละ 10,800 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อรักษาระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นพบว่าปัญหาการระบายน้ำในคลองและมีชาวนาบริเวณคลองส่งน้ำสู่บึงสูบน้ำไปใช้ทำการเกษตรส่งผลให้น้ำไม่สามารถลงสู่บึงบอระเพ็ดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นในบึงบอระเพ็ดจึงเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน หากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และการระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

          ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งของบึงบอระเพ็ด และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการนำเอางานวิจัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป 

ผู้ได้รับผลประโยชน์

ประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด ได้รับการจัดสรรน้ำในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ภาครัฐ ได้กติกาในการใช้น้ำ ที่สามารถดูแล กำกับ ติดตาม รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

ม.มหิดล ได้เรียนรู้ร่วมกับกับทุกภาคส่วน เพิ่มทักษะในการทำงาน จนทำให้นักวิจัยและทีมได้พัฒนาศักยภาพดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินการ

1. ได้ข้อมูลโครงข่ายน้ำในบึงบอระเพ็ดที่ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจและตรวจสอบร่วมกัน

2. ได้โมเดลการจัดการน้ำที่ผ่านการพิจารณาของภาครัฐและประชาชนรอบบึงบอระเพ็ด

3. ชุมชนมีการรวมตัวกันจดจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ดจำนวน 5 ตำบล ซึ่งมีกฏหมายรองรับ (พรบ.ทรัพยากรน้ำปี 2561)

4. เกิดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานราชการ โดยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกชุด

ผลกระทบทางสังคม

1. แนวทาง/กติกา การใช้น้ำที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

2. การผลักดันสู่นโยบาย จังหวัดนครสวรรค์สามารถประกาศใช้กติกาการใช้น้ำได้

3. การเช่าที่ธนารักษ์ในบึงบอระเพ็ดสามารถกำหนดแนวทางการใช้น้ำ เข้าไปสู่ข้อปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

4. คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้

5. ชาวบ้านลดความขัดแย้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดที่เที่ยงธรรมธรรม 

6. ผลการดำเนินการสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 (ผ่านการพิจารณาการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน) ข้อ 13 (ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ) และข้อ 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน)

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 6

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

6.4, 6.6, 6.b

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 13,14,15,17

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.1, 15.1 17.1

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

Facebook

หนังสือ  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
 

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วนการจัดสรรน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรผู้ใช้น้ำ

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

6.5.5

10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด

MU-SDGs Case Study* 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
ผู้ดำเนินการหลัก* ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ส่วนงานหลัก* โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วม  ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์
น.ส.พินณารักษ์ พันธุมาศ
นายธนากร จันหมะกสิต
นายยุทธิชัย โฮ้ไทย
ส่วนงานร่วม
เนื้อหา*

กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1) ระยะที่ 1 : ระยะการเรียนรู้ (พ.ศ.2556-2557)

    ช่วงแรกเป็นศึกษาและการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบึงบอระเพ็ด และรวบรวมงานชื่อเรื่องวิจัยที่เคยทำการศึกษาในบึงบอระเพ็ดจำนวน 222 เรื่อง ขึ้นระบบออนไลน์ของหน่วยงาน เพื่อบริการให้กับผู้ที่สนใจในการสืบค้นข้อมูลไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ ต่อมาวิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนร่วมกับคณาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้เรียนรู้ในการฝึกทักษะทางวิชาการและการลงพื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งผลให้เข้าใจบริบทของบึงบอระเพ็ดในภาพรวมได้ ผลที่ได้ระยะที่ 1 ทำให้เวบไซด์ของวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลบึงบอระเพ็ดและฐานงานวิจัย ที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาศึกษาและค้นหาข้อมูลได้

2) ระยะที่ 2 : ระยะสร้างเครือข่าย (พ.ศ.2558-2562)

    วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนเครือข่ายที่รู้จักในระยะแรก ด้วยการสอบถามสภาพปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับชุมชนและภาครัฐในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการจัดประชุมวิชาการชาวบ้านเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงานในระดับจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาจึงพาเจ้าหน้าที่วิทยาเขตนครสวรรค์ไปพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออธิบายสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อมาข้อสั่งการให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งการทำแผนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาบนฐานของความจริง ทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติรับไปพิจารณาและนำเสนอให้รัฐบาลต่อไป ผลกระทบจาการงานส่งผลให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนการ จัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดของสำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ และการจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเร่งด่วนระยะ 3 ปี จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท  ส่วนงานด้านการวิจัยได้มีการศึกษาในสิ่งที่เป็นช่องว่าง (Gap) ที่ต้องการหาคำตอบ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ศึกษาความลึกของบึงบอระเพ็ดและการชะล้างพังทลายของดินในลุ่มน้ำ และนำงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป ผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกภาคส่วนพูดคุยกันมากขึ้นและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ผลที่ได้ระยะที่ 2 ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน เนื่องจากได้มีการนำเสนอข้อมูลสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย จนได้โครงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวิจัยที่ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ได้อีกด้วย

3) ระยะที่ 3 : ระยะการจัดการเครือข่าย (พ.ศ.2563-2565)

    เครือข่ายบึงบอระเพ็ดมีการจัดการร่วมกันในการแบ่งปันข้อมูล การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลวิชาการ และข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การรักษาระดับน้ำบนฐานข้อมูลวิชาการ เป็นต้น ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญเป็นการจัดประชุมวิชาการบึงบอระเพ็ด (จัดโดยจังหวัดนครสวรรค์) โดยมีวิทยาเขตนครสวรรค์เป็นทีมเลขานุการ เพื่อเรียนรู้และทบทวนแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ด มีแผนงานที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (BCG และ SDGs) ส่วนการวิจัยได้มีการร่วมกันกับภาครัฐและประชาชนเสนอโครงการวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและสร้างกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ในการนี้เครือข่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นปัญญาของแผ่นดิน และเป็นที่พึ่งให้กับคนในพื้นที่ ผลที่ได้ระยะที่ 3 ได้เกิดการรวบกลุ่มของคนในชุมชนจดทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน 5 ตำบล และมีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย 

 
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม* SDG6 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก* 6.4, 6.6, 6.b
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง SDG 12,17 เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ 12.2, 17.1
Links ข้อมูลเพิ่มเติม * https://www.youtube.com/watch?v=C2VVypCijK4
 https://drive.google.com/file/d/1dQgQDgLfrf2PoxGayl_RxjVq5i01iCnl/view?usp=sharing
MU-SDGs Strategy* ยุทธศาสตร์ที่ 3
Partners/Stakeholders*

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด, ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ), โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน), ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง),สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์,ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่, องค์กรผู้ใช้น้ำรอบบึงบอระเพ็ด, ประชาชนในบึงบอระเพ็ด


ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message* การเป็นที่พึ่งให้กับเครือข่ายเป็นภาคกิจหลักของสถาบันการศึกษา ที่ต้องร่วมเรียนรู้ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป
ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง 6.5.5

เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ

รายละเอียด

โครงการ

ชื่องานวิจัย

เขาทองบำรุงสุข มหิดลบำรุงรักษ์

ผู้รับผิดชอบ

นางศศิธร มารัตน์

ที่มาและความสำคัญ

สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 19 (Covid- 19) ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีการระบาดอีกหลายประเทศทั่วโลกติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน และในช่วงเดือนเมษายน  2564 ที่ผ่านมาประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก รัฐบาลมีนโยบายให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ได้รับเชื้อโควิด 19 กลับมารักษายังภูมิลำเนา โดยให้ทุกชุมชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ได้รับเชื้อโควิด 19 ที่ไม่แสดงอาการกลับมาพักคอยในชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่จะต้องจัดตั้งศูนย์พักคอยและขยายศูนย์มาใช้พื้นที่ของวโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ด้วยเห็นความสำคัญและห่วงใยต่อสภาพจิตใจและการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ได้รับเชื่อโควิด 19 ที่ศูนย์พักคอยตำบลเขาทองและศูนยพักคอยกันภัยมหิดล และเพื่อยึดมั่นต่อพันธกิจของ วิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือชุมชน

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

1. ศูนย์พักคอย ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่เขาทอง

2. ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดล

วัตถุประสงค์

1 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทอง

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองได้ผ่อนคลายลดภาวะความเครียด

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองได้มีความรู้ปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

4เพื่อสนับสนุนพันธกิจของวิทยาเขตด้านงานบริการวิชาการต่อสังคม

ปีที่จัด

2564

ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

สิงหาคม  2564 – กันยายน 2564

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ

ระดับชุมชน ระดับตำบล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม)

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล

2.องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง

3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1. ประสานงานกับผู้ดูแลศูนย์พักคอยของตำบลเขาทองเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และรูปแบบการดำเนินกิจกรรม  

2. วางรูปแบบการจัดโครงการ

3. ดำเนินกิจกรรม

     – เป็นการจัดกิจกรรมระหว่างวัน  วันล่ะ ครั้ง 5 ครั้ง/สัปดาห์ 

     – จัดกิจกรรมผ่านกระบวนการจิตตปัญญา

     – ให้สุขศึกษาด้านการปฏิบัติตัวและดูแลตนเองตามหลักวิชาการ

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

จำนวนผู้ได้รับเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)  รวม 21 คน

 

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 ที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 2 ศูนย์พักคอย(1.ศูนย์พักคอยกันภัยมหิดลศูนย์พักคอยศาลเจ้าเขาทอง)  รวม 21 คน

2. ผู้ติดเชื้อที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ระบายความทุกข์/ความโคกเศร้าผ่านการวาดภาพ

3. ส่วนใหญ่จะมีความเครียดและวิตกกังวลสูงในช่วงสัปดาห์แรกเมื่อทราบผลการติดเชื้อ

4. สาเหตุของความเครียดส่วนใหญ่กลัวทำให้ผู้ที่ใกล้ชิดติดเชื้อด้วย ลองลงมาคือเสียงรอบข้างกล่าวโทษทำให้ชุมชนเดือดร้อน

5.สัปดาห์ที่ 2 ผู้ติดเชื้อทุกคนผ่อนคลายและชุมชนให้การยอมรับการกลับสู่ชุมชน

6. ผู้ติดเชื้อปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง และออกกำลังกายทุกวันตามที่ได้รับคำแนะนำ

7. หน่วยงานองค์กรภายในชุมชนร่วมมือเอื้อเฟื้อให้ความช่วยเหลือ

8.เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนในชุมชน

Web link

รูปภาพประกอบ

 

 

 

 

 

SDGs goal

Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​

 

การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ การขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยระบบเครือข่าย
ที่มาและความสำคัญ

     บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศและการกักเก็บน้ำ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเข้มข้นของชาวบ้านในพื้นที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในกลุ่มอาชีพของภาคประชาชน การไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐและประชาชน การดำเนินการที่ติดขัดข้อกฎหมายที่มีหลายฉบับ และอำนาจตัดสินใจอยู่ในหลายหน่วยงาน ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2564) มีการขับเคลื่อนด้วยการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการทบทวนเอกสาร รวบรวมข้อมูลงานวิจัย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีการคืนข้อมูลให้กับทุกภาคส่วนทีละกลุ่ม แล้วนำตัวแทนมาคืนข้อมูลร่วมกันกับทุกกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหา ยอมรับปัญหา เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเข้าใจกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาบทบาทของกลุ่มและสร้างความร่วมมือ จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาบึงบอระเพ็ดร่วมกันเพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้บึงบอระเพ็ดถูกตั้งเป็นปัญหาวาระสำคัญของชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาที่เป็นแผนปฏิบัติการ และการทบทวนแผนการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สุดท้ายแล้วคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2563–2572) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,701.5 ล้านบาท ต่อมาเครือข่ายบึงบอระเพ็ดร่วมพัฒนาโครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด เพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประเมินสถานการณ์น้ำท่วม การจัดทำแผนที่บึงบอระเพ็ด การประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาบึงบอระเพ็ด เป็นต้น

     การเกิดเครือข่ายบึงบอระเพ็ดทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในบึงบอระเพ็ด ทำให้แสดงให้เห็นว่าการที่ทุกภาคส่วนมีความรู้ที่ถูกต้องและเท่ากัน จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบึงบอระเพ็ดที่ยั่งยืนได้

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในบึงบอระเพ็ด

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2554-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 ปี
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน, หน่วยงาน, จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ส่วน​บริหารจัดการน้ำที่ 3 นครสวรรค์ (กรมทรัพยากรน้ำ)

โครงการชลประทานนครสวรรค์ (กรมชลประทาน)

ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (กรมประมง)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

ประชาชนในบึงบอระเพ็ด

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การร่วมปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายบึงบอระเพ็ด (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน)

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ประชาชนได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์เป็นไปตามข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยล่าสุดได้รับสัญญาเช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว.339 (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,542 แปลง คงเหลืออีกประมาณ 5,000 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาการเช่า

2.โครงการภายใต้ข้อเสนอของ “เครือข่ายบึงบอระเพ็ด” ถูกบรรจุในส่วนหนึ่งของแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดที่ได้รับอนุมัติดำเนินการ 10 ปี (2563-2572) ซึ่งแผนปฏิบัติการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีระยะ 3 ปี (2563-2565) จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 1,513.5 ล้านบาท

3.เกิดการตรวจสอบแนวเขตและเข้าครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่บึงบอระเพ็ดจำนวน 6,888 แปลง ทำให้ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ดได้

4.การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายบึงบอระเพ็ด สามาถลดความขัดแย้งของทุกภาคส่วน

5.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด

Web link

https://na.mahidol.ac.th/th/2021/6650

https://na.mahidol.ac.th/bungresearch/index.php/2021-11-16-09-38-44

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 16 : Peace, justice and strong institutions​
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

   “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

    ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564-2565
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง กันยายน 2564 – กันยายน 2565
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

– ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้

– การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง)

– ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด

Web link https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4
รูปภาพประกอบ
     
SDG goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นางสาว กนกอร รังศรี รหัสนักศึกษา 6126003
2. นางสาว ศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด รหัสนักศึกษา 6126010
3. นางสาว ซอฟียะห์ เจ๊ะหะ รหัสนักศึกษา 6126014
4. นางสาว สาธิดา ต๊ะคีรี รหัสนักศึกษา 6126020
5. นาย พิชิตชัย วงษา รหัสนักศึกษา 6126026
6. นางสาว มณีรัตน์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6127040นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ             ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ” ขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1) เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ)

2) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ พ.ศ. 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล และระดับมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ ทางโปรแกรม Zoom Application มีการดำเนินกิจกรรมกับเจ้าของความรู้ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิษณุกรณ์ กวยลี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3) คุณอภิญญา แก้วเทพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 88 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– องค์ความรู้เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”

– แนวทางในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ข้อที่ 6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล อย่างยั่งยืน

Web link

https://youtu.be/NHDmca0ceqg

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147181502437043/?d=n

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation