MU-SDGs Case Study*

โครงการครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน

ผู้ดำเนินการหลัก*

นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานหลัก*

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

คณาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ส่วนงานร่วม

เนื้อหา*

จากการศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ปริมาณขยะในชุมชนนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากชุมชนนั้นยังไม่ได้รับการบริการการจัดเก็บขยะจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดความรู้ในการกำจัดขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยส่วนใหญ่คนในชุมชนมักจะนำขยะทุกชนิดไปทิ้งบริเวณสวน ไร่ นา โดยไม่ได้คัดแยก และมีการเผา ทำลายขยะ ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีแมลงนำโรคและสัตว์รบกวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา

 

ดังนั้น นายชตฤณ ลาดแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ องค์การบริการส่งตำบลตะคุ สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินโครงการ “ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะและทำน้ำหมักจากของเสียในครัวเรือน” ณ ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ระหว่างวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ซึ่งทางนักศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ออกแบบเองโดยร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน และ อสม. ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและประโยชน์จากการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างให้คนในชุมชนมีทักษะที่ดีในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร อีกทั้งยังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน ซึ่งทำให้ปริมาณของขยะและของเสียในครัวเรือนที่จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลงจากเดิม

 

ทั้งนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจะนำโครงการของนักศึกษาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) สืบต่อไปในอนาคต 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDGs 12

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

12.3, 12.4, 12.5

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDGs 2, 11

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

2.4, 11.6

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1287997358355456/?d=n

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 3

Partners/Stakeholders*

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

2. องค์การบริการส่งตำบลตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

3. สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

4. ผู้นำชุมชน ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนหนองนมนาง ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

Key Message*

การลดขยะในชุมชนด้วยการร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนและใช้ในการทำเกษตร จัดบริการรถเก็บขยะในชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

3.3.1, 3.3.2, 2.5.1, 2.5.2, 12.3.2