โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

   “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ ๗ ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณขอบบึง ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทำให้บึงบอระเพ็ดมีสารพันปัญหาที่ซ้อนทับซับซ้อนหลายด้าน สืบเนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นที่ราชพัสดุที่กรมประมงขอใช้พื้นที่เพื่อบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในปี 2469 จำนวน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา ครอบคลุ่มพื้นที่ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลหนองปลิง ตำบลทับกฤช ตำบลพนมเศษ ตำบลวังมหากร และตำบลพระนอน ต่อมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดในพื้นที่ในปี 2518 จำนวน 66,250 ไร่ ทำให้มีกฎหมายที่ใช้ซ้อนทับกันถึง 3 ฉบับ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และนอกจากนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจำนวน 5,684 ครัวเรือน

การใช้น้ำในบึงบอระเพ็ด พบการใช้ประโยชน์ในการทำประมง การดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค แต่เนื่องจากสภาพบึงบอระเพ็ดมีสภาพคล้ายจานข้าวทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก ทำให้มีการแย่งใช้ทรัพยากรกันอย่างเข้มข้นจนเกิดข้อพิพาทระหว่างกลุ่มต่างอาชีพและกลุ่มอาชีพเดียวกัน ช่วงฤดูแล้งบางปีจะมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับการทำประปาหมู่บ้าน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งปัญหาการใช้น้ำและการแย่งน้ำที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาจะส่งผลทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคีในชุมชน และระบบสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสู่ขั้นวิกฤติได้

    ในการนี้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการที่มียุทธศาสตร์ในการเป็นที่พึ่งทางด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาโจทย์ของโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และได้รับการ “เห็นชอบและรับทราบ” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และนำไปสู่การผลักดันการนำผลที่ได้สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่อไป

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564-2565
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง กันยายน 2564 – กันยายน 2565
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่บึงบอระเพ็ด

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

ประมงจังหวัดนครสวรรค์

ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์

โครงการชลประทานนครสวรรค์

ส่วนบริหารจัดการน้ำที่ 3 กรมทรัพยากรน้ำ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงบอระเพ็ด ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– เกิดการจัดสรรน้ำให้กับทุกกิจกรรมอย่างเท่าเทียม เกิดความสมดุลกันระหว่างการรักษาระบบนิเวศกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

– ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญ จนเกิดการยอมรับ และนำไปสู่การปฏิบัติได้

– การผลักดันสู่นโยบายด้วย “คณะกรรมการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด” สามารถนำข้อสรุปของโครงการไปเป็นแนวทางการใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดในแต่ละพื้นที่ (เขตให้ ห้าม หวง)

– ระบบการบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับบึงบอระเพ็ด

Web link https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=IoZEzOyuze4
รูปภาพประกอบ
     
SDG goal Goal 6 : Clean water and sanitation
Goal 13 : Climate action​
Goal 14 : Life below water​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

การประชุมกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การประชุมกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ

ดร.ณพล อนุตตรังกูร ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี ทำให้มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จังหวัดอุทัยธานี
วัตถุประสงค์

1.เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการขอจัดตั้งป่าชุมชน การขยายเขต หรือเพิกถอนป่าชุมชน
2.เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการจัดการป่าชุมชน
3.ให้คำแนะนำปรึกษาและความช่วยเหลือต่างๆต่อคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน
4.ควบคุม ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการป่าชุมชน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง

ครั้งที่ 1 : 29 กันยายน 2564
ครั้งที่ 2 : 5 ตุลาคม 2564

ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ชุมชน,จังหวัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) กรมป่าไม้,เครือข่ายป่าชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การให้คำปรึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม

เครือข่ายป่าชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

กรรมการป่าชุมชนจังหวัดอุทัยธานี มีหน้าที่ในการพิจารณา อนุญาต แนะนำ ควบคุม ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี โดยผลลัพธ์ที่ได้ ป่าชุมชนในพื้นที่จะมีการดำเนินงานตามแผนและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562 ที่ส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกับรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Web link
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals

การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล การคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอย


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล การคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอย
จ.พิจิตร  จ.อุทัยธานี  จ.กำแพงเพชร  จ.นครสวรรค์
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร  จ.พิจิตร  จ.อุทัยธานี
วัตถุประสงค์ การสำรวจ และศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ภายใต้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4 ประกอบไปด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยรวมทั้งสิ้น 54 แห่ง เป็นสถานที่กำจัดขยะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มCluster จำนวน 9 แห่ง และรูปแบบเทกอง  45  แห่ง ในการศึกษาครั้งนี้ ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 ได้คัดเลือกพื้นที่ ในการศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบขยะ จำนวน 15  แห่ง ได้แก่สถานที่กำจัดขยะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มCluster จำนวน 9 แห่ง  และสถานที่กำจัดขยะแบบเทกองจำนวน 6 แห่ง  ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงข้อมูลลักษณะ และชนิดขององค์ประกอบขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อที่จะให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการกำหนดนโยบาย วางมาตรการ และแนวทางในการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพต่อไป
ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน-สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

อปท. 15 แห่ง  ในพื้นที่ 4 จังหวัด

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภคที่ 4

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จ.นครสวรรค์  อุทัยธานี  พิจิตร  กำแพงเพชร

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2. รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3. จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรม ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4. จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

 

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม สถานที่กำจัดขยะ จากจังหวัด นครสวรรค์  กำแพงเพชร พิจิต และอุทัยธานี  ซึ่งมีสถานที่กำจัดขยะทั้งหมด จำนวน 51 แห่ง (นครสวรรค์ 19 แห่ง กำแพง 13 แห่ง  พิจิตร 14 แห่ง  อุทัย 5 แห่ง) ทำการคัดเลือกโดยแบ่งสถานที่กำจัดขยะในการสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม  คือ สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม Cluster ในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด และมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และมีองค์กรต่าง ๆ ภายนอกที่นำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย มีการให้บริการสาธารณะในการเก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย รวมทั้งมีการดำเนินงานสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้คัดเลือก สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น สถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม Cluster ในการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดจำนวน 9 แห่ง  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยฯจำนวน 6 แห่ง
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ 1.       ผลการการวิเคราะห์ จะสามารถประเมินความสำเสร็จของ กิจกรรมการรณรงค์ในเขตชุมชนที่ได้
2.       สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการบริหารจัดการขยะต้นทางได้
3.       สามารถ นำมาคำนวณชนิด และสัดส่วนของ องค์ประกอบขยะ ในบ่อกำจัดขยะ เพื่อวางผนการจัดการขยะตกค้างได้
Web link  
รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 12 : Responsible consumption and production​

 

จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
จิตอาสา เยียวยา ชุมชน (ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์)
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.จุฑารัตน์  แสงกุล
ที่มาและความสำคัญ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไปทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ไม่มีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี ทำให้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีเกาะป้องกันตนเองจากสถานการณ์นี้ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่ชุมชนอยู่บ้าน และส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ เข้าถึงชุมชนมากขึ้น
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา หมู่บ้าน 1-12 ต.เขาทอง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ในการปฏิบัติตน และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

2.เพื่อเป็นการให้กำลังใจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด และเศรษฐกิจ

3.เพื่อให้บุคลากรทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย ได้ใช้วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนนอกเวลาปฏิบัติงาน

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2563- ปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับภาค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

รพสต.เขาทอง   อบต.เขาทอง

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน   วัดเขาทอง

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

1.รวบรวมอาสาสมัครบุคลากร และนักศึกษา เพื่อวางแผนกิจกรรมลงชุมชน

2.รวบรวมทุน และสิ่งของ จากบุคลากร และศิษย์เก่าที่ต้องการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

3.จัดกิจกรรม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.1กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผู้ถูกกักตัว

3.2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อcovid-19

3.3 กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์ กับผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชน

4.จัดตั้งศูนย์พักคอย ร่วมกับ อบต และ รพสต.เขาทอง เพื่อรอบรับผู้ป่วยในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม ชาวบ้านทั่วไป ต.เขาทอง   ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid -19  ผู้ติดเชื้อ  ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า 500 คน  (รวมทุกกิจกรรม)
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส covid-19 ทั้งการป้องกันตนเอง การกักตัว และการรับวัคซีน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.ชาวบ้านมีการเข้าถึงระบบการให้บริการสุขภาพได้ ทุกกลุ่มวัย

3.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งเศรษฐกิจ และการติดเชื้อโรคได้รับการช่วยเหลือ

4.บุคลากร นักศึกษา ได้ร่วมกันทำประโยชน์ให้ชุมชน

Web link  
รูปภาพประกอบ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์


จัดตั้งศูนย์พักคอย MUCI

SDGs goal Goal 1 : No poverty​
Goal 3 : Good health and well being
Goal 7 : Affordable and clean energy

 

สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ดร.ฤทธิรงค์ พันธ์ดี
ที่มาและความสำคัญ  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งเน้นถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรและนักศึกษา จึงมีนโยบายให้ส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเพื่อของการรับรองมาตรฐานศึกษาปลอดภัยภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินงานเพื่อตามนโยบายมหาวิทยาลัย ตามข้อกำหนดในการขอสถานศึกษาปลอดภัย โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ทุกโครงสร้างภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1.   เพื่อให้พนักงานและนักศึกษาภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งภายในเวลาการทำงานและนอกเวลาการทำงาน

2.   เพื่อสร้างเจตคติและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีให้กับพนักงานองค์กร

3.   เพื่อส่งประกวดการรับรองมาตรฐานสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

– อบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ

– การตรวจวัดและประเมิน

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม บุคลากรภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

1.    พนักงานและนักศึกษาภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งภายในเวลาการทำงานและนอกเวลาการทำงาน

2.   บุคลากรโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มีเจตคติและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

Web link
รูปภาพประกอบ

การแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

 

กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยโดยผู้บริหาร

 

กำหนดแผนงานงบประมาณ

 

โครงการอบรมขับขี่ปลอดภัยวินัยจราจร 2564

 

โครงการอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมแผนอพยพ

 

โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

อบรมการทำงานในที่อับอากาศ (Confine Space)

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ พิชิต Office Syndrome and Ergonomics

 

โครงการการอบรมการทำงานบนที่สูง (Working at height)

 

การตรวจประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

การตรวจบริภัณฑ์ไฟฟ้า

 

การตรวจความปลอดภัย

SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 17 : Partnerships for the goals

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่อกิจกรรม/โครงการ
ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ“สุขาของฉัน (All genders restroom)อยู่หนใด?”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นายประชารักษ์ ชาลีนิวัฒน์ 6126001
2. นายชตฤณ ลาดแดง 6126005
3. นายรัฐศาสตร์ แย้มพงษ์ 6126007
4. นางสาวศิรินาถ รักษาสัตย์ 6126009
5. นายดรัล รักธัญญะการ 6126012
6. นายพงษ์ศักดิ์ หินเทา 6126022นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันกระแสการเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศมีเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการเรียกร้องให้สร้างห้องน้ำสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องของประเด็นความปลอดภัยและความจำเป็นสำหรับการจัดสร้างห้องน้ำดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมุมมองของคนทั่วไป ความเข้าใจรวมถึงเจตคติที่มีต่อการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะสามารถขับเคลื่อนการจัดตั้งห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ“สุขาของฉัน(All genders restroom)อยู่หนใด?”ขึ้นในครั้งนี้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนการสร้างห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกเพศ (All genders restroom)

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันจันทร์ ที่ 9 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Webex โดยเป็นรูปแบบของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นหัวข้อวิธีการขับเคลื่อนในหัวข้อ “สุขาของฉัน (All genders restroom) อยู่หนใด”กับเจ้าของความรู้ทั้งหมด 3 ท่านได้แก่

1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รักษาการแทนในตำแหน่งรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. คุณรัฐนันท์ กันสา นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 149 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะอย่างเสมอภาค
Web link

https://youtu.be/u6YfOvQ-nl8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1146466679175192/?d=n

รูปภาพประกอบ
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 5 : Gender equality
Goal 10 : Reduced inequalities

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ 1. นางสาว กนกอร รังศรี รหัสนักศึกษา 6126003
2. นางสาว ศิริลักษณ์ ศักดิ์ขุนทด รหัสนักศึกษา 6126010
3. นางสาว ซอฟียะห์ เจ๊ะหะ รหัสนักศึกษา 6126014
4. นางสาว สาธิดา ต๊ะคีรี รหัสนักศึกษา 6126020
5. นาย พิชิตชัย วงษา รหัสนักศึกษา 6126026
6. นางสาว มณีรัตน์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6127040นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ             ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ” ขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์

1) เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 6 น้ำสะอาดและการสุขภิบาล (การกำจัดขยะ)

2) เพื่อทราบเทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ พ.ศ. 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ ระดับชุมชน ตำบล และระดับมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม)

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ ทางโปรแกรม Zoom Application มีการดำเนินกิจกรรมกับเจ้าของความรู้ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร. จุฑารัตน์ แสงกุล อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิษณุกรณ์ กวยลี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3) คุณอภิญญา แก้วเทพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันอื่น ๆ ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 88 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

– องค์ความรู้เรื่อง “เทคนิคการพูดให้ชุมชน ร่วมมือ ร่วมใจ คัดแยกขยะ”

– แนวทางในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ข้อที่ 6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล อย่างยั่งยืน

Web link

https://youtu.be/NHDmca0ceqg

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147181502437043/?d=n

รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal Goal 3 : Good health and well being
Goal 6 : Clean water and sanitation

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการพูดเรื่อง Sex อย่างไรให้กล้าเปิดใจ


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการพูดเรื่อง Sex อย่างไรให้กล้าเปิดใจ
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ

1.นาย ศุภณัฎฐ์ พูลสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 6126011

2.นางสาวฐนวรรณ มธุสรศักดิ์ รหัสนักศึกษา 6126016

3.นางสาวอาวาติฟ ยานยา รหัสนักศึกษา 6126021

4.นางสาวพรรณวดี ระกุล รหัสนักศึกษา 6126023

5.นางสาวศิริพร ทองคำ รหัสนักศึกษา 6126026

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ เนื่องจากว่าปัจจุบันเด็กมีการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เร็วขึ้น และมีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้การได้รับความรู้ทางเพศศึกษาผิด ๆ บวกกับวัฒนธรรมไทยทำให้ไม่มีการกล้าพูดคุย หรือการสอนเรื่องเพศที่ละเอียดมากพอ ผู้จัดทำจึงต้องการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเทคนิคการพูดเรื่องเพศยังไงให้กล้าเปิดใจ ภายใต้ SDGs Sustainable Development Goal ทางคณะผู้จัดกิจกรรมได้เลือกเป้าหมายข้อที่ 3 จาก 17 ข้อ มาพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน เพื่อสร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ในประเด็นการสร้างสร้างหลักประกันถ้วนหน้า ในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเทคนิคการพูดเรื่องเพศอย่างไรให้กล้าเปิดใจ

2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการพูดเรื่องเพศอย่างไรให้กล้าเปิดใจ

ปีที่จัดกิจกรรม/โครงการ 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วันที่ 10 สิงหาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ หน่วยงานสาธารณสุข, สถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติม) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท, กองวิชาการแพทย์ กรมการเเพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทาง Webex และ Youtube live กับเจ้าของความรู้ 3 ท่าน ได้แก่

1) อ.ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คุณวิจิตรา บุญจิตร นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สังกัด กองวิชาการแพทย์ กรมการเเพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

3) คุณปนัดดา นามสอน นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม นักวิชาการสาธารณสุข บุคลากร นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  164 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ นำองค์ความรู้เรื่องวิธีการพูดเรื่องเพศศึกษาให้เป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีการสอนเรื่องเพศศึกษาแบบสนุกเข้าใจง่ายสามารถนำมาใช้ได้จริงมาประยุกต์ใช้ในการปรึกษาเรื่องเพศศึกษาแก่เด็กวัยรุ่น
Web link

https://www.youtube.com/watch?v=ckLna3EfJq8

https://www.facebook.com/402782096876991/posts/1147340709087789/?d=n

รูปภาพประกอบ
    
 
SDG goal Goal 3 : Good health and well being

 

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการดินปุ๋ยกลุ่มเกษตรกรตำบลสวนแตง


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการดินปุ๋ยกลุ่มเกษตรกรตำบลสวนแตง
ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
2.นาย ธนากร จันหมะกสิต

ที่มาและความสำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรในการปรับปรุงคุณภาพดินและการจัดการในการใช้สารบำรุงดินที่ถูกต้องและเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อตัวเกษตรกร และชุมชน
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง

2.เพื่อให้เกษตรกรเกิดความการรับรู้เป้าหมายร่วมกันในการก่อตั้งกลุ่ม

ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง จัดในช่วงวันที่ 12กรกฎาคม 2564
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ วิทยาเขต,ชุมชน,จังหวัด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(รายละเอียดเพิ่มเติม)

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี, สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี, สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้คำปรึกษา ในสถานที่ที่กำหนด
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม เกษตรกร
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพื้นที่ และลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรในการผลิตพืชชนิดต่างๆ เกษตรกรที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกอื่นๆได้
Web link
รูปภาพประกอบ
SDG goal

Goal 2 : Zero hunger
Goal 12 : Responsible consumption and production​

 

การปลูกป่าในพื้นที่บึงบอระเพ็ด


Warning: sort() expects at least 1 parameter, 0 given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 77

Warning: Use of undefined constant console - assumed 'console' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

Warning: log() expects parameter 1 to be float, string given in /var/www/html/sdgs/wp-content/themes/wp-bootstrap-starter-child-master/functions.php on line 78

หัวข้อ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

ชื่องานวิจัย/การสำรวจ/ผลการศึกษา

การปลูกป่าในพื้นที่บึงบอระเพ็ด
ผู้รับผิดชอบโครงการ  ดร.ณพล อนุตตรังกูร
ที่มาและความสำคัญ  บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีกิจกรรมการขุดลอกตะกอนดินเป็นประจำทุกปี ทำให้เกิดกองดินตะกอน ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร ทอดแนวยาวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ซึ่งเป็นภาพที่ไม่สวยงามต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นจุดชมวิว และมีการปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในบึงบอระเพ็ด ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนงานด้านวิชาการให้กับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เพื่อให้กิจกรรมสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ขอบเขตพื้นที่ศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ
การตรวจสอบคุณภาพตะกอนดิน
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกป่า
ปี/ ปีที่จัดกิจกรรม 2563-2564
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เป็นกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ที่มีการปลูกต้นไม้ทั่วประเทศในทุกจังหวัด โดยภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 40%
ระดับความร่วมมือ/ระดับความสำคัญ เครือข่ายบึงบอระเพ็ด เป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันมากกว่า 5 ปี โดยเป็นการทำงานแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดเพิ่มเติม) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การตรวจสอบคุณภาพตะกอนดิน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกป่า
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
กลุ่มเป้าหมายจากผู้ร่วมกิจกรรม สถาบันการศึกษา, ชุมชน, จังหวัด, หน่วยงานราชการในพื้นที่
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า 100 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตะกอนดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติของดินบางประการโดยเติมวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่มีความจำเป็นเพื่อให้เพียงพอต่อการต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 และดำเนินการปลูกต้นไม้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 หลังจากนั้นทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดจะดำเนินการดูแลรักษาต่อไป และคาดหวังว่าจะเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ในบริเวณพื้นที่บึงบอระเพ็ด
Web link
รูปภาพประกอบ
 
SDGs goal

Goal 7 : Affordable and clean energy
Goal 13 : Climate action​
Goal 15 : Life on land
Goal 17 : Partnerships for the goals