Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

การปลูกป่าในพื้นที่บึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบโครงการ  ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ  บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีกิจกรรมการขุดลอกตะกอนดินเป็นประจำทุกปี ทำให้เกิดกองดินตะกอน ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร ทอดแนวยาวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ซึ่งเป็นภาพที่ไม่สวยงามต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นจุดชมวิว และมีการปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในบึงบอระเพ็ด ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนงานด้านวิชาการให้กับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เพื่อให้กิจกรรมสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ
การตรวจสอบคุณภาพตะกอนดิน
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกป่า
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เป็นกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ที่มีการปลูกต้นไม้ทั่วประเทศในทุกจังหวัด โดยภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 40%
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่ายบึงบอระเพ็ด เป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันมากกว่า 5 ปี โดยเป็นการทำงานแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การตรวจสอบคุณภาพตะกอนดิน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกป่า
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม สถาบันการศึกษา, ชุมชน, จังหวัด, หน่วยงานราชการในพื้นที่
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า 100 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตะกอนดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติของดินบางประการโดยเติมวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่มีความจำเป็นเพื่อให้เพียงพอต่อการต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 และดำเนินการปลูกต้นไม้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 หลังจากนั้นทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดจะดำเนินการดูแลรักษาต่อไป และคาดหวังว่าจะเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ในบริเวณพื้นที่บึงบอระเพ็ด
Web link
รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal

Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals